ตะขบป่า" ผลไม้บ้านๆที่ถูกลืม แต่มีประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างมาก! สรรพคุณทางยากว่า 33 ข้อ!
ใช้รักษาโรคภัยต่างๆมาแต่โบราณ (รายละเอียด)
ใช้รักษาโรคภัยต่างๆมาแต่โบราณ (รายละเอียด)
สมุนไพรตะขบป่า มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า หมักเบ็น (นครราชสีมา), เบนโคก (อุบลราชธานี), ตานเสี้ยน มะแกว๋นนก มะแกว๋นป่า (ภาคเหนือ), มะเกว๋น
(เมี่ยน, คนเมือง), ตะเพซะ (กะเหรี่ยงเชียงใหม่), บีหล่อเหมาะ (กะเหรี่ยงแดง), ตุ๊ดตึ๊น (ขมุ), ลำเกว๋น
(ลั้วะ), มะขบ เป็นต้น
ลักษณะของตะขบป่า
ต้นตะขบป่า จัดเป็นไม้พุ่มหรือไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดเล็ก มีความสูงได้ประมาณ 2-15 เมตร เรือนยอดแผ่กว้าง ปลายกิ่งโค้งลง ตามลำต้นและกิ่งใหญ่จะมีหนามแหลม กิ่งอ่อนจะมีหนามแหลมตามซอกใบ หนามยาวประมาณ 2-4 เซนติเมตร
ส่วนกิ่งแก่ ๆ มักจะไม่มีหนาม เปลือกต้นเป็นสีเหลืองอมเทาแตกเป็นร่องลึก มีช่องอากาศรูปรีกระจายแบบห่าง ๆ พบขึ้นตามป่าเต็งรัง ป่าโปร่ง ป่าดิบแล้ง ป่าผสมผลัดใบ ป่าเบญจพรรณ และตามป่าชายหาด ตลอดจนตามริมแม่น้ำ ชอบพื้นที่กลางแจ้ง ทนแล้งและน้ำท่วมขังได้ดี
ต้นตะขบป่า จัดเป็นไม้พุ่มหรือไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดเล็ก มีความสูงได้ประมาณ 2-15 เมตร เรือนยอดแผ่กว้าง ปลายกิ่งโค้งลง ตามลำต้นและกิ่งใหญ่จะมีหนามแหลม กิ่งอ่อนจะมีหนามแหลมตามซอกใบ หนามยาวประมาณ 2-4 เซนติเมตร
ส่วนกิ่งแก่ ๆ มักจะไม่มีหนาม เปลือกต้นเป็นสีเหลืองอมเทาแตกเป็นร่องลึก มีช่องอากาศรูปรีกระจายแบบห่าง ๆ พบขึ้นตามป่าเต็งรัง ป่าโปร่ง ป่าดิบแล้ง ป่าผสมผลัดใบ ป่าเบญจพรรณ และตามป่าชายหาด ตลอดจนตามริมแม่น้ำ ชอบพื้นที่กลางแจ้ง ทนแล้งและน้ำท่วมขังได้ดี
ใบตะขบป่า
สรรพคุณของตะขบป่า
1.ใบแห้งนำมาต้มกับน้ำกินเป็นยาบำรุงร่างกาย (ใบ)
2.ผลใช้กินเป็นยาแก้อ่อนเพลีย (ผล)
3.แก่นหรือรากใช้กินเป็นยาแก้ตานขโมย (แก่น, ราก)
4.ใช้เป็นยาแก้อหิวาตกโรค (น้ำยางจากต้น)
5.น้ำต้มจากใบแห้งใช้กินเป็นยาแก้ไข้ แก้ไอ (ใบ)
6.หนามมีรสฝาดขื่น มีสรรพคุณเป็นยาแก้ไข้ แก้ไข้พิษ ไข้กาฬ ลดความร้อน แก้พิษฝีต่าง ๆ (หนาม)
7.น้ำยางจากต้นและใบสด ใช้กินเป็นยาลดไข้สำหรับเด็ก แก้อาการไอ (น้ำยางจากต้นและใบสด)
