วันเสาร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2556

'หมามุ่ย' ไวอากร้าพันธุ์ไทย

มหัศจรรย์'หมามุ่ย' ไวอากร้า Viagra
พันธุ์ไทย-บำรุงกำลัง

หมามุ่ย หรือ หมามุ้ย เป็นพืชลุ้มลุกตระกูลถั่ว มีชื่อคุ้นหูคนไทยเรามานานแล้ว แต่เมื่อจินตภาพถึงก็อาจไม่ค่อยชวนยิ้มเท่าไหร่ เพราะจะไปโยงถึงอาการคันคะเยอ แพ้เป็นผื่นบวมแดงเวลาโดนเพื่อนแกล้งเอาหมามุ่ย
มาโยนใส่

แต่ล่าสุด 'หมามุ่ย' กำลังผงาดขึ้นมา สร้างคุณประโยชน์สรรพคุณทางยาที่สำคัญภายหลังจากนักวิจัยไทย ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศรสามารถสกัดเอาสารตามธรรมชาติในหมามุ่ยมาผลิตเป็นยาสมุนไพรบำรุง สเปิร์ม และเพิ่มสมรรถภาพทางเพศให้กับคุณผู้ชายทั้งหลาย!

'หมามุ่ย' มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Mu cuna pruriens (L.) DC. ชื่อวงศ์ FABA CEAE
มีชื่ออื่นๆ ในภาษาถิ่น คือ กลออื้อแซ โพล่ยู มะเหยือง และหมาเหยือง
ความสำเร็จในการ นำหมามุ่ยมาวิจัยต่อยอดสร้างยาสมุนไพรเสริมสร้าง 'สุข ภาพทางเพศ' ให้กับบุรุษ

หมามุ่ย เป็นสมุนไพรพื้นบ้านของไทยที่ใช้อย่างแพร่หลายในอดีต
ปัจจุบันมีการใช้ลดลง ส่วนหนึ่งอาจจะมาจากหมามุ่ย เป็นเถ้าที่เมื่อขึ้นแล้วขนจะปลิวไปทำให้เกิดความคัน เมื่อพบ..จึงโดนทำลายทิ้งเสียเป็นส่วนมากอย่างไรก็ตาม หมามุ่ยมีประโยชน์มากมายโดยที่คนส่วนใหญ่แทบไม่เคยรู้ และคุณประโยชน์ของสมุนไพรแสนคันตัวนี้ มีมากกว่าที่คิดไว้

โดยเฉพาะคุณสมบัติบำรุงกำลัง ช่วยการมีบุตรยาก ทำให้น่าสนใจมากยิ่งขึ้น!
ภญ.ผกากรอง กล่าวว่า ลักษณะทั่วไปของหมามุ่ย เป็นไม้เลื้อยล้มลุก ลำต้นเล็กเหนียวคล้ายเชือก ดอกออกเป็นช่อห้อยลง สีม่วงแก่ถึงม่วงออกดำ

เมล็ดหมามุ้ย
ผลเป็นฝักยาว รูปร่างคล้ายถั่วลันเตา ปกคลุมด้วยขนละเอียดสีน้ำตาลอมแดงหรือสีทองอมแดง ที่เป็นพิษและหลุดร่วงง่าย ภายในฝักมีเมล็ดรูปไข่
ความพิเศษของหมามุ่ย อยู่ตรงขนอ่อนที่ปกคลุม เพราะเป็นขนที่เต็มไปด้วยสารชนิดหนึ่ง
เรียกว่า 'สารซีโรโทนิน' (Serotonin) เมื่อโดนจะทำให้เกิดอาการคัน ระคายเคือง ซึ่งฝักจะออกมากในช่วงฤดูหนาวถึงฤดูแล้ง และปลิวตามลม
ชาวบ้านทั่วไป เมื่อพบจึงมักทำลายเถ้าหมามุ้ยทิ้ง

"ปัจจุบันประชาชนทั่วไปหันมาใช้ยาแผนปัจจุบันของตะวันตกจำนวนมาก ซึ่งหากมีสิ่งที่สามารถลดปริมาณการใช้ยาได้ ย่อมเป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจ ซึ่งสมุนไพรไทยหลายชนิดสามารถนำมาใช้ทดแทนได้ และสามารถต่อยอดสร้างประโยชน์ทางเศรษฐกิจได้" ภญ.ผกากรอง ระบุ

เภสัชกรชำนาญการ ร.พ.จ้าพระยาอภัยภูเบศร อธิบายว่า ที่ผ่านมาตั้งแต่ในอดีต
หมอยาแผนโบราณค้นพบวิธีนำหมามุ่ยมาใช้หลากหลายตำรับด้วยกัน
โดยนำมาใช้ประโยชน์ตั้งแต่ ราก ใบ ฝัก เม็ด เช่น ใช้รากแก้คัน ใช้ถอนพิษ ล้างพิษ เม็ด ใช้ทั้งกินเม็ดคั่ว นึ่ง และบด เป็นผง เพื่อบำรุงกำลัง เพิ่มน้ำเชื้อ เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ

