วันอาทิตย์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2552

ใบบัวบก สมุนไพรไทย


ใบบัวบก หลายท่านคงรู้จักพืชชนิดนี้เป็นอย่างดี ที่กล่าวเช่นนี้ก็เพราะว่าคนไทยบริโภคพืชชนิดนี้กันมานาน ใบบัวบก หรือ Gotu Kola มีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Centella asiatica พบมากในประเทศแถบยุโรป เรื่อยมาจนถึงแถบแอฟริกาใต้ อินเดีย ปากีสถาน และศรีลังกา มีประวัติการใช้ประโยชน์ในทางยามานาน พบว่าส่วนสำคัญที่มีคุณสมบัติพิเศษ คือ ส่วนของใบและรากประโยชน์การใช้จากใบบัวบก (Gotu Kola)ใบบัวบกได้ถูกนำมาใช้บำบัดอาการที่เกี่ยวข้องกับสมองมาเป็นเวลานาน และให้ผลเป็นที่น่าเชื่อถือจนได้
ชื่อเรียกว่า "อาหารสมอง" เพราะคนสมัยก่อนเชื่อว่าการรับประทานจะช่วยส่งเสริมการทำงานของสมอง

โดยทำหน้าที่เป็นแหล่งพลังงานสำรองให้กับสมอง และได้ผลดีทั้งในแง่ของการรักษาส่วนของสมองที่ถูกทำลายแล้วให้ดีขึ้น และยังป้องกันไม่ให้สมองที่เป็นปกติอยู่ถูกทำลายหรือเสื่อมลงนอกจากนี้ยังถูกนไปใช้ประโยชน์ในการลดความเครียดจากการทำงานหนัก ปรับปรุงระบบการรับส่งกระแสประสาท ปฏิกิริยารีเฟลกซ์ (Reflex Reaction) หรือปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นรอบตัวเรา

เพิ่มความสามารถในการทำงาน ทั้งในแง่ของกำลังกาย และกำลังสมอง ควบคุมระดับแรงดันโลหิตให้เป็นปกติ ลดภาวะความเป็นหมัน ช่วยชะลอความแก่ หรือช่วยป้องกันร่างกายด้วยการกำจัดสารพิษตกค้างในร่างกายปัจจุบันใบบัวบก (Goto Kola) ถือว่าเป็นสมุนไพรยอดนิยมของชาวตะวันตก ในเรื่องของประสิทธิภาพการผ่อนคลาย และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของความทรงจำได้เป็นอย่างดี

จากการศึกษาทางเภสัชวิทยาเพื่อค้นหาสารสำคัญ หรือหาสารออกฤทธิ์ต่าง ๆ ที่มีอยู่ในใบบัวบก ทำให้เราค้นพบว่า ใบบัวบกจะให้สารไกลโคไซด์ (Glycosides) หลายชนิดที่ให้ผลต้านการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่น (Antioxidation) ซึ่งส่งผลให้การลดความเสื่อมของเซลล์ อวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายได้ นอกจากนี้ยังพบว่าสารไกลโคไซด์ที่ได้จากใบบัวบกยังส่งผลในการช่วงเร่งการสร้างสารคอลลาเจน (Collagen) ที่เป็นโครงสร้างของผิวจึงถูกนำมาใช้ประโยชน์ในการกระตุ้นให้แผลสมานตัวได้เร็วขึ้นผู้ที่อยู่

ในภาวะที่ควรรับประทมนใบบัวบก (Gotu Kola)
1.ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงต่อโรคความจำเสื่อม (Alzbeimers Disease) ได้แก่ ผู้สูงอายุ สตรีวัยทอง
2.ผู้ที่อยู่ในวัยทำงานที่ต้องใช้สมองอย่างมาก และเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพความทรงจำ
3.ผู้ที่มีความเครียดสูงจากการทำงานหนัก
4.ผู้ที่มีความผิดปกติทางผิวหนัง และกล้ามเนื้อโดยมีอาการฟกช้ำ และผิวหนังอักเสบ
5.ผู้ป่วยหลังการผ่าตัด เพราะช่วยเร่งการสมานแผลให้เร็วยิ่งขึ้น