ค้นหา

ค้นหา

บทความที่ได้รับความนิยม

Wikipedia

ผลการค้นหา

วันอังคารที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2553

กระทุงหมาบ้า สมุนไพรพื้นบ้าน


ชื่ออื่นๆ : ผักอ้วนหมู เครือเขาหมู (ภาคเหนือ); กะทุงหมาบ้า คันชุน สุนัขบ้า (ภาคกลาง); มวนหูกวาง (เพชรบุรี); เถาวัน (ปักษ์ใต้)        
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dargea volubilis Benth.ex Hook.
          วงศ์ : ASCLEPIADACEAE
 
ลักษณะทั่วไป
          ต้น : เป็นพรรณไม้เลื้อย มีลำต้นเป็นเถากลม เนื้อแข็ง เปลือกมีสีน้ำตาลอ่อน ลำต้นเถาพาดพันตามต้นไม้ใหญ่
          ใบ : ใบเป็นใบเดี่ยว ใบมีลักษณะเป็นรูปไข่ ปลายใบยาวเรียวโคนใบมน หรือเว้า ขนาดของใบกวางประมาณ ๑.๕-๔ นิ้ว ยาวประมาณ ๒.๕-๔.๕ นิ้ว เนื้อผิวใบค่อนข้างหนาหลังใบมีสีเขียวเข้ม ใต้ท้องใบมีสีเขียวอ่อนกว่า ก้านใบยาว ๑.๕-๒.๕ นิ้ว
          

ดอก : ดอกออกเป็นช่อตามบริเสณง่ามใบ ลักษณะของดอกเป็นดอกที่มีขนาดเล็ก มีกลีบดอกและกลีบรองกลีบดอกอย่างละ ๕ กลีบ กลีบดอกยาวประมาณ ๒ มม. โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นท่อ ส่วนปลายกลีบก็จะแยกออกกันเป็นแฉกรูปเหลี่ยม ดอกเมื่อบานเต็มที่มีขนาดกว้างประมาณ ๑.๕ ซม.
          ผล : ผลมีลักษณะเป็นฝัก มีความกว้างประมาณ ๑๖-๓๐ มม. ยาวประมาณ ๗.๕-๑๐ ซม. เปลือกฝักมีสีเหลือง ข้างในฝักมีเมล็ด เป็นรูปรีกว้าง ยาวราว ๑.๒ ซม.
          การขยายพันธุ์ : เป็นพรรณไม้ที่มักขึ้นตามบริเวณชายป่า ขยายพันธุ์ด้วยปักชำ
          ส่วนที่ใช้ : ลำต้น ใบ ผล ราก เถา

สรรพคุณ :


          - ลำต้น แก้โรคตา แก้หวัด ทำให้จาม พิษงูกัด
          - ใบ แก้แผลที่ถูกน้ำร้อนลวก แก้บวม แก้ฝี วิธีใช้โดยการนำใบสด มาตำให้ละเอียดแล้ใช้ทา
          - ราก ทำให้อาเจียน ขับพิษร้อน กระทุ้งพิษ พิษฝี พิษไข้หัว ไข้กาฬ แก้ปัสสาวะพิการ แก้พิษน้ำดีกำเริบ ช่วยให้นอนหลับ
          - ผล เป็นยารักษาโรคให้สัตว์
          - เถา เป็นยาเย็นขับปัสสาวะ



ถิ่นที่อยู่ : กระทุงหมาบ้าเป็นพรรณไม้ที่มีขึ้นตามบริเวณป่าดิบ หรือป่าราบ ทั่วไปในประเทศไทย

รายการบล็อกของฉัน

chat love manman

chat love manman1

chat love manman 2

chat love manman 3

chat love manman 4

chat love manman 5

chat love manman6