วันอาทิตย์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2552
สารอนุมูลอิสระคืออะไร?
สารอนุมูลอิสระ (Free radical)
หมายถึง สารซึ่งมีอิเล็กตรอนซึ่งไม่มีคู่อยู่ในวงรอบของอะตอม หรือโมเลกุล เราให้ความสำคัญกับสารซึ่งมีออกซิเจนเป็นศูนย์กลาง คือ hydroxyl radical, superoxide, peroxyl, alkoxyl และ oxides ของ nitrogen โดยปกติสารเหล่านี้เกิดขึ้นโดยปฏิกิริยาในร่างกายอยู่แล้ว โดยเฉพาะเวลามีธาตุเหล็ก ทองแดง แมงกานีส โคบอลต์ โครเมียม นิเกิล อยู่เป็นจำนวนน้อยๆ มักเกิดเป็นปฏิกิริยาลูกโซ่และร่างกายก็จะมีระบบของสารต้านอนุมูลอิสระขจัดออกไป แต่ถ้าร่างกายได้รับสารอนุมูลอิสระจากภายนอกมากเกินไป ตัวอย่างเช่น ได้รับจากอาหารบางชนิด จากขบวนการประกอบอาหาร เช่น การย่างเนื้อสัตว์ที่มีส่วนประกอบของไขมันสูง การนำน้ำมันที่ใช้ทอดอาหารที่อุณหภูมิสูงๆ มาใช้อีก หรือจากสิ่งแวดล้อม เช่น แสงอาทิตย์ซึ่งมีรังสี ultraviolet การแผ่รังสี (radiation) รังสี x-ray หรือจากมลพิษ เช่น ควันบุหรี่ ก๊าซจากท่อไอเสียรถยนต์ ถ้าสารเหล่านี้มีมากกว่าความสามารถของสารต้านอนุมูลอิสระในร่างกายจะขจัดหมด หรือในภาวะที่จำนวนของสารต้านอนุมูลอิสระในร่างกายลดลง เช่น ผู้สูงอายุ ก็จะทำให้มีสารอนุมูลอิสระและสารที่ไม่ใช่อนุมูลอิสระเช่น ไฮโดเจนเพอออกไซด์ ซึ่งมีออกซิเจนเป็นศูนย์กลางเช่นกัน โดยรวมเรียกว่า reactive oxygen species (ROS) มากเกินไปก่อให้เกิดอันตรายได้
สารอนุมูลอิสระที่มากเกินไปจะเป็นอันตรายต่อไขมัน (โดยเฉพาะ low density lipoprotein) โปรตีน หน่วยสารพันธุกรรม DNA และคาร์โบไฮเดรต ทำให้เพิ่มอัตราการเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลายชนิด โรคที่สำคัญและมีการศึกษากันมาก ได้แก่ โรคหลอดเลือดตีบและแข็งตัว โรคมะเร็งบางชนิด โรคอัลไซเมอร์ หรือโรคความจำเสื่อม โรคไขข้ออักเสบ โรคความแก่ เป็นต้น
เราจึงควรหลีกเลี่ยงการที่จะรับสารอนุมูลอิสระเข้าไปในร่างกาย เช่น มลพิษในสิ่งแวดล้อม ก๊าซจากท่อไอเสียรถยนต์ ควันบุหรี่ เป็นต้น
ข้อมูลจาก th.wikipedia.org/wiki/อนุมูลอิสระ
อนุมูลอิสระเกิดจากอะไร?
ออกซิเจนถือเป็นสิ่งจำเป็นที่ทำให้สิ่งมีชีวิตดำเนินอยู่ได้ แต่ในทางกลับกันออกซิเจนก็เป็นตัวเร่งให้เกิดความชรา
ออกซิเจนเป็นโมเลกุลซึ่งอยู่ในโครงสร้างเสถียร สาเหตุบางประการทำให้โครงสร้างเปลี่ยนไปกลายเป็นอนุมูลอิสระ และทำปฏิกิริยากับสิ่งใกล้ตัวทำให้เกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่นได้
อนุมูลอิสระเกิดได้ง่ายจากสาเหตุต่างๆเช่น รังสียูวี มลพิษในอากาศ การดื่มสุรา สูบบุหรี่ หรือความเครียดต่างๆ อนุมูลอิสระเมื่อทำปฏิกิริยากับส่วนหนึ่งของไขมันจะก่อให้เกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่นขึ้นและจะทำลายโมเลกุลชีวภาพต่างๆ
ปกติในร่างกายของคนเรามีสารช่วยทำลายหรือยับยั้งการเกิดอนุมูลอิสระอยู่แล้ว แต่ประสิทธิภาพจะลดลงตามอายุที่เพิ่มขึ้น ซึ่งความสามารถในการสร้างคอลลาเจน และอิลาสติน ซึ่งเป็นโครงสร้างหลักที่ทำหน้าที่ให้ผิวเต่งตึงยืดหยุ่นในชั้นผิว เมื่อปริมาณคอลลาเจนและอิลาสตินไม่เพียงพอจึงทำให้ผิวเกิดริ้วรอยเหี่ยวย่น