ผักขี้ขวง (ภาคเหนือ)
ชื่อวิทยาศาสตร์: Glinus oppositifolius
(L.) A.DC.
ชื่อวงศ์: Molluginaceae
ลักษณะวิสัย/ประเภท: หญ้า
ค้นหา |
ใบมีขนาดเล็กเรียวยาว ออกจากบริเวณข้อของลำต้นข้อละ 4-5 ใบ ขอบใบเรียบ ก้านใบสั้น ดอก ออกรอบๆ ข้อ ข้อละ 4-6
ดอก มีกลีบดอก 5 กลีบ สีขาวอมเขียว ติดผลรูปยาวรี เมื่อผลแก่จะแตกออกเป็นสามแฉก ภายในมีเมล็ดสน้ำตาลแดงจำนวนมากพบขึ้นบริเวณชื้นแฉะ ในไร่นา และตามสนามหญ้าโดยทั่วไป ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด
ปริมาณที่พบ:น้อย
การขยายพันธุ์:ใช้เมล็ด
อธิบายวิธีการเพาะ/ขยายพันธุ์: พบขึ้นบริเวณชื้นแฉะ ในไร่นา และตามสนามหญ้าโดยทั่วไป ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ดโปรย เป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ชอบแสงแดดจ้าขึ้นได้ในดินทุกชนิด
อธิบายวิธีการเพาะ/ขยายพันธุ์: พบขึ้นบริเวณชื้นแฉะ ในไร่นา และตามสนามหญ้าโดยทั่วไป ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ดโปรย เป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ชอบแสงแดดจ้าขึ้นได้ในดินทุกชนิด
การใช้ประโยชน์/ส่วนที่นำไปใช้ประโยชน์:
สรรพคุณ : ทั้งต้น มีรสขมเย็น ปรุงเป็นยาแก้ไข้ แก้ร้อนในกระหายน้ำ บำรุงน้ำดี แก้ไข้ทั้งปวง ระงับความร้อน และถ้านำต้นสดมาตำผสมกับขิงจะเป็นยาสุมกระหม่อมเด็ก ปวดศีรษะ แก้หวัด แก้ไอ
สรรพคุณ : ทั้งต้น มีรสขมเย็น ปรุงเป็นยาแก้ไข้ แก้ร้อนในกระหายน้ำ บำรุงน้ำดี แก้ไข้ทั้งปวง ระงับความร้อน และถ้านำต้นสดมาตำผสมกับขิงจะเป็นยาสุมกระหม่อมเด็ก ปวดศีรษะ แก้หวัด แก้ไอ
ในประเทศอินเดียใช้ปรุงเป็นยาระบาย บำรุงธาตุ แก้คัน เป็นยาทาแก้โรคผิวหนัง หรือยาฆ่าเชื้อ แต่ถ้าผสมกับน้ำมันละหุ่งแล้วนำไปอุ่น จะเป็นยาแก้ปวดหู หยอดหู
เป็นสมุนไพรบำรุงน้ำดี แก้ไข้ แก้ร้อนใน แก้หวัด แก้ไอ ทาแก้ฟกช้ำบวมอักเสบ นอกจากนี้ยังใช้แก้โรคผิวหนัง แก้คัน ใช้หยอดหูแก้ปวดหู
ส่วนที่ใช้ : ทั้งต้น
แหล่งที่พบ:ทุกภาค
ฤดูกาลที่ใช้ประโยชน์ได้: ทุกฤดูตลอด
เรียบเรียงข้อมูลเพิ่มเติมโดย manman
แหล่งที่พบ:ทุกภาค
ฤดูกาลที่ใช้ประโยชน์ได้: ทุกฤดูตลอด