ค้นหา

ค้นหา

บทความที่ได้รับความนิยม

Wikipedia

ผลการค้นหา

วันพุธที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

กระชายดำมหัศจรรย์เพิ่มพลังเพศ

กระชายดำมหัศจรรย์เพิ่มพลังเพศ
เมื่อประมาณสองปีที่แล้ว ลุงได้มีโอกาสไปพบกับหมอพื้นบ้านซึ่งอยู่ แถวนครปฐม ท่านหนึ่ง เราได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเรื่อง สมุนไพร ปัจจุบันอยู่หลายเรื่องโดยหมอท่านนั้นเล่าให้ฟังว่า การใช้สมุนไพรในบ้านเรานั้น แต่ละอย่างล้วนเป็นความฉลาดของบรรพบุรุษที่ เป็นคนช่างสังเกต ช่างทดลอง ฯลฯ อย่างเรื่อง กระชายดำที่เป็นที่นิยมกันอยู่นั้น หมอพื้นบ้านท่านนั้นเล่าให้ฟังว่า จริง ๆ แล้วนะ กระชายพื้นบ้านเรานี่แหล่ะที่มีประโยชน์มากกว่า ดูง่าย ๆ จากการที่เรานำกระชาย มาทำกับข้าวทาน

ไม่ว่าจะเป็นแกงเลียง หรือ นำมากินจิ้มน้ำพริก ทำไมไม่เอามากระชายดำมาทานล่ะ ทำไมต้องใช้กระชายขาว ลุงนั่งฟังตามแล้วก็มานั่งคิดดู เอมันก็จริงแฮ่ะ ทำไมบรรพบุรุษเราไม่เอา กระชายดำมาทำ แต่ก็นั้นแหล่ะ
ไม่ว่าจะเป็นแกงเลียง หรือ นำมากินจิ้มน้ำพริก ทำไมไม่เอามากระชายดำมาทานล่ะ ทำไมต้องใช้กระชายขาว ลุงนั่งฟังตามแล้วก็มานั่งคิดดู เอมันก็จริงแฮ่ะ ทำไมบรรพบุรุษเราไม่เอา กระชายดำมาทำ แต่ก็นั้นแหล่ะ เป็นแค่เพียงความคิดเห็นส่วนหนึ ่งเท่านั้น เพราะต้องคิดก่อนว่า แต่ละพื้นที่นั้น มีสมุนไพร ไม่เหมือนกัน บางพื้นที่เค้าไม่มีกระชายขาว อย่างที่จังหวัดเลย ชาวเขาเผ่าม้งยังบอกเลยว่า "สมัยก่อนรุ่นพ่อรุ่นแม่ อยู่ตามป่าตามเขา เวลาเจ็บป่วย คนเผ่าม้ง จะต้องพึ่งพาสมุนไพรเป็นหลัก โดยเฉพาะตระกูลกระชายทั้งหลาย" ไม่ว่าจะเป็นกระชายขาว กระชายดำ ขมิ้น ฯลฯ กระชายดำเป็นสมุนไพรที่ อยู่คู่กับชาวเขา เผ่าม้งมานาน แต่ละบ้านก็จะมีปลูกไว้สิบยี่สิบต้น เพื่อใช้รักษาอาการท้องเสีย ท้องเดิน บางทีก็นำกระชายดำมาตุ๋นกับไข่ไก่กิน ไว้รักษาโรคเบาหวาน เวลาปวดเมื่อยตามร่างกาย ก็นำกระชายดำ ไปดองกับเหล้านำมารับประทาน ก็ช่วยได้เช่นเดียวกัน"

คนไทยมีทรัพยากรอันมีค่า แต่จะจริงหรือเปล่าตามสรรพคุณที่กล่าวอ้างไว้ ลุงจะพาท่านผู้อ่าน (ท่านที่ยังไม่รู้ หรือรู้แล้ว แต่อยากจะทบทวน) ไปศึกษา กันว่าสมุนไพรตระกูลกระชายกัน โดยเฉพาะ กระชายดำ คืออะไร แล้วมีคนสมัยก่อนมีสูตรผสมอะไรบ้างที่ไว้ทานเพื่อบำรุงสุขภาพ และจริงหรือไม่
่ที่กินแล้วเตะปี๊บดัง..

