เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ หรือการทดลองทางคลินิกในคนด้วย รายงานดังกล่าวพอสรุปโดยย่อได้ ดังนี้
การศึกษาสมุนไพรที่มีฤทธิ์ต้านเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่
รายงานการวิจัยฤทธิ์ของสมุนไพรต่าง ๆ ต่อเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่เกือบทั้งหมดเป็นการวิจัยฤทธิ์ต้านเชื้อไวรัสในหลอดทดลองและส่วนมากเป็น
สมุนไพรในต่างประเทศ ส่วนรายงานการทดสอบฤทธิ์ของสมุนไพรที่มีในประเทศไทยนั้นมีอยู่บ้าง ได้แก่
1. พลูคาว ( Houttuynia cordata ) มีรายงานการวิจัยของนักวิทยาศาสตร์ญี่ปุ่น เมื่อปี 1995 ว่าน้ำมันระเหยที่ได้จากการกลั่นสมุนไพร
พลูคาวหรือคาวตองสดสามารถยับยั้งเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ รวมทั้ง herpes simplex virus type 1 (HSV-1) และ HIV-1 ในหลอด
ทดลองได้ และสารสำคัญในน้ำมัน ได้แก่ methyl n-nonyl ketone, lauryl aldehyde และ capryl aldehyde สามารถ inactivate
influenza virus, HSV-1 และ HIV-1 ได้ (1)
2. ทองพันชั่ง ( Rhinacanthus nasutus ) มีรายงานการวิจัยโดยบริษัทยา Shaman Pharmaceuticals ในสหรัฐอเมริกา เมื่อปี
1997 ว่า สาร rhinacanthin E และ rhinacanthin F ที่แยกสกัด ได้จากส่วนเหนือดินของทองพันชั่งแสดงฤทธิ์ยับยั้งเชื้อ ไวรัสไข้หวัดใหญ่
type A ได้อย่างมีนัยสำคัญ (2)
3. สาร Epigallocatechin (EGCG) ซึ่งเป็นสารสำคัญกลุ่มโพลีฟีนอล (polyphenols) ที่พบมากที่สุดในใบชา ( Camellia
sinensis ) โดยเฉพาะอย่างยิ่งชาเขียว ในขนาดต่ำในหลอดทดลอง สามารถยับยั้งไม่ให้เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ทั้ง type A และ B เข้าไปในเซลล์ แล้วทำให้เกิดการติดเชื้อ (infectivity) ของเซลล์เพาะเลี้ยงจากไตของสุนัข (Madin-Darby canine kidney cells) ได้ (3)
4. บีทรูท ( Beta vulgaris หรือ beet root, sugarbeet) มีรายงานการวิจัยเมื่อปี 1986 ว่าสารสกัดด้วยน้ำของบีทรูทเมื่อหยอดเข้าจมูกหนูถีบจักรหลาย ๆ ครั้ง ก่อนที่จะหยอดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ type A สายพันธุ์ H1N1 สามารถช่วยป้องกันการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ได้บางส่วน โดยมีผลลด hemagglutination titer ในปอดหนู ลดอัตราการตาย และยืดเวลามีชีวิตของหนูได้เมื่อเทียบกับหนูที่ได้รับไวรัสอย่างเดียว (4)
5. ใบเตย ( Pandanus amaryllifolius ) มีรายงานการวิจัยจากฮ่องกงว่าใบเตยมีสารจำพวก lectin เรียกว่า Pandanin มีคุณสมบัติเป็นโปรตีน ซึ่งมีฤทธิ์ต้านเชื้อ ไวรัสไข้หวัดใหญ่ (H1N1) โดยมีค่าความเข้มข้นที่ต้านเชื้อได้ 50% (EC50) เท่ากับ 15.63 microM (5)
6. เห็ดหลินจือ จากการศึกษาฤทธิ์ของสารสกัดด้วยน้ำ และสารที่ละลายในเมทานอลของเห็ดหลินจือต่อไวรัส 5 สายพันธุ์ ได้แก่ influenza A virus (Flu A), herpes simplex virus type 1 (HSV-1) & type 2 (HSV-2), vesicular stomatitis virus (VSV) Indiana & New Jersey strain ในหลอดทดลอง ด้วยวิธี cytopathic effect (CPE) inhibition assay และ plaque reduction assay พบว่าบางสารมีฤทธิ์ต้านเชื้อ HSV หรือ VSV ได้ แต่ ไม่พบ ว่าสารที่ทดสอบสามารถแสดงฤทธิ์ต้านไวรัส (antiviral) ต่อ Flu A ได้ (6)