ในประเทศอินเดีย พบว่า มีพืชวงศ์เดียวกับหมามุ่ยของไทย ซึ่งปลูกเพื่อนำไปแปรรูปอย่างจริงจัง
เพราะมีการศึกษา วิจัย อย่างเป็นระบบ กระทั่งสกัดเป็นยา เพื่อเพิ่มความต้องการทางเพศ คลายเครียด และเพิ่มการเผาผลาญและมวลของกล้ามเนื้อ

สาเหตุที่หมามุ่ยเป็นที่น่าสนใจอีกประการ เนื่องจากโรคเกี่ยวกับการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ การมีลูกยาก ถือเป็นโรคที่หลายประเทศมีอัตราการใช้สูงเพิ่มมากขึ้น

สำหรับประเทศไทย มีรายงานอย่างไม่เป็นทางการว่า เราใช้เงินซื้อ 'ยารักษาอาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศ' ของตะวันตกไปกว่าร้อยล้านบาท ในขณะที่ทั่วโลกมีอัตราการใช้อยู่ที่ประมาณห้าหมื่นล้านบาท

จากรายงานทางการแพทย์ มีการทดลองในสัตว์ พบว่าสารธรรมชาติในหมามุ่ย ทำให้สมรรถภาพทางเพศดีขึ้น เพิ่มความถี่ในการผสมพันธุ์ได้เป็นสิบเท่า รวมทั้งยืดระยะเวลาในการมีเพศสัมพันธŒทำให้ชะลออาการหลั่งเร็วได้ และเพิ่มปริมาณฮอร์โมนทางเพศ

ในปี 2550 'K.K.Shukla' รายงานการวิจัยที่ทำในผู้ชายอินเดีย 75 คน ซึ่งประสบปัญหาการมีบุตรยาก เนื่องจากความเครียด พบว่า หลังจากให้เม็ดหมามุ่ยทานในปริมาณ 5 กรัมต่อวันนาน 3 เดือน ระดับความ เครียดลดลง และคุณภาพปริมาณของ 'อสุจิ-น้ำเชื้อ' เพิ่มขึ้น

จากการวิจัย พบว่า เม็ดหมามุ่ย มีสารแอลโดปา (L-Dopa ) ซึ่งเป็นสารตั้งต้นในการสังเคราะห์โดพามีน (Dopamine) หรือสารที่มีอิทธิพลสูงต่อระบบสืบพันธุ์ อีกทั้งยังเป็นสารสื่อประสาท ซึ่งใช้ในการรักษาโรคพาร์กินสันอีกด้วย แต่ต้องใช้ในรูปแบบของการผ่านวิธีการ 'สกัด' มาเป็น 'ยาเม็ด' เพราะร่างกายไม่สามารถได้รับสารในรูปแบบของเมล็ดแปรรูป หรือสดได้

แต่ก็มีข้อควรระวังอยู่บ้าง เพราะการเก็บหมามุ่ย ต้องรู้วิธีเพื่อไม่ให้คัน
วิธีการเก็บ คือ เลือกจากต้นที่ฝักแก่ สังเกตง่ายๆ คือ เม็ดฝักเหมือนจะปริแตก แล้วฉีดน้ำให้เปียก เพื่อป้องกันขนอ่อนที่ฝักฟุ้งกระจาย สวมถุงมือป้องกันแล้วเก็บเม็ดมาคั่วไฟ แล้วนำไปล้างน้ำ ก่อนนำไปคั่วไฟอีกรอบ

สําหรับข้อควรระวังในการทานเม็ดหมามุ่ย คือ ต้องคั่วให้สุก เพราะหากไม่สุก จะเกิด 'สารพิษ' บางอย่างขึ้นทำให้เกิดอาการประสาทหลอนได้ เพราะในเม็ดหมามุ่ยมีสารแอลโดปา ที่จะทำให้สารสื่อประสาทเกิดความไม่สมดุลได้
นอกจากนี้ ยังมีผู้ป่วยบางโรคที่ไม่ควรกิน เช่น ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ผู้ที่ต้องใช้ยาทางจิตเวช รวมทั้งเด็ก และหญิงตั้งครรภ์
ส่วนปริมาณที่แนะนำ ถ้าเป็นคนทั่วไป ไม่ได้มีปัญหาการมีบุตรยาก หรือสมรรถภาพทางเพศ แนะนำให้กินวันละประมาณ 3 เม็ดต่อวัน จะทำให้สดชื่นกระปรี้กระเปร่า แต่หากมีปัญหา แนะนำให้กินวันละ 5 กรัม หรือ 25 เม็ด ไม่เกิน 3 เดือน

