อากาศร้อนหลังทำงานเหน็ดเหนื่อย กินถั่วเขียวต้มสักชามก็จะรู้สึกชุ่มฉ่ำใจ แก้กระหายน้ำได้เป็นอย่างดี
ถ้านอนดึกมีอาการร้อนใน หรือตาแดง เจ็บคอ ท้องผูก ถ้าต้มถั่วเขียวกินก็จะทำให้อาการดังกล่าวหายไป เราสามารถเลือกกินได้ทั้งร้อนหรือเย็น หวานหรือจืดก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความต้องการของแต่ละบุคคล
ชื่อวิทยาศาสตร์ Vigna radiate L. วงศ์ Leguminosae
หน้าร้อนผิวหนังมักเป็นผดผื่นคัน ใช้ถั่วเขียว ใบบัว และน้ำตาลทราย ต้มกินน้ำ ก็จะทำให้อาการผดผื่นคันบรรเทาและหายไป หรือจะเอาถั่วเขียวที่ต้มแล้วพอกบริเวณผดผื่นคัน ก็จะทำให้หายเร็วขึ้น
หน้าร้อนต้มถั่วเขียวกิน จะมีประโยชน์ต่อร่างกายมาก เนื่องจากในหน้าร้อน เมตาโบลิซึมของร่างกายสูง ทำให้เหงื่อออกมาก ร่างกายสูญเสียพลังงานไปมาก ถั่วเขียวนอกจากจะสามารถแก้ร้อน ลดอาการกระหายน้ำ ทำให้ร่างกายสดชื่นและขับปัสสาวะแล้ว ถั่วเขียวยังอุดมไปด้วยโปรตีนกลุ่มวิตามินบี แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก เป็นต้น ซึ่งล้วนแต่มีประโยชน์ต่อร่างกายทั้งสิ้น
แป้งที่ทำจากถั่วเขียว แก้ร้อนใน ฝี และแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก เปลือกหุ้มเมล็ด (สีเขียว) มีสรรพคุณรักษาโรคตาต่างๆ เช่น ตาแดง ตาอักเสบ
ถั่วงอกจากถั่วเขียว หรือดอกต้นถั่วเขียว แก้อาการเมาเหล้า ใบถั่วเขียวตำให้แหลกคั้นน้ำ เติมน้ำส้มสายชูลงไปเล็กน้อย ทำให้อุ่น แก้กินน้ำ แก้อาการอาเจียนและท้องเดิน
ถ้านอนดึกมีอาการร้อนใน หรือตาแดง เจ็บคอ ท้องผูก ถ้าต้มถั่วเขียวกินก็จะทำให้อาการดังกล่าวหายไป เราสามารถเลือกกินได้ทั้งร้อนหรือเย็น หวานหรือจืดก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความต้องการของแต่ละบุคคล
ชื่อวิทยาศาสตร์ Vigna radiate L. วงศ์ Leguminosae
หน้าร้อนผิวหนังมักเป็นผดผื่นคัน ใช้ถั่วเขียว ใบบัว และน้ำตาลทราย ต้มกินน้ำ ก็จะทำให้อาการผดผื่นคันบรรเทาและหายไป หรือจะเอาถั่วเขียวที่ต้มแล้วพอกบริเวณผดผื่นคัน ก็จะทำให้หายเร็วขึ้น
หน้าร้อนต้มถั่วเขียวกิน จะมีประโยชน์ต่อร่างกายมาก เนื่องจากในหน้าร้อน เมตาโบลิซึมของร่างกายสูง ทำให้เหงื่อออกมาก ร่างกายสูญเสียพลังงานไปมาก ถั่วเขียวนอกจากจะสามารถแก้ร้อน ลดอาการกระหายน้ำ ทำให้ร่างกายสดชื่นและขับปัสสาวะแล้ว ถั่วเขียวยังอุดมไปด้วยโปรตีนกลุ่มวิตามินบี แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก เป็นต้น ซึ่งล้วนแต่มีประโยชน์ต่อร่างกายทั้งสิ้น
แป้งที่ทำจากถั่วเขียว แก้ร้อนใน ฝี และแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก เปลือกหุ้มเมล็ด (สีเขียว) มีสรรพคุณรักษาโรคตาต่างๆ เช่น ตาแดง ตาอักเสบ
