ค้นหา

ค้นหา

บทความที่ได้รับความนิยม

Wikipedia

ผลการค้นหา

วันพฤหัสบดีที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2553

สมุนไพรน่ารู้

Kenanga (Ylang Ylang)
Cananga odorata (Lamk.) Hook. f. et. Th.
ANNONACEAE

ชื่ออื่นกระดังงา กระดังงาใบใหญ่ กระดังงาใหญ่ สะบันงา สะบันงาต้น

รูปลักษณะ
ไม้ยืนต้น สูง 8-15 เมตร ลำต้นตรง เปลือกต้นเกลี้ยงสีเทา กิ่งมักจะลู่ลง
ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปวงรีหรือรูปใบหอก กว้าง 5-7 ซม. ยาว 13-20 ซม.
ขอบใบเป็นคลื่น ดอกช่อออกเป็นกระจุก ที่ซอกใบ กระจุกละ 4-6 ดอก
กลีบดอกสีเหลืองหรือเหลืองอมเขียว มีกลิ่นหอม ผลเป็นกลุ่มผล ผลแก่
จะเปลี่ยนจากสีเหลืองอมเขียวเป็นสีดำ

สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
ดอก - มีน้ำมันหอมระเหย ใช้ทอดกับน้ำมันมะพร้าว ทำน้ำมันใส่ผม
ใช้ปรุงเป็นยาหอม แก้ลมวิงเวียน จัดอยู่ในพิกัดเกสรทั้งเจ็ด

Curcuma longa Linn.
วงศ์ ZINGIBERACEAE

ชื่อท้องถิ่น ขมิ้น (ทั่วไป)
ขมิ้นแกง, ขมิ้นหยวก, ขมิ้นหัว (เชียงใหม่),หมิ้น (ภาคใต้)

ลักษณะ พืชล้มลุกมีเหง้าอยู่ใต้ดินเนื้อในของเหง้า ขมิ้นชันสีเหลืองเข้ม
จนสีแสดจัด มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว ใบรูปเรียวยาว ปลายแหลมคล้ายใบ
พุทธรักษา ดอกออกเป็นช่อ มีก้านช่อแทงจากเหง้าโดยตรง ออกตรงกลาง
ระหว่างใบคู่ในสุด ดอกสีขาว มีแถบสีเหลืองคาด มีกลีบประดับสีขาวหรือเขียว
การปลูก ขมิ้นชันชอบอากาศค่อนข้างร้อน และมีความชุ่มชื้นในเวลากลางคืน
ชอบดินร่วนซุยที่ระบายน้ำได้ดี วิธีปลูกใช้เหง้าแก่ ที่อายุ 11-12 เดือน เป็น
ท่อนพันธุ์ เก็บใช้ในช่วงอายุ 9-10 เดือน ส่วนที่ใช้เป็นยา เหง้าสดและแห้ง

สรรพคุณยาไทย
เหง้าของขมิ้นชันมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อ แบคทีเรีย เชื้อรา ลดการ อักเสบ
และ มีฤทธิ์ในการ ขับน้ำดี น้ำมันหอมระเหยในขมิ้นชัน มีสรรพคุณบรรเทา
อาการปวดท้อง ท้องอืด แน่นจุดเสียด
วิธีใช้ อาการแพ้อักเสบ แผล ฝีพุพอง แมลงสัตว์กัดต่อยภายนอก ใช้เหง้ายาว
ประมาณ 2 นิ้ว ฝนกับน้ำต้มสุกทาบริเวณที่เป็น วันละ 3 ครั้ง หรือใช้ผงขมิ้น
โรยทาบริเวณที่มีอาการ ผื่นคันจากแมลงสัตว์กัดต่อยได้ อาการ ท้องอืด
ท้องเฟ้อ แน่น จุกเสียดและอาหารไม่ย่อย ใช้เหง้าขมิ้น ไม่ต้องปอกเปลือก
หั่นเป็นชิ้นบาง ๆ ตากแดดจัด ๆ สัก 1-2 วัน บดให้ละเอียด ผสมกับน้ำผึ้ง
ปั้นเป็นเม็ดขนาดปลายนิ้วก้อย รับประทานครั้งละ 2-3 เม็ด วันละ 3-4 ครั้ง
หลังอาหารและก่อนนอนถ้ามีอาการท้องเสียให้หยุดยาทันที

