ค้นหา

ค้นหา

บทความที่ได้รับความนิยม

Wikipedia

ผลการค้นหา

วันเสาร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2556

พญาไร้ใบ..

ชื่อ พญาไร้ใบ
ชื่อวิยาศาสตร์ Sarcostemma acidum 
Wight & Arn. 


ชื่อวงศ์ ASCLEPIADACEAE
ลักษณะไม้เถา ทอดนอนหรือเลื้อยบนต้นไม้อื่น มียางขาว ลำสีเขียวหรือสีเทา เป็นข้อ แต่ละข้อยาว 10-15 ซม. ใบ ออกตรงข้าม คล้ายเกล็ด ช่อดอก แบบซี่ร่ม จำนวน 2-10 ดอก ดอก เส้นผ่าศูนย์กลาง 6-8 มม. ก้านดอก เรียว ยาว 4-7 มม. กลีบเลี้ยง 5 กลีบ ปลายมน กลีบดอก สีขาว รูปไข่หรือรูปขอบขนาน ยาว 1.8-2 ซม. ผล สีเขียว เรียว มี 2 พู แต่ละพูยาว 7-14 ซม. เมื่อแก่จะแตกตามแนวยาว เมล็ด สีดำ แบน
การกระจายพันธุ์ อินเดีย เนปาล จีน พม่า ไทย และเวียดนาม
ออกดอกและติดผลช่วงเดือนมีนาคม-พฤศจิกายน
ชื่ออื่น เคียะจีน พญาร้อยใบ เคียะเทียน
ลักษณะดอกพญาไร้ใบ
ไม้ยืนต้น ขนาดเล็กสูง 4 - 7 เมตร ไม่มีหนาม มีน้ำยางสีขาวมาก อวบน้ำ แตกกิ่งก้านสาขามากกิ่ง รูปทรงกระบอก สีเขียว เกลี้ยง
-ใบเดี่ยว ออกเฉพาะที่ข้อส่วนปลายยอด ลดรูปเป็นแผ่นขนาดเล็ก ร่วงง่าย
-ดอกช่อ ออกเป็นกระจุกที่ปลายกิ่ง ใบประดับสีเหลืองอ่อน ดอกตัวผู้และตัวเมีย ไม่มีกลีบดอก อยู่ในช่อเดียวกัน
-ผล แห้ง แตกได้
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา 
ยาง - พญาไร้ใบจัดเป็นพืชมีพิษ เมื่อสัมผัสกับน้ำยางขาวจากต้นจะทำให้ผิวหนังอักเสบ บวมเป็นผื่นแดง หากเข้าตาอาจทำให้ตาบอด
-ใช้ยางขาวแต้มกัดหูด หัวริดสีดวงทวาร ในยางขาวมีสาร 4 deoxyphorbol และอนุพันธ์ ซึ่งมีฤทธิ์ระคายเคืองอย่างแรง และ เป็นสารร่วมก่อมะเร็ง จึงควรระวังในการใช้ ชื่อพญาไร้ใบอาจไปคล้องจองกับกล้วยไม้พันธ์หนึ่งที่มีดอกงดงามมากแต่ไม่มีใบเรียกพญาไร้ใบเหมือนกัน
เรียบเรียงข้อมูลเพิ่มเติมโดยmanman

รายการบล็อกของฉัน

chat love manman

chat love manman1

chat love manman 2

chat love manman 3

chat love manman 4

chat love manman 5

chat love manman6