ค้นหา

ค้นหา

บทความที่ได้รับความนิยม

Wikipedia

ผลการค้นหา

วันพฤหัสบดีที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2553

ส้มแขก

ชื่อวิทยาศาสตร์
ชนิดที่ 1 Garcinia atroviridis Griff. Ex T. Anderson
ชนิดที่ 2 Garcinia cambogia Desr.
ชื่อวงศ์ GUTTIFERAE
ชื่ออื่น ๆ
ชนิดที่ 1 ส้มแขก มะขามแขก ชะมวงช้าง ส้มมะวน ส้มควาย ส้มพะงุน อาแซกะลูโก
ชนิดที่ 2 ส้มแขก , Gamboge
ส่วนที่ใช้
ผลส้มแขกชนิดแรกเป็นชนิดที่พบมากในประเทศไทย ส่วนชนิดที่ 2 เป็นชนิดที่มีการใช้กันมากในตลาดโลก ประเทศอินเดียเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่
การปลูก
ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด โดยเมล็ดที่ใช้ต้องมีลักษณะสมบูรณ์ปราศจากโรคและแมลงทำลาย สามารถทำได้ดังนี้
1. ทำการเพาะเมล็ดส้มแขกในถุงดำก่อน เมื่อต้นกล้าอายุ 3-4 เดือน จึงทำการย้ายปลูก
2. เตรียมแปลงปลูกโดยขุดหลุมกว้าง 30 เซนติเมตร X ยาว 30 เซนติเมตร X ลึก 30 เซนติเมตร ใส่ปุ๋ยอินทรีย์รองก้นหลุม
3.นำต้นพันธุ์ลงปลูกในหลุมปลูก กลบดินให้แน่นและมีไม้ยึดลำต้นกันโยก ถ้าแดดจัดต้องพรางแสงแดดในระยะแรกปลูกด้วย
การเก็บเกี่ยว
อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 7-8 ปี โดยผลจะออกในช่วงเดือนมิถุนายน ถึงเดือนสิงหาคม เก็บผลผลิตโตเต็มที่ ผลผลิตสด 3 ตัน/ไร่
การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว
นำผลส้มแขกมาหั่นเป็นชิ้นบาง ๆ และตากแดดจัด ๆ ประมาณ 3 วัน ให้แห้งสนิท เก็บไว้ในภาชนะที่กันความชื้น อัตราส่วนการทำแห้งคือ ผลผลิตสด : ผลผลิตแห้ง = 4:1
สารสำคัญ
ส้มแขกทั้งชนิด G. atroviridis และ G.cambogia , สารสำคัญเหมือนกัน คือ
? -hydroxycitric acid ที่เรียกสั้น ๆ ว่า “สาร HCA” ซึ่งมีคุณสมบัติในการยับยั้งเอนไซม์ในกระบวนการสร้างไขมันจากการบริโภคอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตสูง นอกจากนี้ยังมีกรดอินทรีย
์อื่น ๆ อีก ได้แก่ กรดซิตริก (citric acid) กรดเพนตาดีคาโนอิค (pentadecanoic acid) กรดออคตาดีคาโนอิค (octadecanoic acid) และกรดโดคีคาโนอิค (dodecanoic acid)
ผลการศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา
การศึกษาในสัตว์ทดลอง พบว่า สารสกัดหรือสารสำคัญของผลส้มแขกมีฤทธิ์ทางยาหลายประการ ดังนี้
1. การศึกษาผลต่อน้ำหนักตัว และไขมันในร่างกาย
จากการวิจัยฤทธิ์ของสาร HCA ของต่างประเทศ โดยศึกษาในหนูขาวหรือหนูถีบจักร พบว่า HCA ช่วยลดการกินอาหาร ลดน้ำหนักตัว หรือลดการเพิ่มของน้ำหนักตัวได้
2. การศึกษาฤทธิ์ต้านเชื้อจุลินทรีย์
อนุพันธ์ของ ? -hydroxycitric acid 2 ชนิด แสดงฤทธิ์ยับยั้งเชื้อรา Cladosporium herbarum ซึ่งเป็นเชื้อราชนิดหนึ่งที่ทำให้เกิดอาการภูมิแพ้โดยมีความแรงเทียบเท่า cyclohecimide แต่ไม่มีฤทธิ์ต่อเชื้อราอื่นหรือยีสต์
3. การศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ (antioxidant)
