ค้นหา

ค้นหา

บทความที่ได้รับความนิยม

Wikipedia

ผลการค้นหา

วันพฤหัสบดีที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2553

มะตูมสมุนไพรคลายร้อน

ข้อมูลจากฝ่ายวิชาการ สถาบันการแพทย์แผนไทย
มะตูม มะตูมเป็นไม้ยืนต้น มีชื่อพื้นเมืองหลายอย่างเรียกกันแตกต่างไป เช่น ภาคเหนือเรียก มะปิน ภาคใต้เรียก กะทันตาเถร ตูม ตุ่มตัง ภาคกลางเรียก มะตูม ภาคอีสานเรียก บักตูม หมากตูม เขมรเรียก พะเนิว เป็นต้น แต่สรรพคุณทางยาหรือคุณค่าประโยชน์ทางอาหารถือได้ว่ามะตูมเป็นพืชสมุนไพรยอดฮิตอีกชนิดหนึ่ง ที่ตลาดสมุนไพรขาดไม่ได้และผู้บริโภคก็หาซื้อได้ง่าย
นอกจากนั้นแล้วในด้านความเชื่อโบราณมีความเชื่อว่า มะตูมเป็นไม้มงคลชนิดหนึ่งที่ควรมีไว้ในบริเวณบ้าน โดยปลูกไว้ทาง ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสาน) ร่วมปลูกกับไผ่รวก และทุเรียน ถือว่าเป็นเคล็ดลับในชื่อเรียกที่เป็นมงคลนาม จะทำให้เกิดกำลังใจ ให้เกิดความมานะพยายามที่จะต่อสู้ฟันฝ่าอุปสรรคต่างๆ ในชีวิต นอกจากนี้มะตูมยังเกี่ยวข้องกับพิธีกรรมและพิธีมงคลของไทย การทำน้ำมนต์เพื่อสะเดาะเคราะห์ ครอบครูจะใช้ใบมะตูมเป็นองค์ประกอบในพิธี สำหรับในทางไสยศาสตร์ ชาวฮินดูถือว่าไม้มะตูมเป็นไม้ศักดิ์สิทธิ์ และใบมะตูมเป็นใบไม้ที่ป้องกันเสนียดจัญไร และขับภูติผีปีศาจได้

ส่วนต่างๆ ของมะตูมที่ใช้เป็นยา 
ได้แก่ ราก ใบ ผลแก่และสุก เปลือกราก ทั้ง 5 รสและสรรพคุณในตำรายาไทย
1. ราก มีรสฝาดปร่า ชา ขื่นเล็กน้อย แก้พิษฝี แก้ไข้ แก้ลมหืดหอบ ไอช่วยบำบัดเสมหะ รักษาน้ำดี
2. ใบสด มีรสฝาด ปร่า ซ่า ขื่น มัน เป็นยาบำรุงธาตุ ทำให้เจริญอาหาร แก้โรคลำไส้ แก้ท้องเดิน แก้หวัด แก้หลอดลมอักเสบ น้ำคั้นจากใบทาแก้หวัด แก้บวม แก้เยื่อตาอักเสบ
3. ผลมะตูมแก่ รสฝาดหวาน มีสรรพคุณบำรุงธาตุ เจริญอาหารและช่วยขับลมผาย
4. ผลมะตูมสุก รสหวานเย็น สรรพคุณแก้ลม แก้เสมหะ แก้มูกเลือด บำรุงไฟธาตุ แก้กระหายน้ำ ขับลม รสฝาดปร่าซ่าขื่น แก้ปวดศีรษะ ตาลาย เจริญอาหาร ลดความดันโลหิตสูง
5. เปลือกรากและลำต้น รสฝาดปร่าซ่าขื่น แก้ไข้จับสั่น ขับลมในลำไส้