ถั่วงอกจากถั่วเขียว หรือดอกต้นถั่วเขียว แก้อาการเมาเหล้า ใบถั่วเขียวตำให้แหลกคั้นน้ำ เติมน้ำส้มสายชูลงไปเล็กน้อย ทำให้อุ่น แก้กินน้ำ แก้อาการอาเจียนและท้องเดิน
สรรพคุณ
ถั่วเขียว แก้ร้อนในกระหายน้ำ ขับปัสสาวะ รักษาฝี
เปลือก (สีเขียว) แก้ร้อนใน กระหายน้ำ ทำให้ตาสว่าง รักษาตาอักเสบ
ถั่วงอก แก้พิษเหล้า
ตำรับยา
1. คางทูม (เป็นใหม่) ต้มถั่วเขียว 70 กรัม จนใกล้สุก ใส่แกนกะหล่ำปลีลงไป 2 หัว ต้มอีก 15 นาที กินเฉพาะน้ำ วันละ 2 ครั้ง อาการคางทูมก็จะหาย
2. อาเจียน (จากการดื่มเหล้า) ให้ดื่มน้ำถั่วเขียวพอประมาณ
3. ตาพร่า ตาอักเสบ ต้มถั่วเขียวกินครั้งละ 15-20 กรัม เป็นประจำ
ถั่วเขียว แก้ร้อนในกระหายน้ำ ขับปัสสาวะ รักษาฝี
เปลือก (สีเขียว) แก้ร้อนใน กระหายน้ำ ทำให้ตาสว่าง รักษาตาอักเสบ
ถั่วงอก แก้พิษเหล้า
ตำรับยา
1. คางทูม (เป็นใหม่) ต้มถั่วเขียว 70 กรัม จนใกล้สุก ใส่แกนกะหล่ำปลีลงไป 2 หัว ต้มอีก 15 นาที กินเฉพาะน้ำ วันละ 2 ครั้ง อาการคางทูมก็จะหาย
2. อาเจียน (จากการดื่มเหล้า) ให้ดื่มน้ำถั่วเขียวพอประมาณ
3. ตาพร่า ตาอักเสบ ต้มถั่วเขียวกินครั้งละ 15-20 กรัม เป็นประจำ
สารเคมีที่พบ
ในเปลือก (สีเขียว) ของถั่วเขียว มีโปรตีน 79.0 % มีกรด Amino หลายชนิดคือ Aspartic acid 94.42 ม.ก./กรัม Thrconine 24.98 ม.ก./กรัม Serine 41.73 ม.ก./กรัม Glutamic acid 145.77 ม.ก./กรัม Proline 29.84 ม.ก./กรัม Glycine 27.92 ม.ก./กรัม Alanine 32.18 ม.ก./กรัม Valine 40.05 ม.ก./กรัม Cystine 3.78 ม.ก./กรัม Methionine 10.02 ม.ก./กรัม Iso-leucine 33.40 ม.ก./กรัม Leucine 67.02 ม.ก./กรัม Tyrosine 26.42 ม.ก./กรัม Phenylalanine 51.04 ม.ก./กรัม Lysine 52.44 ม.ก./กรัม Histidine 19.26 ม.ก./กรัม Arginine 50.24 ม.ก./กรัม Tryptophan 9.02 ม.ก./กรัม
ในเปลือก (สีเขียว) ของถั่วเขียว มีโปรตีน 79.0 % มีกรด Amino หลายชนิดคือ Aspartic acid 94.42 ม.ก./กรัม Thrconine 24.98 ม.ก./กรัม Serine 41.73 ม.ก./กรัม Glutamic acid 145.77 ม.ก./กรัม Proline 29.84 ม.ก./กรัม Glycine 27.92 ม.ก./กรัม Alanine 32.18 ม.ก./กรัม Valine 40.05 ม.ก./กรัม Cystine 3.78 ม.ก./กรัม Methionine 10.02 ม.ก./กรัม Iso-leucine 33.40 ม.ก./กรัม Leucine 67.02 ม.ก./กรัม Tyrosine 26.42 ม.ก./กรัม Phenylalanine 51.04 ม.ก./กรัม Lysine 52.44 ม.ก./กรัม Histidine 19.26 ม.ก./กรัม Arginine 50.24 ม.ก./กรัม Tryptophan 9.02 ม.ก./กรัม
ขอบคุณข้อมูลภายใต้ความร่วมมือของหมอชาวบ้าน กับเว็บไซต์วิชาการดอทคอม
www.doctor.or.th