สารสกัดด้วยน้ำ และสารสกัดด้วยเอธานอลของผลส้มแขกไม่แสดงฤทธิ์ antioxidant เมื่อทดสอบด้วยวิธี DPPH radical scavenging assay ที่ระดับความเข้มข้นสูงสุด 2000 ?g/ml. แต่สารสกัดของราก ใบ และเปลือกต้นแสดงฤทธิ์ antioxidant ที่แรงกว่าวิตามินอี ในขณะที่สารสกัดด้วยเมธานอลของผลส้มแขกก็ไม่แสดงฤทธิ์ antioxidant เช่นกัน
ประสิทธิผลในการรักษาโรคจากรายงาการวิจัยทางคลินิก
มีรายงานการวิจัยทางคลินิกของ HCA ในคนอยู่หลายรายงาน แต่พบว่าไม่สนับสนุนฤทธิ์ลดไขมัน หรือประสิทธิผลในการลดน้ำหนักหรือเพิ่ม fat oxidation ของ HCA ซึ่งไม่สอดคล้องกับผลการวิจัยในสัตว์ทดลอง อย่างไรก็ตาม มีข้อเสนอว่าผลิตภัณฑ์จากส้มแขกอาจมีประโยชน์ในการช่วยควบคุมไม่ให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นอีกหลังจากลดน้ำหนักได้แล้ว โดยใช้ร่วมกับการควบคุมอาหาร ลดการบริโภคไขมัน และออกกำลังกาย ซึ่งยังต้องพิสูจน์ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ต่อไป
การศึกษาทางพิษวิทยา
ไม่มีรายงานการศึกษาทางพิษวิทยาในสัตว์ทดลอง ผลของส้มแขกใช้เป็นอาหารด้วยจึงถือว่ามีความปลอดภัย ทางภาคใต้ใช้ผลส้มแขกมาปรุงอาหารเช่น ต้มเนื้อ ต้มปลา แกงส้ม
ข้อห้ามใช้
ไม่มีข้อมูล
ข้อควรระวัง
เนื่องจากสาร HCA มีผลรบกวนการสร้าง acetyl CaA, fatty acid รวมทั้ง cholesterol จึงอาจมีผลรบกวนต่อการสร้าง steroid hormone ได้ จึงไม่แนะนำให้ใช้ HCA หรือผลิตภัณฑ์ส้มแขกที่มี HCA ในปริมาณสูงในสตรีมีครรภ์ หรือสตรีที่ให้นมบุตร
อาการข้างเคียง
ในขนาดสูงอาจทำให้เกิดอาการข้างเคียงต่อระบบทางเดินอาหารเล็กน้อย
ขนาดที่ใช้และวิธีใช้
- ไม่มีข้อบ่งใช้ที่ได้รับรองจากวงการแพทย์ ที่มีงานวิจัยที่ยืนยันประสิทธิผลในคนสนับสนุน แต่ปัจจุบันมีการใช้เพื่อวัตถุประสงค์ในการช่วยลดน้ำหนัก ลดความอยากอาหาร
- สำหรับผลิตภัณฑ์ส้มแขกที่มีการควบคุมปริมาณ HCA ไม่ต่ำกว่า 50 % ให้รับประทานในขนาด 750-1,500 มิลลิกรัม โดยแบ่งให้วันละ 2-3 ครั้ง 30-60 นาทีก่อนอาหาร
เอกสารอ้างอิง
1. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (เต็ม สมิตินันทน์ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2544) พิมพ์ครั้งที่ 2. บริษัทประชาชน จำกัด . กรุงเทพฯ. 2544.
2. คู่มือพืชสมุนไพรและเครื่องเทศ ชุดที่ 5 พืชสมุนไพรเสริมสุขภาพ. กลุ่มพืชสมุนไพรและเครื่องเทศ, 2543.
3. J Agric Food Chem 2002 ; 50(1) : 10-22.
4. Am J Physiol 1981; 240(1) : E72-8.
5. Physiol Behav 2001 ; 74(1-2): 191-6.
6. J Nutr 2002; 132 (7): 1977-82.
7. http://www.znaturforsch.com/57c/s57c0291.pdf
8. J Ethnopharmacol 2000; 72(3): 395-402.
9. JAMA 1998. 280(18) : 596-600.
10. Int J Obes Relat Metab Disord 25(7): 1087-94.
11. Am J Clin Nutr 72(6): 1445-50.
12. J Nutr Sci Vitaminol (Tokyo) 48(2): 128-33.
13. J Nutr Sci Vitaminol (Tokyo) 49(3): 163-7.
14. Int J Obes Relat Metab Disord 23(8): 867-73.
15. http://www.supplementwatch.com/supatoz/supplement.asp?supplementId=135

รายการบล็อกของฉัน

chat love manman

chat love manman1

chat love manman 2

chat love manman 3

chat love manman 4

chat love manman 5

chat love manman6