วันพฤหัสบดีที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567

ย้อนรอยตำนานกำเนิดไวน์ เหล้าองุ่น


...หลายพันปีมาแล้ว ชาวคอเคซัส (Caucasus) ค้นพบว่าน้ำองุ่นป่าที่พวกเขาบีบคั้นเอาแต่น้ำไว้ เกิดการเปลี่ยนแปลงและมีแอลกอฮอล์เกิดขึ้น นำมาดื่มแล้วรสชาติดี หลังจากนั้นพวกเขาจึงใช้ประสบการณ์พัฒนาความรู้มาเรื่อย ๆ


....กระทั่งประมาณ 4,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช ชาวจอร์เจียได้มีการคิดค้นภาชนะใส่ไวน์เพื่อเก็บไว้ดื่มนาน ๆ ซึ่งเป็นดินเผา คล้ายไหหรือโอ่งดินขนาดใหญ่เรียกว่า ”เคฟรี” (Kvevris) ในไหนี้จะเคลือบด้วยไขจากรังผึ้ง ปิดฝาด้วยแผ่นไม้ แล้วนำโอ่งไปฝังไว้ใต้ดิน ที่สภาพอากาศเย็นทำให้สามารถเก็บรักษาไว้ได้หลายสิบปี

....ปัจจุบันวิธีการผลิตดังกล่าวก็ยังใช้กันอยู่ และมีการเสริมเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้าไปทำให้ไวน์มีคุณภาพมากขึ้น และใช้กรรมวิธีผลิตแบบนี้เป็นจุดขาย 
...ที่สำคัญชาวจอร์เจียบอกว่าคำว่า Wine มาจากคำว่า Gvino ในภาษาจอร์เจีย !


...ณ วันนี้จอร์เจียร์ส่งออกไวน์ปีละกว่า 94 ล้านขวดไปยัง 53 ประเทศ มากที่สุดคือรัสเซียกว่า 59 ล้านขวด ตามด้วยจีนกว่า 7 ล้านขวด ขณะที่ไทยเพิ่งนำเข้ามาไม่น่าจะเกิน 2 ปี จำนวนน่าจะแค่หลักพัน แต่แนวโน้มดีขึ้น เพราะมีผู้นำเข้าหน้าใหม่เกิดขึ้น 


....ปัจจุบันจอร์เจียมีหน่วยงานชื่อ “Georgian Wines & Spirits” = GWS ทำหน้าที่ส่งเสริม สนับสนุนให้ไวน์จอเจียร์เป็นที่รู้จักกันของคอไวน์ทั่วโลก

...**** ชาวคอเคซัสเป็นกลุ่มคนที่อาศัยอยู่บริเวณเทือกเขาคอเคซัส เป็นเทือกเขาสูง (ตามรูปสุดท้าย) เป็นปราการธรรมชาติแบ่งพรมแดนระหว่างทวีปยุโรปและทวีปเอเชีย 



ซึ่งตัดพาดผ่าน 4 ประเทศ ได้แก่ รัสเซีย จอร์เจีย อาร์เมเนีย และอาเซอร์ไบจาน รวมถึงยังเป็นทางผ่านของเส้นทางสายไหมในอดีต