ค้นหา

ค้นหา

บทความที่ได้รับความนิยม

Wikipedia

ผลการค้นหา

วันจันทร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2558

ต้นหมีเหม็น

หมีเหม็น
♡ต้นหมีเหม็น
มีชื่อพฤกษศาสตร์ว่า Litsea glutinosa C.B. Robinson ในวงศ์ Lauraceae บางถิ่นเรียก ดอกจุ๋ม(ลำปาง) ตังสีไพร(พิษณุโลก) ทังบวน(ปัตตานี) 
มะเย้อ ยุบเหยา(พายัพ) มัน(ตรัง) หมี(อุดรธานี) หมูทะลวง(จันทบุรี) หมูเหม็น(แพร่) อีเหม็น(กาญจนบุรี ราชบุรี) กำปรนบาย(ชอง-จันทบุรี) มือเบาะ
(มาเลย์-ยะลา)ต้นหมีเหม็น

♤ต้นหมีเหม็นเป็นไม้พุ่ม สูง ๒-๕ เมตร กิ่งก้านมีสีเทา
■ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับกัน มักออกเป็นกลุ่มหนาแน่นที่ปลายกิ่ง ใบรูปรีหรือรูปไข่กลับ หรือรู่ค่อนข้างกลม กว้าง ๔-๑๐ ซม. ยาว ๗-๒๐ ซม. ปลายใบเรียวแหลมหรือมน โคนใบสอบเป็นครีบหรือมน ขอบใบเรียบ หรือเป็นคลื่นเล็กน้อย ด้านบนเกลี้ยงเป็นมัน ด้านล่างมีขน ก้านใบยาว ๑-๒.๕ ซม. มีขน
■ดอกออกเป็นช่อตามซอกใบ ช่อดอกเป็นซี่ค้ำร่ม ก้านช่อยาว ๒-๖ ซม. มีขน มีใบประดับ ๔ ใบ มีขน ก้านดอกย่อยยาว ๕-๖ มม. มีขน 
■ดอกแยกเพศ ดอกตัวผู้มีช่อละ ๘-๑๐ ดอก กลีบลดรูปเหลือ ๑-๒ กลีบ หรือไม่เหลือเลย เกสรตัวผู้มี ๙-๒๐ อัน เรียงเป็นชั้นๆ ก้านเกสรมีขน ชั้นในมีต่อมกลมๆ ที่โคนก้าน มีเกสรตัวเมียที่เป็นหมันอยู่ตรงกลาง ดอกตัวเมีย กลีบลดรูปจนไม่มีหรือเหลือเพียงเล็กน้อย มีเกสรตัวผู้ที่เป็นหมัน รูปซ้อน เกสรตัวเมียไม่มีขน 
■ผลกลม เมื่ออ่อนมีสีเขียว เมื่อแก่เป็นสีดำ ผิวเป็นมัน ก้านผลมีขน

♢ตำราสรรพคุณยาโบราณว่าเปลือกหมีเหม็นมีรสฝาดเฝื่อน ต้มน้ำดื่มแก้บิด แก้ปวดมดลูก แก้เจ็บปวดตามกล้ามเนื้อ ฝนน้ำทาแก้ผื่นคัน แสบร้อน ถ่ายเส้นเอ็นให้เส้นเอ็นหย่อน และว่ารากหมีเหม็นเป็นยาฝาดสมานและยาบำรุง
ที่มา:จากตำราพระโอสถพระนารายณ์
โดย: ชยันต์ พิเชียรสุนทร, แม้นมาส ชวลิต และ วิเชียร จีรวงส์

รายการบล็อกของฉัน

chat love manman

chat love manman1

chat love manman 2

chat love manman 3

chat love manman 4

chat love manman 5

chat love manman6