8.น้ำต้มจากใบแห้งใช้กินเป็นยาขับเสมหะ (ใบ)
9.แก่นมีรสฝาดขื่น ใช้ต้มน้ำดื่มเป็นยาขับเหงื่อ (แก่น)
10.เปลือกต้นมีสรรพคุณเป็นยาแก้เสียงแห้ง นำเปลือกมาแช่หรือชงเป็นยากลั้วคอแก้เจ็บคอ (เปลือกต้น)
11.ช่วยแก้อาการคลื่นไส้อาเจียน (ผล)
12.น้ำต้มจากใบแห้งใช้กินเป็นยาแก้หืดหอบ หลอดลมอักเสบ (ใบ)
13.รากมีรสหวานฝาดร้อน ใช้กินเป็นยาแก้โรคปอดบวม (ราก)
14.น้ำยางจากต้นและใบสดใช้เป็นยาแก้โรคปอดอักเสบ (น้ำยางจากต้นและใบสด)
15.ใบแห้งนำมาต้มกับน้ำกินเป็นยาขับลม (ใบ)
16.ใช้เป็นยาแก้บิดและท้องเสีย
(น้ำยางจากต้นและใบสด)
17.แก่นนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้ท้องร่วง บิดมูกเลือด (แก่น)หรือใช้ใบแห้งนำมาต้มกับน้ำกินเป็นยาแก้ท้องร่วง (ใบ)
18.เปลือกต้นนำมาตำรวมกับน้ำมัน ใช้ทาถูนวด แก้ปวดท้อง (เปลือกต้น)
19.ตำรายาสมุนไพรพื้นบ้านจังหวัดอุบลราชธานีจะใช้แก่นตะขบป่า นำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้ผิดสำแดง (แก่น)
20.ผลมีสรรพคุณเป็นยาระบาย (ผล)
21.น้ำยางจากต้นและใบสดมีสรรพคุณในการช่วยย่อยอาหาร (น้ำยางจากต้นและใบสด)
22.ใช้เป็นยาขับพยาธิไส้เดือน (แก่น, ราก)
23.ใบนำมาย่างไฟจนแห้งใช้ชงกินหลังการคลอดบุตรของสตรี (ใบ)
24.ตำรายาพื้นบ้านอีสานจะใช้แก่นหรือรากตะขบป่า
1 กำมือ นำมาต้มกับน้ำพอท่วมยา ใช้ดื่มวันละ 3-5 ครั้ง เป็นยาแก้โรคไตพิการ (แก่น, ราก)
25.รากใช้กินเป็นยาแก้ไตอักเสบ (ราก)
26.ผลมีสรรพคุณช่วยบรรเทาอาการของโรคดีซ่าน ม้ามโต (ผล)
27.น้ำต้มใบแห้งใช้กินเป็นยาฝาดสมาน (ใบ)
28.ลำต้นใช้ผสมกับหัวเอื้องหมายนา ผักแว่นทั้งต้น และหอยขมเป็น ๆ 3-4 ตัว นำมาแช่น้ำให้เด็กอาบเป็นยาแก้อีสุกอีใส อีดำอีแดง (ลำต้น)
29.แก่นใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้โรคผิวหนัง ประดง ผื่นคัน (แก่น, ราก, ทั้งต้น)
30.เปลือกต้นนำตำรวมกับน้ำมัน ใช้ทาถูนวด แก้คัน (เปลือกต้น)
31.แก่นตะขบป่าใช้เข้ายากับแก่นมะสัง หนามแท่ง และเบนน้ำ นำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้อาการปวดเมื่อย แก้คัน (แก่น) ส่วนชาวกะเหรี่ยงแดงจะใช้รากนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้อาการปวดเมื่อย (ราก)
32.เมล็ดใช้ตำพอกแก้ปวดข้อ (เมล็ด)
33รากมีสรรพคุณเป็นยาบำรุงน้ำนม (ราก)
ขอบคุณข้อมูลจาก : medthai