ประโยชน์ทางโภชนาการของกล้วยไข่ |
Nutritional benefits of Pisang Mas Banana or Golden Banana
กล้วยไข่ (Pisang Mas Banana : Golden Banana)
กล้วยไข่ เป็นชื่อของผลไม้ชนิดหนึ่งที่อยู่ในตระกูลกล้วย (Musaceae) โดยมีชื่อสามัญว่า Pisang Mas กล้วยชนิดนี้สามารถปลูกได้ทุกภาคของประเทศไทยถือว่าเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญอย่างหนึ่งที่สามารถนำรายได้เข้าประเทศได้
กล้วยไข่มี 2 สายพันธุ์ คือ กล้วยไข่สายพันธุ์กำแพงเพชร และกล้วยไข่สายพันธุ์พระตระบอง สำหรับพันธุ์ที่นิยมปลูกมากที่สุดเพื่อเป็นการค้าคือ สายพันธุ์กำแพงเพชร
1. กล้วยไข่สายพันธุ์กำแพงเพชร ผิวเปลือกผลบาง ผลมีขนาดเล็ก เนื้อมีสีเหลืองรสชาติหวานอร่อย
2.กล้วยไข่สายพันธุ์พระตะบอง รสชาติจะออกหวานอมเปรี้ยว และผลมีขนาดใหญ่กว่ากล้วยไข่สายพันธุ์กำแพงเพชร
สำหรับกล้วยไข่ ซึ่งจังหวัดกำแพงเพชรเป็นแหล่งปลูกที่มีชื่อเสียงของประเทศ และเป็นผลไม้คู่กับเทศกาลสารทไทยด้วย
จากงานวิจัยของสำนักโภชนาการกรมอนามัย พบว่ามีประโยชน์สูง โดยมีวิตามินอี เบต้าแคโรทีน และวิตามีนซี ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่เป็นสาเหตุของโรคมะเร็ง หรือทำให้เกิดการอักเสบ การทำลายเนื้อเยื่อ รวมทั้งโรคตาต้อกระจกได้
ผลการวิจัยพบว่าในกล้วยไข่ 1 ผล ซึ่งมีน้ำหนักประมาณ 40 กรัม มีเบต้าแคโรทีน 108 ไมโครกรัม มีวิตามินอี 0.19 มิลลิกรัม วิตามินซี 4 มิลลิกรัม และให้พลังงาน 44 กิโลแคลอรี่
วิธีทานกล้วยไข่ แนะนำให้ทานกล้วยไข่แทนข้าวได้ 2 ผล เด็กกินได้ 1-2 ผล จะต้องลดปริมาณข้าวลง เพราะกล้วยไข่ 2 ผลเท่ากับข้าว 1 ทัพพี หากแปรรูปทำเป็นกล้วยไข่อบแห้ง จะต้องไม่ใส่น้ำตาล หากนำไปทอดให้ระวังเรื่องน้ำมัน ส่วนการเชื่อมต้องระวังเรื่องความหวาน โดยเด็กสามารถกินกล้วยฉาบแทนขนมกรุบกรอบได้ เพราะมีประโยชน์มากกว่า
คุณประโยชน์ของกล้วยไข่ :
กล้วยไข่ 1 ขีด มีเบต้าแคโรทีนมากที่สุดถึง 492 ไมโครกรัม ขณะที่กล้วยน้ำว้ามีเพียง9 ไมโครกรัม นอกจากนี้ยังมีสารต้านอนุมูลอิสระอยู่มาก ซึ่งสารนี้สามารถช่วยชะลอริ้วรอยต่างๆบนใบหน้าของเราได้ดี และยังสามารถชะลอความเสื่อมของเซลล์ ที่สำคัญยังมีฤทธิ์ป้องกันการเกิดเซลล์มะเร็งและ ยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์เนื้อร้ายได้
อีกทั้งกล้วยไข่ยังมีสารอาหารที่น่าสนใจอื่นๆ อีกเช่น เกลือแร่ วิตามินเอ บี2 บี6 และวิตามินซี ซึ่งไม่เฉพาะแต่ผลกล้วยเท่านั้น
ในหัวปลี ยังมีแคลเซียม ธาตุเหล็ก แมกนีเซียม และฟอสฟอรัสซึ่งเป็นประโยชน์ต่อกระดูกและเนื้อเยื่ออย่างมาก
อีกทั้งยังช่วยแก้ปัญหาท้องผูกได้อย่างดี เพราะเนื้อกล้วยไข่มีไฟเบอร์ชนิดไม่ละลายน้ำสูง แต่กล้วยไข่มีน้ำตาลและคาร์โบไฮเดรตอยู่พอสมควร จึงไม่เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนัก นอกจากรับประทานผลสดแล้วยังสามารถนำมาแปรรูปเป็นขนมได้อีกด้วย เช่น กล้วยไข่เชื่อมข้าวเม่าทอดกล้วยไข่ บวชชีกล้วยไข่ ก็รสชาติอร่อยไม่แพ้กันเลย วันนี้จึงอยากแนะนำเพื่อนๆ หันมารับประทานกล้วยไข่กันมากๆ เพื่อสุขภาพ
ข้อมูลเพิ่มเติม : คุณค่าทางโภชนาการ
