ค้นหา

ค้นหา

บทความที่ได้รับความนิยม

Wikipedia

ผลการค้นหา

วันจันทร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2558

ต้นหมอน้อย

■ต้นหมอน้อย
มีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Vernonia cinerea Less. ในวงศ์ Compositae บางถิ่นเรียก ก้านธูป(จันทบุรี) ถั่วแฮะดิน ฝรั่งโคก(เลย) เสือสามขา(ตราด) หญ้าดอกขาว หญ้าละออง(กรุงเทพฯ) หญ้าสามวัน(เชียงใหม่) มีชื่อสามัญว่า Ash-coloured Fleabane

☆ต้นหมอน้อย
ต้นหมอน้อยเป็นพืชขนาดเล็ก สูง ๘-๑๖๐ ซม. ลำต้นเป็นสัน มีขนนุ่ม มีต่อม
♤ใบเป็นใบเดี่ยว ใบใกล้โคนต้นมีโคนใบสอบแคบไปยังก้านใบ มีหลายรูป เช่น รูปไข่ รูปไข่กลับ รูปขอบขนาน หรือรูปใบหอก ส่วนใบที่อยู่บนๆ ก้านใบสั้นหรือไม่มี ใบรูปขอบขนาน รูปใบหอกหรือรูปขอบขนานแคบ ขนาดใบกว้าง ๐.๕-๓.๕ ซม. ยาว ๑-๘.๕ ซม. ขอบใบค่อนข้างเรียบ เนื้อใบนุ่ม อุ้มน้ำ มีขนนุ่มทั้งสองด้าน ด้านล่างมีต่อม
♤ดอกออกเป็นช่อดอกแบบกระจุก ยาว ๖-๗ มม. ก้านดอกยาว ๒-๑๔ มม. มีริ้วประดับยาว ๔-๕ มม. มี ๔ ชั้น ดอกย่อยมีกลีบดอกสีม่วง แต่อาจพบมีสีชมพู ยาว ๓.๕-๔ มม. โคนเชื่อมกัน ปลายแยกเป็น ๕ แฉก
♤ผลเป็นผลแห้ง ยาว ๑.๕-๒ มม. มีขนสีขาวหนาแน่น มีสัน ๔-๕ สัน มีรยางค์ ยาว ๔-๕ มม. เรียงเป็น ๒ ชั้น ชั้นนอกสั้นกว่าชั้นในเล็กน้อย
หมอน้อย
■ตำราสรรพคุณยาโบราณว่า ใบหมอน้อยมีรสเย็น ต้มน้ำดื่มแก้บิด แก้หืด แก้หลอดลมอักเสบ ตำพอกสมานแผล แก้กลากเกลื้อนเรื้อนกวาง แก้ปวดหัว ตำผสมน้ำนมคน เอาแต่น้ำหยอดตา แก้ตาแดง ตาแฉะ และว่าทั้งต้นมีรสเย็นขื่น ต้มน้ำดื่มเป็นยาลดไข้ แก้ไอ แก้ดีซ่าน แก้ตับอักเสบเฉียบพลัน แก้ริดสีดวงทวาร เป็นยาบำรุงกำลัง แก้ท้องร่วง น้ำคั้นจากทั้งต้น ดื่มเป็นยากระตุ้นให้เจ็บท้องคลอด ขับรก ขับระดู แก้ปวดท้อง แก้ท้องขึ้นอืดเฟ้อ ตำพอกแก้นมคัด นมหลง แก้บวม
ดูดฝีหนอง
ที่มา:จากตำราพระโอสถพระนารายณ์

รายการบล็อกของฉัน

chat love manman

chat love manman1

chat love manman 2

chat love manman 3

chat love manman 4

chat love manman 5

chat love manman6