7. สาร Aloe emodin ซึ่งเป็นสาร anthraquinone ในสมุนไพรหลายชนิด เมื่อนำมาผสมกับเชื้อ ไวรัสไข้หวัดใหญ่ และไวรัสชนิดอื่น ๆ ได้แก่ HSV-1 & HSV-2, varicella zoster virus, pseudorabies virus, adenovirus และ rhinovirus นาน 15 นาทีที่ 37 ? C แล้ววิเคราะห์ปริมาณไวรัสที่เหลืออยู่ พบว่าสามารถ inactivate ไวรัสไข้หวัดใหญ่ และไวรัสอื่นได้ ยกเว้น adenovirus และ rhinovirus (7)
8. ยี่โถ ( Nerium indicum ) สารสกัดด้วยเมทานอลและเมทานอลกับน้ำของยี่โถแสดงฤทธิ์ต้านเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ได้ดี โดยมีค่าความเข้มข้นที่ยับยั้งเชื้อได้ 50% (IC50) 10 m g/ml (8)
9. ผักเป็ดน้ำ ( Alternathera philoxeroides ) มีรายงานการวิจัยทางคลินิกในประเทศจีน เพื่อศึกษาฤทธิ์ป้องกันและรักษาไข้
้หวัดใหญ่ของผักเป็ดน้ำแต่รายงานดังกล่าวเป็นภาษาจีนและตีพิมพ์ในวารสารของจีน ซึ่งไม่มีบทคัดย่อเป็นภาษาอังกฤษให้ศึกษารายละเอียดได้ (9)
อย่างไรก็ตาม จากฐานข้อมูล PubMed ไม่มีรายงานการวิจัยต่อเนื่องของสมุนไพรลำดับที่ 1-8 ทางคลินิกเพื่อศึกษา
ประสิทธิผล ในการป้องกันหรือรักษาไข้หวัดใหญ่
การศึกษาสมุนไพรที่มีฤทธิ์กระตุ้นภูมิคุ้มกันในโรคไข้หวัดใหญ่
สำหรับการศึกษาประสิทธิผลของสมุนไพรที่มีฤทธิ์กระตุ้นภูมิคุ้มกันกับการป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่นั้น มีรายงานการวิจัย ดังนี้
2. โสม มีการวิจัยฤทธิ์ของสารสกัดโสมอเมริกันที่มีการจดสิทธิบัตร CVT-E200 ใน การป้องกันการเจ็บป่วยด้วยโรคทางเดินหายใจอย่างเฉียบพลัน (acute respiratory illness) ในผู้สูงอายุ ที่อาศัยอยู่ในสถานที่ที่อยู่ร่วมกันหลาย ๆ คน (institutional setting) ระหว่างฤดูการระบาดของไข้หวัดใหญ่ ( ฤดูหนาวปี 2000-2001) พบว่า อุบัติการณ์ของการป่วยด้วยไข้หวัดใหญ่ที่มีการตรวจยืนยันทางห้องปฏิบัติการ (laboratory-confirmed influenza illness) ของกลุ่มยาหลอกสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับโสมอย่างมีนัยสำคัญ (7/101 VS 1/97) (11)
นอกจากนี้ เมื่อให้ standardized ginseng extract Ginsana G115 ในขนาด 100 mg หรือยาหลอกแก่อาสาสมัคร นาน 12 สัปดาห์ แล้วให้ anti-influenza polyvalent vaccine ในสัปดาห์ที่ 4 พบว่ามีคนป่วยด้วยโรคหวัดหรือไข้หวัดใหญ่ในกลุ่มที่ได้ยาหลอก (42/113) มากกว่ากลุ่มที่ได้รับโสม (15/114) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และ antibody titer ในสัปดาห์ที่ 8 ในกลุ่มที่ได้รับโสมสูงกว่ากลุ่มยาหลอกอย่างมีนัยสำคัญ (171 VS 272 units) และ natural killer (NK) activity ในสัปดาห์ที่ 8 และ 12 ในกลุ่มโสมสูงกว่ากลุ่มยาหลอกเกือบ 2 เท่า (12)
3. Echinacea เมื่อให้สารสกัด aqueous-ethanol ของส่วนผสมสมุนไพรที่ประกอบด้วยราก Echinacea purpurea , ราก Echinacea pallida , ราก Baptisia tinctoria และต้น Thuja occidentalis ในน้ำดื่มแก่หนูถีบจักรที่ติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ type A นาน 14 วัน โดยเริ่มให้ยาก่อนหยอดไวรัสเข้าจมูก 6 วัน แล้วติดตามผลไป 21 วัน พบว่า ช่วยเพิ่มอัตราการรอดตาย (survival rate) และระยะ เวลาเฉลี่ยที่รอดชีวิต (mean survival time) ลดการ consolidation ของปอดและ virus titer ในปอด (13)