ข้อมูล
ทางวิทยาศาสตร์ กองวิจัยและพัฒนาสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
กระทรวงสาธารณสุข ได้ศึกษาว่า ขมิ้นชันไม่มีพิษที่รุนแรง ทั้งในการใช้ระยะสั้น
และระยะยาว นอกจากนี้ ยังวิเคราะห์พบว่า น้ำมันหอมระเหย เป็นสารสำคัญ
ในการออกฤทธิ์รักษาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ โดยได้ทำการศึกษา ทดลองใน
โรงพยาบาลชุมชน 5 แห่ง และโรงพยาบาลทั่วไป 1 แห่ง ในผู้ป่วยที่มีอาการต่าง ๆ
ได้แก่ ปวดแสบท้องเวลาหิว จุกแน่นบริเวณลิ้นปี่ เนื่องจากมีลมในกระเพาะอาหาร
จุกเสียดท้อง เนื่องจากมีลมในกระเพาะอาหารและ ลำไส้ ผลจากการศึกษาเป็นที่น่า
พอใจ ผู้ป่วยที่ได้รับขมิ้นชันมีอาการดีขึ้น และไม่พบ ผลแทรกซ้อนในการใช้
จากการศึกษานี้พอสรุปได้ว่า ขมิ้นชันมีประสิทธิภาพดีในการใช้ จึงสมควรที่จะเผยแพร่
และพัฒนาเป็นยาต่อไป

รายการบล็อกของฉัน

  • ชาวเมืองงง!? เสียงเบสลึกลับที่สร้างความรำคาญให้กับชาวฟลอริดา - ชาวเมืองงง!? เสียงเบสลึกลับที่สร้างความรำคาญให้กับชาวฟลอริดาอาจเป็นแค่เสียงปลาผสมพันธุ์กันดัง ๆ ชุมชนทำการระดมเงินเพื่อเป็นทุนในการสืบสวน และตอนนี้นักวิ...
    9 เดือนที่ผ่านมา
  • มาดูทารกโลกตะลึง เด็กดำ ที่สุดในโลก - ค้นหา [image: Google] Custom Search มาดูทารกโลกตะลึง!!! “เด็กดำ” ที่สุดในโลกเป็นที่ฮือฮามากสำหรับ เด็กดำ น้อยคนนี้ ชาวสังคมออนไลน์ต่างพากันแชร์รูปของเด...
    2 ปีที่ผ่านมา
  • เตารีดไอน้ำ(Steam iron) - *เตารีดไอน้ำอาจกินไฟมากกว่าเตารีดแห้ง* ขึ้นอยู่กับกำลังไอน้ำที่พ่นใส่ผ้า แต่ถ้ารีดผ้าในจำนวนที่เท่ากันเตารีดไอน้ำจะใช้เวลาน้อยกว่า แต่มีข้อเสียเล็กน้อย ...
    2 ปีที่ผ่านมา
  • ประโยชน์ของ ผักโขม - *ผักโขมโด่งดัง เพราะป๊อบอายส์ตัวการ์ตูนกะลาสี*ที่กินเป็นประจำจนแข็งแรงทั้งๆ ที่ตัวเล็กนิดเดียว ในผักโขมมีธาตุเหล็ก ซัลเฟอร์ เบต้าแคโรทีน แมกนีเซียม และแค...
    13 ปีที่ผ่านมา

chat love manman

chat love manman1

chat love manman 2

chat love manman 3

chat love manman 4

chat love manman 5

chat love manman6