การทานเม็ดหมามุ่ยก็มีหลายวิธี
*ทั้งการป่นเป็นผง และกินผสมกับกาแฟ หรือชา ก็ไม่เสียรสแต่อย่างใด
*หรือจะชงกินกับน้ำร้อนเปล่าๆ ก็จะออกรสเปรี้ยวนิด มันหน่อยๆ
*หรือกินเม็ดคั่วกับข้าวเหนียว หรือเคี้ยวเม็ดที่คั่วแล้วก็สามารถทำได้เช่นกัน

ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาถึงตำรายาโบราณ ที่มีหมามุ่ยอยู่ในตำรับด้วยนั้นมีด้วยกันหลายตำรับด้วยกันอาทิ
เลือกเอานะครับว่าสนใจตำรับไหน

1.ตำรับตาเพ็ง อายุ96ปี  จะนำเม็ดมาคั่ว ทิ้งให้เย็นแล้วบด หรือ กินทั้งเมล็ด โดยนำไปแช่น้ำก่อนแล้วค่อยเคี้ยวกินเช้า เย็น หรือ บดแล้วใช้ครั้งละ 1 ช้อนแกง โดยห่อผ้าขาวบาง แช่ในน้ำ 1 แก้ว นาน 30 นาที รับประทานเช้าเย็น ตำรับนี้ว่าไว้ว่า เสริมกำหนัดและเสริมแรงผู้ชาย จะออกฤทธิ์ใน 2-3 วัน ทำให้หลับสบาย จิตใจเบิกบานแจ่มใส แต่ห้ามกินต่างน้ำ หรือกินเยอะเกินไป

2.ตำรับพ่อประเดิม ส่างเส 89 ปี แตะปีบยังไหว..เพราะกินยาหมามุ้ยไวอาก้าไทย
หมอยาอำเภอฝาง ระบุว่า ให้เอาเม็ดหมามุ่ยแก่จัดมาตากแดดให้แห้งแล้วตำ เป็นผง ใช้น้ำผึ้งเป็น กระสาย ทำให้เป็นลูกกลอน กิน 3 เวลา 7 วัน ตำรับนี้ว่าไว้ว่า รักษาอาการนกเขาไม่ขัน เป็นยาบำรุงกำลัง

3.ตำรับพ่อกอยะ หมอยาบ้านต้นฮุงหัวฝาย ระบุว่า ให้ใช้เม็ดแก่จัดใส่ในหม้อนึ่งข้าว พอข้าวสุก เม็ดหมามุˆยก็สุกด้วย โดยกินครั้งละ 1 เม็ด พร้อมข้าว 3 เวลา

4.ตำรับพ่อพลายแสง บ้านสินชัย ระบุว่า ใช้รากหมามุ่ยตากแห‰ง 1 กิโลกรัม เมล็ดผักชี 3 ขีด เมล็ดผักกาด 5 ขีด นำทั้งหมดมาตำรวมกันเป็นผง ผสมน้ำผึ้งป่า หมักไว้ 3 เดือน แล้วใช้กินก่อนนอนทุกวัน โดยเวลากินให้กินในปริมาณขนาดเท่าผลมะเขือพวง จะแก้ปวดเมื่อย ช้ำใน

5.ตำรับหมอยาเมืองเลย ระบุว่า สามารถนำรากต้ม กินแก้ไอ ใช้เมล็ดตำเป็นผง พอกแก้พิษแมง ป่องกัดได้

"หากทำวิจัยอย่างครบวงจร และส่งเสริมให้เกษตรกรผลิตเพื่อนำมาต่อยอด จะสามารถฉวยให้เป็นโอกาสทางเศรษฐกิจได้ เพราะปัจจุบันแม้แต่อินเดีย ที่วิจัยในเรื่องนี้แล้ว แต่ก็ยังไม่ได้ผลิตออกขายเชิงอุตสาหกรรมประเทศไทยจึงถือว่ามีโอกาสที่จะเร่งพัฒนายาสมุนไพรตัวนี้ได้

ขณะนี้กระทรวงสาธารณสุขมอบหมายให้กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และมูลนิธิ ร.พ.เจ้าพระยาอภัยภูเบศร เร่งศึกษาวิจัยและพัฒนาสมุนไพรหมามุ่ยให้เป็นที่ยอมรับในทางวิทยาศาสตร์และคลินิก เพื่อนำไปขึ้นทะเบียนกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) โดยอาจทำเป็น 2 รูปแบบ คือ ยารักษาโรค และผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร และมั่นใจว่าจะนำพืชหมามุ่ยมาต่อ ยอดเศรษฐกิจในเชิงอุตสาหกรรมได้
ภูมิปัญญา-สมุนไพรไทย ยังเป็นของมีคุณค่าเสมอ!