วันอาทิตย์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2552

มารักษาโรคด้วยพืชสมุนไพรกัน


กระชายชื่อวิทยาศาสตร์ : Boesenbergia rotunda (L.) Mansf.
วงศ์ : Zingiberaceae
ชื่ออื่น : กะแอน จี๊ปู ซีฟู เปาซอเร๊าะ เป๊าสี่ระแอน ว่านพระอาทิตย์
ลักษณะ : เป็นไม้ล้มลุกไม่มีลำต้นบนดิน มีเหง้าใต้ดินซึ่งแตกรากออกไปเป็นกระจุกจำนวนมาก อวบน้ำ ตรงกลาลพองกว้างกว่าส่วนหัวและท้าย ใบ เดี่ยว เรียงสลับเป็นระนาบเดียวกัน รูปขอบขนานแกมรูปไข่ กว้าง 4.5-10 เซนติเมตร ยาว 13-15 เซนติเมตร ตรงกลางด้านในของก้านใบมีร่องลึก ดอก ช่อ ออกแทรกอยู่ระหว่างกาบใบที่โคนต้น กลีบดอกสีขาวหรือชมพูอ่อน ใบประดับรูปใบหอกสีม่วงแดง ดอกย่อยบานครั้งละ 1 ดอก  ประโยชน์ทางสมุนไพร : ตำรายาไทยใช้เหง้าแก้โรคในปากเช่นปากเปื่อย ปากเป็นแผล ปากแห้ง ขับระดูขาว ขับปัสสาวะ รักษาโรคบิด แก้ปวดมวนท้อง จากการทดลองในสารสกัดแอลกอฮอล์และคลอโรฟอร์ม พบว่ามีฤทธิ์ต้านเชื้อราที่ทำให้เกิดโรคผิวหนังและในปากได้ดีพอควร

กระเทียมชื่อวิทยาศาสตร์ : Allium sativum L.วงศ์ : Alliaceae ชื่อสามัญ : Common Garlic , Allium ,Garlic ,ชื่ออื่น : กระเทียม (ภาคกลาง) หอมเทียม (ภาคเหนือ) หอมขาว (ภาคอีสาน) เทียม, หอมเทียม (ภาคใต้)ลักษณะ : ไม่พุ่ม สูง 2-4 เมตร กิ่งอ่อนมีหนาม ใบประกอบชนิดมีใบย่อยใบเดียว เรียงสลับ รูปไข่ รูปวงรีหรือรูปไข่แกมขอบขนานกว้าง 3-5 ซม. ยาว 4-8 ซม. เนื้อใบมีจุดน้ำมันกระจาย ก้านใบมีครีบเล็ก ๆ ดอกเดี่ยวหรือช่อ ออกที่ปลายกิ่งและที่ซอกใบ กลีบดอกสีขาว กลิ่นหอม ร่วงง่าย ผลเป็นผลสด กลมเกลี้ยง ฉ่ำน้ำประโยชน์ทางสมุนไพร : ตำรายาไทยใช้น้ำมะนาวและผลดองแห้งเป็นยาขับเสมหะแก้ไอ แก้โรคเลือดออกตามไรฟัน เพราะมีวิตามินซี น้ำมะนาวเป็นกระสายยาสำหรับสมุนไพรที่ใช้ขับเสมหะเช่น
ดีปลี

กระเพราชื่อวิทยาศาสตร์ : Ocimum sanctum L. วงศ์ : Labiataeชื่ออื่น : กอมก้อ กอมก้อดง กะเพราขาว กะเพราแดงลักษณะ : กะเพรามี 3 พันธุ์ คือ กะเพราแดง กะเพราขาวและกะเพราลูกผสมระหว่างกะเพราแดงและกะเพราขาว มีลักษณะทั่วไปคล้ายโหระพา ต่างกันที่กลิ่นและกิ่งก้านซึ่งมีขนปกคลุมมากกว่าใบกะเพราขาวสีเขียวอ่อน ส่วนใบกะเพราแดงสีเขียวแกมม่วงแดง ดอกย่อยสีชมพูแกมม่วง ดอกกะเพราแดงสีเข้มกว่ากะเพราขาวประโยชน์ทางสมุนไพร : ตำรายาไทยใช้ใบหรือทั้งต้นเป็นยาขับลมแก้ปวดท้อง ท้องเสีย และคลื่นไส้อาเจียน นิยมใช้กะเพราแดงมากกว่ากะเพราขาว โดยใช้ยอดสด 1 กำมือ ต้มพอเดือด ดื่มเฉพาะส่วนน้ำ พบว่าฤทธิ์ขับลมเกิดจากน้ำมันหอมระเหย การทดลองในสัตว์ แสดงว่าน้ำสกัดทั้งต้นมีฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้ สารสกัดแอลกอฮอล์สามารถรักษาแผลในกระเพาะอาหาร สาร eugenol ในใบมีฤทธิ์ขับน้ำดี ช่วยย่อยไขมันและลดอาการจุกเสียด
แก้ท้องผูก