เป็นไม้ผลเขตร้อน ผลสุกนอกจากจะใช้รับประทานเป็นผลไม้แล้ว ยังสามารถนำมาปรุงอาหารคาวหวาน และแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ อาหารแปรรูปชนิดต่างๆ ได้อีกหลายชนิด ใบตองสดสามารถนำไปใช้ห่อของ ทำงานประดิษฐ์ ศิลปะต่างๆ ใบตองแห้งใช้ทำกระทงใส่อาหาร และใช้ห่อผลไม้ ก้านใบและกาบกล้วยแห้งใช้ทำเชือก หัวปลีหรือดอกกล้วยน้ำว้า ยังใช้รับประทานแทนผักได้ดีอีกด้วย
ประโยชน์ต่อสุขภาพ
กล้วยทุกชนิดดีต่อสุขภาพ แต่กล้วยไข่ดีเป็นพิเศษในเรื่องของสาร ต้านอนุมูลอิสระที่เรารู้จักดี คือ เบต้าแคโรทีน โดยธรรมชาติเมื่อเราอายุมากขึ้นหรือเกิน 22 ปีไปแล้ว ความเจริญเติบโตของร่างกายจะเริ่มหยุดชะงัก ความเสื่อมในส่วนต่างๆ ของร่างกายก็เริ่มมาเยือน ช่วงนี้เอง มี 2 สิ่งที่สำคัญเกิดขึ้นในร่างกายเราซึ่งก็คือ เซลล์ในร่างกายทุกเซลล์ก็จะผลิตอนุมูลอิสระมากขึ้น และส่วนที่สองคือ ความสามารถในการซ่อมแซมส่วนสึกหรอของร่างกายจะลดลงเรื่อยๆ พร้อมกันนั้นความสามารถในการจำกัดอนุมูลอิสระ ก็ลดลง ในกล้วยไข่ 1 ขีด มีสารเบต้าแคโรทีนถึง 492 มิลลิกรัม
ข้อมูลเพิ่มเติม :กล้วยไข่ (Pisang Mas Banana) ประกอบด้วยสารอาหารดังนี้
- วิตามินเอ ( Total VitaminA (RE) 82 Ug / 100 G
- เบต้า เคโรทีน ( Betacarotene ) 492 Ug / 100 G
- วิตามินอี ( VitaminE)
- วิตามินบี 1 ( Thiamin ) .03 Mg / 100 G
- วิตามินบี 2 ( Riboflavin ) .05 Mg / 100 G
- ไนอะซิน ( Niacin ) 1.4 Mg / 100 G
- วิตามินซี ( VitaminC ) 2 Mg / 100 G
- พลังงาน ( Energy ) 147 KCAL / 100 G
- น้ำ ( Water ) 62.8 G / 100 G
- โปรตีน ( Protein ) 1.5 G / 100 G
- ไขมัน ( Fat ) .2 G / 100 G
- คาร์โบไฮเดรต ( Carbohydrate ) 34.8 G / 100 G
- ใยอาหาร( กาก ) ( Crude/ Dietar ) 1.9 G / 100 G
- เถ้า ( Ash ) .7 G / 100 G
- แคลเซียม ( Calcium ) 4 Mg / 100 G
- ฟอสฟอรัส ( Phosporus ) 23 Mg / 100 G
- ธาตุเหล็ก ( Iron ) 1 Mg / 100 G
- มีวิตามินเอสูง (RETINOL) ร่างกายปกติ ต้องการวิตามินเอ ประมาณ 1000 ไมโครกรัมต่อวัน ( ในรูปของ Retinol)
- เบต้า เคโรทีน ( Betacarotene ) 492 Ug / 100 G
- วิตามินอี ( VitaminE)
- วิตามินบี 1 ( Thiamin ) .03 Mg / 100 G
- วิตามินบี 2 ( Riboflavin ) .05 Mg / 100 G
- ไนอะซิน ( Niacin ) 1.4 Mg / 100 G
- วิตามินซี ( VitaminC ) 2 Mg / 100 G
- พลังงาน ( Energy ) 147 KCAL / 100 G
- น้ำ ( Water ) 62.8 G / 100 G
- โปรตีน ( Protein ) 1.5 G / 100 G
- ไขมัน ( Fat ) .2 G / 100 G
- คาร์โบไฮเดรต ( Carbohydrate ) 34.8 G / 100 G
- ใยอาหาร( กาก ) ( Crude/ Dietar ) 1.9 G / 100 G
- เถ้า ( Ash ) .7 G / 100 G
- แคลเซียม ( Calcium ) 4 Mg / 100 G
- ฟอสฟอรัส ( Phosporus ) 23 Mg / 100 G
- ธาตุเหล็ก ( Iron ) 1 Mg / 100 G
- มีวิตามินเอสูง (RETINOL) ร่างกายปกติ ต้องการวิตามินเอ ประมาณ 1000 ไมโครกรัมต่อวัน ( ในรูปของ Retinol)
**วิตามินเอ RETINOL เป็นวิตามินที่อยู่ในรูปแบบวิตามินอยู่แล้ว (Proformed Vitamin A) หรือเรียกว่า Retinol**