ขนาดและวิธีใช้
ช่วยขับลมผาย ช่วยเจริญอาหาร ใช้ผลมะตูมแก่ทั้งลูกขูดผิวให้หมด ทุบพอร้าวๆ ต้มน้ำเติมน้ำตาลเล็กน้อยดื่มน้ำ น้ำที่ได้มีรสหอม เรียกว่า "น้ำอัชบาล" แก้กระหายน้ำ แก้ลม แก้เสมหะ รับประทานเนื้อผลมะตูมสุก แก้พิษฝี แก้ไข้ แก้ลมหืดหอบ ไอ นำรากไปคั่วไฟให้เหลือง แล้วนำไปดองสุราเพื่อกลบกลิ่น แก้โรคลำไส้ แก้ท้องเดิน แก้หวัด ใช้ใบรับประทานเป็นผัก แก้ปวดศีรษะ ตาลาย ลดความดันโลหิตสูง ใช้ทั้ง 5 ต้มรับประทาน แก้ธาตุพิการ แก้ท้องเสีย ใช้ผลอ่อนหั่นผึ่งให้แห้ง บดเป็นผงหรือต้มรับประทาน โดยใช้ตัวยา 1 กำมือ ต้มกับน้ำ 5 แก้ว นานประมาณ 10-30 นาที ดื่มครั้งละ 1 แก้ว ทุก 2 หรือ 4 ชั่วโมง แล้วแต่ว่าเป็นมากเป็นน้อย หรืออาจจะซื้อมะตูมแห้งจากร้านขายยา 5-6 แว่น ต้มกับน้ำประมาณ 2 ถ้วยแก้ว เดือดแล้วเคี่ยวต่อไปเล็กน้อย ยกลง ตั้งไว้ให้เย็นดื่มครั้งละ ครึ่งแก้วเติมน้ำตาล แก้หวัด แก้หลอดลมอักเสบ แก้บวม ใช้ใบสดคั้นเอาน้ำรับประทาน

ข้อแนะนำ
- ตำรายานี้เป็นเพียงยาระงับอาการของโรคเท่านั้น ถ้าใช้รักษาโรคภายใน 1 วันไม่ได้ผล (ยกเว้นโรคเรื้อรัง เช่น กระเพาะ, หืด) ควรหยุดใช้ยาทันทีเมื่อมีความเจ็บป่วย หากอาการรุนแรงขึ้น ไม่ควรรักษาด้วยตนเองควรปรึกษาผู้ชำนาญ
- ควรใช้เมื่อยามจำเป็นเท่านั้น เพราะยานี้ใช้รักษาโรคค่อนข้างรุนแรง เช่น ท้องเสียรุนแรง
- ถ้าท้องเสียควรดื่มน้ำมากๆ เติมน้ำตาลทรายและเกลือลงไปด้วยจะดีมาก
สาระสำคัญ
- ผลแก่มีสารที่เป็นเมือก และน้ำมันระเหย
- ผลสุกมีสารที่เป็นเมือก น้ำมันระเหย

ประโยชน์ทางอาหาร
ส่วนที่ใช้เป็นผัก ยอดอ่อน ผลดิบ
ช่วงฤดูกาลที่เก็บ ยอดอ่อนออกตลอดปี ลูกอ่อนพบในช่วงฤดูฝน ผลสุกมีในช่วงกลางฤดูหนาวถึงฤดูแล้ง

การปรุงอาหาร คนไทยทุกภาครับประทานยอดอ่อนและใบอ่อนของมะตูมเป็นผักสด ในตลาดท้องถิ่นมักพบในมะตูมอ่อนจำหน่ายเป็นผักชาวเหนือรับประทานแกล้มลาบ ชาวอีสานรับประทานร่วมกับก้อย ลาบหรือแจ่วป่น ชาวใต้รับประทานร่วมกับน้ำพริกและแกงรสจัด สำหรับภาคกลางไม่นิยมรับประทานยอดอ่อน แต่พบว่ามีการใช้มะตูมดิบมาปรุงเป็นยำมะตูม

ประโยชน์อื่น
ไม้มะตูมใช้ทำเกวียน ลูกหีบ หวี ยางในมะตูมใช้แทนกาวได้ และเปลือกผลทำเป็นสีย้อมผ้าให้สีเหลืองได้
ที่กล่าวมาแล้วก็เป็นเรื่องสารพัดประโยชน์ของมะตูม ร้อนนี้ก็อย่าลืมเรียกหามะตูมมาบริโภคอย่างน้อยต้มน้ำมะตูมดื่มแก้กระหายคลายร้อนก็ได้

รายการบล็อกของฉัน

chat love manman

chat love manman1

chat love manman 2

chat love manman 3

chat love manman 4

chat love manman 5

chat love manman6