ขี้เหล็กชื่อวิทยาศาสตร์ : Cassia siamea Britt.
วงศ์ : Leguminosae
ชื่อสามัญ : Cassod Tree / Thai Copper Pod
ชื่ออื่น ขี้เหล็กแก่น ขี้เหล็กบาน ขี้เหล็กหลวง ขี้เหล็กใหญ่
ลักษณะ : ไม้ยืนต้น สูง 10-15 เมตร ใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับใบย่อยรูปขอบขนาน กว้างประมาณ 1.5 ซม. ยาว 4 ซม. ใบอ่อนมีขนสีน้ำตาลแกมเขียว ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง กลีบดอกสีเหลือง ผลเป็นฝักแบนยาวและหนา
ประโยชน์ทางสมุนไพร : ตำรายาไทยใช้ดอกเป็นยานอนหลับ ลดความดันโลหิตดอกตูมและใบอ่อนเป็นยาระบาย ใบแก้ระดูขาว แก้นิ่ว ขับปัสสาวะ แก่นแก้ไข้ ทำให้นอนหลับ รักษากามโรค ใบอ่อนและแก่นมีสารกลุ่มแอนทราควิโนนหลายชนิด จึงมีฤทธิ์เป็นยาระบายใช้ใบอ่อนครั้งละ 2-3 กำมือ ต้มกับน้ำ 1-1.5 ถ้วย เติมเกลือเล็กน้อย ดื่มก่อนอาหารเช้าครั้งเดียว นอกจากนี้ในใบอ่อนและดอกตูมยังพบสารซึ่งมีฤทธิ์กดประสาทส่วนกลางทำให้นอนหลับโดยใช้วิธีดองเหล้าดื่มก่อนนอน

ชุมเห็ดเทศชื่อวิทยาศาสตร์ : Senna alata L. วงศ์ : Leguminosaeชื่อสามัญ Ringworm Bush
ชื่ออื่น : ขี้คาก ลับมีนหลวง หมากกะลิงเทศ ชุมเห็ดใหญ่ลักษณะ : ไม้พุ่ม สูง 1 - 3 เมตร แตกกิ่งออกด้สนข้าง ในแนวขนานกับพื้น ใบประกอบ แบบขนนก เรียงสลับ ใบย่อยรูปขอบขนาน รูปวงรีแกมขอบขนาน หรือรูปไข่กลับ กว้าง 3-7 ซม. ยาว 6-15 ซม. หูใบเป็นรูปสามเหลี่ยม ดอกช่อ ออกที่ซอกใบตอนปลายกิ่ง กลีบดอกสีเหลืองทอง ใบประดับ สีน้ำตาลแกมเหลืองหุ้มดอกย่อยเห็นชัดเจน ผลเป็นฝัก มีครีบ 4 ครีบ เมล็ดแบน รูปสามเหลี่ยม ประโยชน์ทางสมุนไพร : รสเบื่อเอียน ใบตำทาแก้กลากเกลื้อน โรคผิวหนัง ดอกและใบต้มรับประทานแก้อาการท้องผูก มีสาร แอนทราควิโนน กลัยโคซายด์ หลายชนิด ได้แก่ emodin, aloe - emodin และ rhein ใช้เป็นยาระบายกระตุ้นลำไส้ใหญ่ให้บีบตัว การทดลองในสัตว์ และคน พบว่า ใบแก่มีฤทธิ์ น้อยกว่าใบอ่อน นอกจากนี้น้ำจากใบ ยังมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียด้วย
แก้ไอ มีเสมหะ

