วันเสาร์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

การดูแลสุขภาพสตรีหลังคลอด

การดูแลสุขภาพสตรีหลังคลอด
ในสมัยก่อนหลังคลอดแล้วสิ่งแรกที่ต้องกระทำคือการอยู่ไฟปัจจุบันแม้ว่าหญิงตั้งครรภ์จะคลอดในโรงพยาบาลก็ตาม เมื่อกลับบ้านแล้ว พ่อ แม่ ญาติผู้ใหญ่หรือเพื่อนบ้านผู้มีประสบการณ์จะแนะนำหรือบอกให้ปฏิบัติ ตนตามอย่างที่คนเหล่านั้น เคยเห็นหรือเคยทำมาประกอบกับความเชื่อ เดิมที่เชื่อมาเป็นเวลานานยากเก่าการเลิกปฏิบัติ ถ้าในระยะหลังการคลอดเกิดอาการไม่สบายขึ้น เช่นหน้ามืด วิงเวียน อ่อนเพลีย ส่วนใหญ่ จะโทษว่าเกิดจากการไม่อยู่ไฟ ดังนั้น จึงทำให้หญิงหลังคลอดกลับไปใช้วิธีเดิมเหล่านั้นอีก เพื่อไม่ให้ผิดประเพณี และเพื่อความสบายใจ การอยู่ไฟสมัยก่อนเข้าใจว่าเป็นการชำระล้างมลทิน เพราะการคลอดบุตรถือว่าเป็นมลทิน การใช้น้ำอย่างเดียวไม่พอ ต้องใช้ไฟด้วย บางคนเชื่อว่าการอยู่ไปช่วยให้แข็งแรง มดลูกแห้งเข้าอู่เร็ว ขับน้ำคาวปลาซึ่งเป็นการขับเลือดเสียออกเป็นการขับไล่ภูติผีไม่ให้มารบกวนทำอันตรายได้

นอกจากการอยู่ไปแล้ว การเข้ากระโจมซึ่งคล้ายการอบตัวด้วยไอน้ำของปัจจุบันก็เป็นวิธีการดูแลสุขภาพของสตรีหลังคลอด สมัยโบราณก่อนเข้ากระโจมหญิงหลังคลอดจะทาตัวด้วยเหล้า การบูรและว่านนางคำ ใช้ท่อนไม้ไผ่ไอน้ำจากหม้อที่ต้มเดือดสอดเข้าในกระโจมหรือยกหม้อยา ที่กำลังเดือดเข้าไปในกระโจมด้วย และค่อย ๆ เปิดทีละน้อยให้ไอพุ่งขึ้นรมหน้า สมุนไพรที่ใช้ในการต้มมี 3 กลุ่ม ดังนี้

กลุ่มที่ 1
เป็นสมุนไพรที่มีรสเปรี้ยว ได้แก่ ใบมะขาม ผลมะกรูดผ่าซีก ใบและฝักส้มป่อย สมุนไพรกลุ่มนี้จะเป็นกรดอ่อน ๆ ช่วยชำระล้างสิ่งสกปรก ที่ติดอยู่ตามผิวหนังให้ลื่นหลุดออกง่าย มีฤทธิ์ ฆ่าเชื้อโรคบางชนิด ทำให้ผิวหนังสะอาด และต้านทานต่อเชื้อโรค ได้ดีขึ้น
กลุ่มที่ 2
สมุนไพรที่มีกลิ่นหอมได้แก่ ใบตะไคร้ ขมิ้นอ้อย ขมิ้นชัน ไพล ผิวมะกรูด เปราะหอม ว่านน้ำ ใบหนาด กลุ่มนี้มีน้ำมันหอมระเหย ซึ่งจะช่วยให้รู้สึกสดชื่น กระปรี้กระเปร่า ช่วยลดอาการหวัด คัดจมูก นอกจากนี้ ใบตะไคร้ และเหง้าขมิ้นมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อราและแบคทีเรีย ส่วนไพล มีฤทธิ์ลด อาการบวมอักเสบได้ดี
กลุ่มที่ 3
ได้แก่พิมเสน การบูร มีสรรพคุณทำให้รู้สึกสดชื่นช่วยบำรุงหัวใจ และรักษาโรคผิวหนังบางชนิด