งานวิจัยสมุนไพรกับไข้หวัดใหญ่ในประเทศไทย
1. ฟ้าทะลายโจร มีรายงานการวิจัยทางคลินิกหลายรายงานที่ยืนยันว่าสามารถบรรเทา อาการต่าง ๆ ของโรคหวัด (common cold) ได้ (14-17) โดยกลไกการออกฤทธิ์น่าจะเนื่องจากฤทธิ์กระตุ้นภูมิคุ้มกัน ลดไข้ และต้านอักเสบ อย่างไรก็ตาม โรคหวัดกับไข้หวัดใหญ่ (cold VS flu) เกิดจากเชื้อไวรัสคนละชนิดกัน แม้ว่าจะมีอาการต่าง ๆ คล้ายคลึงกัน แต่ไข้หวัดใหญ่มีความรุนแรงมากกว่า มีอาการไข้ ปวดเมื่อยเนื้อตัว อ่อนเพลียมาก และไอแห้ง ขณะที่หวัดจะมีอาการน้อยกว่าและผู้ป่วยมักมีน้ำมูกไหลหรือคัดจมูกร่วมด้วย (18) ขณะนี้ สถาบันวิจัยสมุนไพร กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กำลังร่วมมือกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนนทบุรี ในการ ศึกษาวิจัยทางคลินิกเพื่อประเมินประสิทธิผลในการบรรเทาอาการของโรคไข้หวัดใหญ่ของฟ้าทะลายโจร แม้ว่าจะยังไม่มีรายงานการวิจัยประสิทธิผลของฟ้าทะลายโจรในไข้หวัดใหญ่ในขณะนี้ แต่ในประเทศสวีเดนซึ่งทำการวิจัยประสิทธิผลในโรคหวัดส่งเสริมให้ใช้ผลิตภัณฑ์ฟ้าทะลายโจรในโรคไข้หวัดใหญ่ด้วยเช่นกัน
2. แมงลักคา ( Hyptis suaveolens ) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ( นพ . สุชัย เจริญรัตนกุล ) ได้เคยแถลงข่าวเรื่องสมุนไพร “ แมงลักคา ” หรือ Phyto-1 ร่วมกับกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดยพบว่าแมงลักคาที่ความเข้มข้น 5 มก ./ มล . สามารถลดเชื้อไข้หวัดใหญ่ลงได้ 93% โดยไม่พบความเป็นพิษหรืออันตรายจากการทดลองในสัตว์ทดลอง (19) ขณะนี้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์กำลังเตรียมการศึกษาวิจัยทางคลินิกอยู่ในผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่อยู่
สรุป การศึกษาวิจัยสมุนไพรที่มีฤทธิ์ต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่ที่ผ่านมา ส่วนมากเป็นเพียงการวิจัยในหลอดทดลองเท่านั้น ยังไม่มีการวิจัยทางคลินิกที่นำไปสู่การผลิตผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรเพื่อ รักษาไข้หวัดใหญ่ ส่วนการวิจัยสมุนไพรที่มีฤทธิ์กระตุ้นภูมิคุ้มกันในการป้องกันหรือรักษาไข้หวัดใหญ่นั้น มีทั้งการวิจัยทางคลินิกของผลิตภัณฑ์ที่จำหน่ายในท้องตลาดและสารสกัดสมุนไพรที่จดสิทธิบัตรแล้วและการวิจัยใน สัตว์ทดลอง ซึ่งพบว่าสมุนไพรมีผลในทางบวกคือช่วยป้องกันการเกิดไข้หวัดใหญ่และลดความรุนแรงของโรคได้ สมุนไพรจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่มีศักยภาพในการนำมาใช้ป้องกันและบรรเทาไข้หวัดใหญ่ได้ ซึ่งจะต้องมีการวิจัยและพัฒนาอย่างต่อเนื่องกันต่อไป ก่อนที่จะส่งเสริมให้มีการใช้อย่างแพร่หลายต่อไป ในอนาคต
ภญ . ดร . อัญชลี จูฑะพุทธิ
กลุ่มงานพัฒนาวิชาการแพทย์แผนไทยและสมุนไพร
กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
31 ตุลาคม 2548