มะนาวชื่อวิทยาศาสตร์ : Citrus aurantifolia Swing.
วงศ์ : Rutacear
ชื่อสามัญ : Lime
ชื่ออื่น : ส้มมะนาว
ลักษณะ : ไม่พุ่ม สูง 2-4 เมตร กิ่งอ่อนมีหนาม ใบประกอบชนิดมีใบย่อยใบเดียว เรียงสลับ รูปไข่ รูปวงรีหรือรูปไข่แกมขอบขนานกว้าง 3-5 ซม. ยาว 4-8 ซม. เนื้อใบมีจุดน้ำมันกระจาย ก้านใบมีครีบเล็ก ๆ ดอกเดี่ยวหรือช่อ ออกที่ปลายกิ่งและที่ซอกใบ กลีบดอกสีขาว กลิ่นหอม ร่วงง่าย ผลเป็นผลสด กลมเกลี้ยง ฉ่ำน้ำประโยชน์ทางสมุนไพร : ตำรายาไทยใช้น้ำมะนาวและผลดองแห้งเป็นยาขับเสมหะแก้ไอ แก้โรคเลือดออกตามไรฟัน เพราะมีวิตามินซี น้ำมะนาวเป็นกระสายยาสำหรับสมุนไพรที่ใช้ขับเสมหะเช่นดีปลี

ดีปลีชื่อวิทยาศาสตร์ : Piper chaba Hunt
วงศ์ : Piperaceae
ชื่อสามัญ : Long Pepper
ชื่ออื่น :ลักษณะ : ไม้เถารากฝอยออกบริเวณข้อเพื่อใช้ยึดเกาะ ใบเดี่ยวรูปไข่แกมขอบขนาน กว้าง 3-5 ซม. ยาว 7-10 ซม. สีเขียวเข้มเป็นมัน ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ ดอกย่อยอัดกันแน่น แยกเพศ ผลเป็นผลสด มีสีเขียว เมื่อสุกจะเปลี่ยนเป็นสีแดง รสเผ็ดร้อน
ประโยชน์ทางสมุนไพร : ตำรายาไทยใช้ผลแก่จัดแต่ยังไม่สุกตากแห้งเป็นยาขับลม บำรุงธาตุ แก้ท้องเสีย ขับรกหลังคลอด โดยใช้ผล 1 กำมือ (ประมาณ 10-15 ผล) ต้มเอาน้ำดื่ม นอกจากนี้ใช้เป็นยาแก้ไอ โดยเอาผลแห้งครึ่งผลฝนกับมะนาวแทรกเกลือใช้กวาดคอหรือจิบบ่อยๆ ฤทธิ์ขับลมและแก้ไอ เกิดจากน้ำมันหอมระเหยและสาร piperine พบว่าสารสกัดเมทานอลมีผลยับยั้งการบีบตัวของลำไส้เล็กและสารสกัดปิโตรเลียมอีเธอร์ ทำให้สัตว์ทดลองแท้ง จึงควรระวังการใช้ในสตรีมีครรภ์
แก้ขัดเบา

กระเจี๊ยบแดงชื่อวิทยาศาสตร์ : Hibiscus sabdariffa L.
วงศ์ : Malvaceae
ชื่อสามัญ : Roselle
ชื่ออื่น : กระเจี๊ยบ กระเจี๊ยบเปรี้ย ผักเก็งเค็ง ส้มเก็งเค็ง ส้มตะเลงเครง
ลักษณะ : ไม้พุ่ม สูง 50-180 ซม. มีหลายพันธุ์ ลำต้นสีม่วงแดง ใบเดี่ยว รูปฝ่ามือ 3 หรือ 5 แฉก กว้างและยาวใกล้เคียงกัน 8-15 ซม. ดอกเดี่ยว ออกที่ซอกใบ กลีบดอกสีชมพูหรือเหลืองบริเวณกลางดอกสีม่วงแดง เกสรตัวผู้เชื่อมกันเป็นหลอด ผลเป็นผลแห้ง แตกได้ มีกลีบเลี้ยงสีแดงฉ่ำน้ำหุ้มไว้
ประโยชน์ทางสมุนไพร : ตำรายาไทยใช้ใบและยอดอ่อนซึ่งมีรสเปรี้ยวแก้ไอ เมล็ดบำรุงธาตุ ขับปัสสาวะ มีรายงานการทดลองในผู้ป่วยโรคนิ่วในท่อไต ซึ่งดื่มยาชงกลีบเลี้ยงแห้งของผล 3 กรัมในน้ำ 300 ซีซี วันละ 3 ครั้ง ทำให้ถ่ายปัสสาวะสะดวกขึ้น บางรายนิ่วหลุดได้เอง นอกจากนี้ทำให้ผู้ป่วยกระเพาะปัสสาวะอักเสบมีอาการปวดแสบเวลาปัสสาวะน้อยลง