สมุนไพรทั้ง 3 กลุ่ม มีประโยชน์แก่หญิงหลังคลอด ดังนี้
ทำให้การไหลเวียนของเลือดเพิ่มเติม ช่วยลดการอักเสบ บวม ปวดของกล้ามเนื้อทั่วร่างกาย
ทำให้รูขุมขนขยายออก สิ่งสกปรกถูกขับออกมา พร้อมกับเหงื่อและสมุนไพรที่มีรสเปรี้ยวจะช่วยชะล้าง
สิ่งสกปรกเหล่านั้นให้ลื่นหลุดออกจากผิวหนังได้ง่าย ช่วยให้ผิวหนังต้านทานต่อเชื้อโรค ได้ดีขึ้น
ทำให้ข้อที่ฝืดแข็ง ปวด คลายความปวดและฝืดลง
ทำให้เหงื่อที่ถูกขับออกมาช่วยลดน้ำหนักลงไปได้บ้าง
กลิ่นหอมของสมุนไพร ช่วยให้รู้สึกสดชื่น แจ่มใส คลายความเครียด และบรรเทาอาการหวัด คัดจมูก

ปัจจุบันการอบสมุนไพรมี 2 แบบคือ
1. การอบแห้ง
เรียกทับศัพท์ว่า “ เซาว์น่า ” คล้ายคลึงกับการอยู่ไฟของไทย ซึ่งนิยมในต่างประเทศ โดยใช้ความร้อนจากถ่านหินบนเตาร้อน
2. การอบเปียก
เป็นวิธีที่คนไทยนิยมและแพร่หลายในปัจจุบัน โดยพัฒนาจากการอบรมแบบเข้ากระโจม มาเป็นห้องอบสมุนไพรที่ทันสมัยขึ้น สามารถให้บริการไครั้งละหลายคน โดยการใช้หม้อต้ม สมุนไพรที่มีท่อส่งไอน้ำเข้าไปภายในห้องอบการอบสมุนไพรของไทยนั้นเป็นการอบไอน้ำร้อนซึ่งเป็นวิธีการหนึ่งในการขับเหงื่อเพื่อรักษาโรคเฉียบพลัน ฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยเรื้อรังและหญิงหลังคลอด รวมทั้งช่วยส่งเสริมสุขภาพให้แก่ประชาชนทั่วไปด้วย การเข้ากระโจมอบไอน้ำไม่ควรทำเมื่อรับประทานอาหารอิ่มใหม่ ๆ หรือขณะกำลังหิว และทำในที่ ที่ไม่มีลมพัด ต้องเอาน้ำมันมาทาตัวเสียก่อน วิธีการเข้ากระโจมขับเหงื่อนั้นควรค่อย ๆ เพิ่มความร้อนให้มาขึ้นจนเพียงพอกับความต้องการและเมื่อจะเลิกก็ลดความร้อนให้ค่อย ๆน้อยลงจนเท่าความร้อนปกติของร่างกาย แล้วจึงออกจากกระโจม เพราะการนำเอาผู้ป่วยเข้ากระโจมร้อนทันที และเมื่อเอาออกก็ถูกอากาศเย็นทันทีนั้นเป็นอันตราย อาจทำให้คนช็อคได้ ในการเข้ากระโจม ควรให้ดื่มน้ำใส่เกลือเค็มเล็กน้อย ดื่มบ่อย ๆ ดี และมียาแก้ลมไว้ด้วย เมื่อออกจากกระโจมก็ควรห่มผ้าให้อุ่น ๆ ไว้ก่อน เมื่อรู้สึกสบายแล้วจึงเอาผ้าห่มออก และอาบน้ำอุ่นชำระร่างกายด้วย ขึ้นจากน้ำแล้วให้ห่มผ้านั่งหรือ นอนให้สบายสักครู่ อย่าให้ถูกลม

รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และมีลักษณะเหนียว ๆ และ ร้อน ๆ การเข้ากระโจมควรเข้าทุกวัน ส่วนความถี่ของการอบสมุนไพร ขึ้นอยุ่กับอาการของผู้ป่วย

ประโยชน์ของการอบไอน้ำสมุนไพร
*ช่วยทำให้การไหลเวียนของโลหิตดีขึ้นคลายความเครียดตึงเครียด
*ช่วยชำระล้างและขับของเสียออกจากร่างกายทางผิวหนัง
*ช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นบรรเทาอาการปวดเมื่อย
*ช่วยทำให้ระบบการหายใจดีขึ้น
*ช่วยบำรุงผิวพรรณบรรเทาอาการผดผื่นคัน
*ช่วยให้น้ำหนักร่างกายลดลงได้ชั่วคราว
*ช่วยให้มดลูกเข้าอู่เร็วในหญิงหลังคลอด

ข้อห้ามสำหรับการอบสมุนไพร
*ขณะมีไข้สูง ( มากกว่า 38 องศาเซลเซียล)หรือหลังฟื้นไข้ใหม่ ๆ
*โรคติดต่อร้ายแรงทุกชนิด เช่น วัณโรค ไวรัสตับอักเสบ
*สตรีขณะมีประจำเดือน วันแรกร่วมกับอาการไข้และปวดศรีษะ
*มีการอักเสบจากบาดแผลต่าง ๆ
*อ่อนเพลีย อดนอน อดอาหาร
*หญิงมีครรภ์
*เป็นโรคความดันโลหิตสูง หน้ามืด เวียนศรีษะ
*หลังรับประทานอาหารอิ่มใหม่ ๆ (ควรรับประทานอาหารก่อนอบสมุนไพรครึ่งชั่วโมง)

ขั้นตอนในการอบไอน้ำสมุนไพร กำหนดไว้ดังนี้
ให้ผู้รับบริการอาบน้ำ เพื่อชำระสิ่งสกปรกตามรูขุมขน และเป็นการเตรียมเส้นเลือดให้พร้อมต่อการยืดขยายและหดตัวแล้วแต่งกายด้วยเสื้อผ้าให้น้อยชิ้น
เข้าห้องอบสมุนไพรซึ่งมีการควบคุมอุณหภูมิให้อยู่ระหว่าง 42-45 องศาเซลเซียส ใช้เวลาอบ รวม 30 นาที โดบอบ 2 ครั้ง ครั้งละ 15 นาที และออกมานั่งพัก 3-5 นาที หลังการอบครั้งแรก ควรดื่มน้ำทดแทนแต่ไม่ควรเป็นน้ำเย็นจัด ในรายที่ไม่คุ้นเคยกับการอบ อาจให้อบนาน 10 นาที 3 ครั้ง
หลังการอบครบตามเวลา ควรนั่งพัก 3-5 นาที หรือจนเหงื่อแห้ง แล้วจึงอาบน้ำอีกครั้งเพื่อชำระคราบเหงื่อไคลและสมุนไพรและช่วยให้หลอดเลือดหดตัวลงเป็นปกติ
ควรอบอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง หรือวันเว้นวันขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของแต่ละราย

การอบสมุนไพรที่เปิดบริการอยู่ในสถานบริการสาธารณสุขนั้นมุ่งเน้น เพื่อการบำบัดรักษาโรคจึงมีการซักประวัติ ตรวจร่างกาย (ชั่งน้ำหนัก วัดความด้นโลหิต และวัดไข้) และวินิจฉัยโรคก่อนการเข้าอบ ภายหลังการอบก็จะประเมินผลการรักษา