ค้นหา

ค้นหา

บทความที่ได้รับความนิยม

Wikipedia

ผลการค้นหา

วันพุธที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2552

สมอพิเภก และ มะขามป้อม สมุนไพรพื้นบ้านที่ไม่ควรมองข้าม

มะขามป้อม
สมอพิเภก และ มะขามป้อม สองสมุนไพรพื้นบ้านที่ไม่ควรมองข้าม Posted by malee
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Terminalia belerica (Gaertn.) Roxb.
จัดอยู่ในวงศ์ COMBRETACEAE เป็นไม้ผลัดใบ มีตั้งแต่ขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่
ผลมีลักษณะเป็นรูปแบบผลมะละกอ ตรงกลางค่อนข้างจะป่อง มีขนาดกว้างประมาณ 1.5-2 ซ.ม. ยาว 2.5-3 ซ.ม. มีอยู่ 5 เหลี่ยม ผิวนอกเป็นขนสีน้ำตาลปกคลุมหนาทึบ
สมอพิเภก
ส่วนที่นิยมใช้เป็นยาคือผลแก่ มีรสเปรี้ยว ฝาดหวาน เป็นยาระบาย บำรุงธาตุ แก้เสมหะจุกคอ แก้โรคตา แก้ไข้ แก้ริดสีดวงทวาร มะขามป้อม
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Phyllanthus emblica Linn.
จัดอยู่ในวงศ์ EUPHORBIACEAE เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง
มีถิ่นกำเนิดแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และพบได้ในป่าเบญจพรรณแล้งหรือป่าแดง ผลมีลักษณะกลม มีรอยแยกแบ่งออกเป็น 6 กลีบ เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 ซ.ม. ผิวนอกขรุขระมีสีน้ำตาล ส่วนหัวมีรอยขั้วก้านผล เนื้อผลเหนียวแตกยาก เนื้อในมีสีเหลืองอ่อน มีเมล็ดสีน้ำตาลอยู่ภายใน ผลแห้งที่ดีควรมีขนาดใหญ่ อวบอิ่มและแห้งไม่มีก้านผลติดมา นิยมใช้ผลแก่ซึ่งมีรสเปรี้ยว ฝาดขม เป็นยาแก้ไอ แก้เสมหะ ทำให้ชุ่มคอ ปัจจุบันยังพบว่ามะขามป้อมมีวิตามินซีสูงมาก ช่วยป้องกันโรคมะเร็ง และแก้พิษสารตะกั่วได้ ตามตำรับยาแผนโบราณใช้เปลือกลำต้น โดยใช้เปลือกที่แห้งแล้วบดให้เป็นผงละเอียด โรยแก้บาดแผลเลือดออกและแผลฟกช้ำ ใบใช้ใบสดมาต้มกินแก้บวมน้ำ นำมาตำพอกหรือทาบริเวณแผล ผื่นคันมีน้ำหนองน้ำเหลือง และผิวหนังอักเสบ ผลใช้ผลสดเป็นยาบำรุงทำให้สดชื่น แก้กระหายน้ำ แก้ไอ แก้หวัด ช่วยระบายขับปัสสาวะ แก้เลือดออกตามไรฟันและคอแห้ง ผลแห้งตำให้เป็นผงชงกิน แก้โรคหนองใน แก้ตกเลือด ท้องเสีย โรคบิด แก้โรคดีซ่านและโรคโลหิตจาง รากต้มกินแก้ร้อนใน แก้โรคเรื้อน แก้ความดันโลหิตสูง และแก้ท้องเสียสำหรับสารสกัดจากสมอพิเภกและสารสกัดจากผลมะขามป้อมที่ใส่ลงในสูตรของยาตรีผลา ตามตำรับยาไทยโบราณเพื่อควบคุมผลข้างเคียงของกันและกัน
ตำรับสมุนไพรไทยอ้างว่า 
การรับประทานสารสกัดจากสมอไทย จะทำให้พิษต่างๆ รวมทั้งสารพิษตกค้าง ถูกกำจัดออกจากร่างกายโดยสิ้นเชิง และจะทำให้มีการถ่ายอุจจาระบ่อยครั้งขึ้นเพื่อเป็นการกวาดล้างทำความสะอาดระบบทางเดินอาหาร โดยเฉพาะลำไส้ใหญ่ให้สะอาดอยู่ตลอดเวลา โดยส่วนใหญ่ไม่นิยมใช้สมุนไพรตัวเดียวในการทำยาตำรับนี้ เนื่องจากต้องควบคุมพิษข้างเคียงของกันและกัน เช่น รสเปรี้ยว ซึ่งมีฤทธิ์ระบายของลูกสมอพิเภก อาจทำให้เกิดอาการมวนท้องจึงต้องใช้ลูกสมอไทยและลูกมะขามป้อมซึ่งมีรสฝาดและขม ช่วยแก้ลมจุกเสียดและลดอาการมวนท้อง เป็นต้น ในขณะเดียวกันก็ช่วยเสริมฤทธิ์ระบายโดยไม่เป็นอันตราย เพราะยาตำรับนี้เป็นยาที่ควบคุมการถ่ายและการหยุดถ่ายโดยอัตโนมัติ ป้องกันมิให้ร่างกายอ่อนเพลีย ใช้ได้ทุกเพศทุกวัยตั้งแต่เด็กเล็กจนถึงคนเฒ่าชรา

ปัจจุบันนี้ ตำรับยาตรีผลาเป็นที่นิยมอย่างมากในประเทศสหรัฐอเมริกา ในการรับประทานเพื่อล้างพิษและลดน้ำหนัก เพราะตัวยาจะช่วยควบคุมน้ำหนักได้ดี และช่วยระบายไขมันออกมาพร้อมการขับถ่ายเป็นปกติ แต่ถ้าท่านผู้อ่านท่านใดที่ไม่สะดวกในการบดตัวยานี้ หรือว่ามีสมุนไพรทั้ง 3 ชนิดนี้อยู่แล้วในบ้าน ก็สามารถนำมาทำเป็นน้ำสมุนไพรดื่มได้เช่นกัน ซึ่งทำได้ง่ายมาก โดยนำสมุนไพรทั้ง 3 ชนิดนี้ในอัตราส่วนเสมอ (1:1:1) ใส่น้ำพอประมาณ ถ้าอยากได้แบบเข้มข้นก็ใส่น้ำน้อย ใช้รับประทานก่อนอาหารเช้า-เย็น ครั้งละ 1 แก้ว แต่ถ้าอยากได้แบบเจือจาง ใช้ดื่มทั้งวันเป็นน้ำสมุนไพรก็ให้ใส่น้ำมากหน่อย หวังว่าท่านผู้อ่านทุกท่านคงจะลองทำดูนะคะ เพราะจะได้เป็นยาระบายอ่อนๆ จะทำให้รู้สึกสบายท้องมาก.

รายการบล็อกของฉัน

chat love manman

chat love manman1

chat love manman 2

chat love manman 3

chat love manman 4

chat love manman 5

chat love manman6