ตะไคร้ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cymbopogon citratus Stapf
วงศ์ : Gramineae
ชื่ออื่น : ชื่อสามัญ : Lemon Grass
ชื่ออื่น : จะไคร ไคร
ลักษณะ : ไม้ล้มลุก อายุหลายปี สูง 0.75-1.2 เมตร แตกเป็นกอ เหง้าใต้ดินมีกลิ่นเฉพาะ ข้อและปล้องสั้นมาก กาบใบสีขาวนวลหรือขาวปนม่วง ยาวและหนาหุ้มข้อและปล้องไว้แน่น ใบเดี่ยวเรียงสลับ กว้าง 1-2 ซม. ยาว 70-100 ซม. แผ่นใบและขอบใบสากและคม ออกดอกยาก
ประโยชน์ทางสมุนไพร : โคนกาบใบและลำต้นทั้งสดและแห้งมีน้ำมันหอมระเหย ตำรายาไทยใช้เป็นยาขับลม แก้ท้องอืดเฟ้อแน่นจุกเสียดใช้ลำต้นแก่สดประมาณ 1 กำมือ (40-60 กรัม) ทุบพอแหลก ต้มน้ำพอเดือดหรือชงน้ำ ดื่มวันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร นอกจากนี้ใช้เป็นยาขับปัสสาวะสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการขัดเบาหรือปัสสาวะไม่คล่อง โดยผู้ป่วยต้องไม่มีอาการบวมที่แขนและขา พบว่าน้ำมันตะไคร้มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อราและแบคทีเรีย

หญ้าหนวดแมวชื่อวิทยาศาสตร์ : Orthosiphon grandiflorus Bolding
วงศ์ : Labiatae
ชื่อสามัญ : Cat's Whisker
ชื่ออื่น : พยับเมฆ
ลักษณะ : ไม้พุ่ม สูง 0.5-1 เมตร กิ่งและก้านสี่เหลี่ยมสีม่วงแดง ใบ เดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปไข่แกมสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด กว้าง 2-4 ซม. ยาว 4-7 ซม. ขอบใบหยักฟันเลื่อย ดอก ช่อ ออกที่ปลายกิ่ง มี 2 พันธุ์คือพันธุ์ดอกสีขาวและพันธุ์ดอกสีม่วงน้ำเงิน เกสรตัวผู้ยื่นพ้นกลีบดอกออกมายาวมาก ผล เป็นผลแห้งไม่แตก รูปรีขนาดเล็ก
ประโยชน์ทางสมุนไพร : ตำรายาไทยใช้ทั้งต้นเป็นยาขับปัสสาวะ แก้โรคปวดตามสันหลังและบั้นเอว ใบเป็นยารักษาโรคเบาหวานและลดความดันโลหิต มีการทดลองใช้ใบแห้งเป็นยาขับปัสสาวะ ขับกรดยูริคซึ่งเป็นสาเหตุของโรคเกาด์และรักษาโรคนิ่วในไตกับผู้ป่วยโรงพยาบาลรามาธิบดี โดยใช้ใบแห้งประมาณ 4 กรัม ชงกับน้ำเดือด 750 ซีซี ดื่มต่างน้ำตลอดวัน ได้ผลเป็นที่น่าพอใจของแพทย์ พบว่าในใบมีเกลือโปแตสเซียมสูง ผู้ป่วยโรคหัวใจไม่ควรใช้