กระชายดำเหลือง หรือกระชายแกง
คือ กระชายที่มีหัว ขายอยู่ตามท้องตลาดทั่วไป นิยมนำมาเป็นส่วนประกอบของเครื่องอาหารหลายชนิดเช่น แกงเผ็ด แกงส้ม น้ำยาขนมจีน ฯลฯ

ลักษณะ หัวป้อมเล็ก มีรากยื่นออกจากหัวเรียวยาว เหมือนนิ้วมือ แต่ยาวกว่า ลักษณะต้น เป็นพุ่มใหญ่สูง ประมาณ 70-90 ซม. ใบสีเขียวใหญ่เรียวยาวประมาณ 30 ซม.คล้ายต้นขมิ้น

มีสรรพคุณทางยาหลายอย่าง เช่น หัวสด แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ บำรุงสมองรักษาโรคบิด นำหัวไปต้มรับประทานแก้ท้องอืดได้ดี นอกจากนี้ยังเป็น ยาโป๊ว ได้ด้วย กระชายมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Boesenbergia

กระชายแดงหรือกระชายป่า
คือ กระชายต้นเล็ก มีสีแดงอมม่วงเข้ม มีหัวขนาดเล็ก ในอดีตนิยมปลูกไว้ตามสวนหลังบ ้านและหน้าบ้าน หัวนำมารับประทานได้ ใช้ประกอบอาหารได้หลายชนิด เหมือนกับกระชายแกงแต่รสหื่นกว่า สรรพคุณทางยามากมาย ในอดีต นำไปเป็นส่วนผสมของยาแผนโบราณหลายตำรับ รับประทานได้ทั้งหัวสด และปรุงอาหาร

กระชายดำ
มีลักษณะที่แตกต่างไปจากกระชายทั้งสองชนิด ในอดีตคนโบราณเชื่อว่าเป็นว่านคงกระพัน
ชาตรี และบำรุงกำลังทางเพศได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังมีสรรพคุณทางยาต่างๆ มากมาย นักเลงไก่ชนนิยมนำไปให้ไก่ชนกิน เพราะเชื่อว่าจะทำให้มีพละกำลังดี หนังเหนียว ทรหดอดทนแทงไม่เข้า เป็นต้น
ชื่อไทย กระชายดำ, ว่านกระชายดำ, กระชายม่วง, ว่านเพชรดำ
ชื่อสามัญ Belamcanda chimensis
ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Kaempferia parviflora
วงศ์ ZINGIBERACEAE

กระชายดำมีถิ่นกำเนิดในแถบเอเชียใต้ พบมากในเขตป่าและภูเขาของประเทศไทยและประเทศลาว ในส่วนของประเทศไทยปลูกกันมากในพื้นที่จังหวัดเลย พิษณุโลกและเพชรบูรณ์ บางกระแส ระบุว่ากระชายดำเป็นพืชประจำเผ่าม้ง กล่าวกันว่าเวลาเดินทางจะพกกระชายดำติดตัวป้องกันภูตผีปีศาจ

กระชายดำคืออะไร
กระชายดำเป็นพืชชนิดหนึ่งใช้หัวนำมาใช้ทำประโยชน์ทางยาและอาหาร จัดอยู่ในกลุ่มพืชล้มลุก อยู่ในวงศ์เดียวกับกระชายแกง และคล้ายกับข่า ขิง ขมิ้นแต่มีลักษณะเฉพาะประจำตัว จำแนกออกตามส่วนต่างๆ ดังนี้

ต้น กระชายดำเป็นพรรณไม้ล้มลุก ขนาดลำต้นสมบูรณ์เต็มที่สูงประมาณ 30 ซม. ส่วนของแกนกลางลำต้นจะมีลักษณะแข็ง มีกาบใบที่อาบหนา นุ่ม หุ้มแกนลำต้นไว้ ลำต้นโดยรวมจะอวบอุ้มน้ำเหมือนกับพืชล้มลุกทั่วไป

ใบ ใบของกระชายดำ เป็นใบเลี้ยงเดี่ยว ออกเรียงสลับซ้อนกันเป็นรูปกรวย และจะแยกออกจากกันเป็นอิสระเมื่อโตขึ้น สีของใบกระชายดำเมื่อเริ่มแตกใบอ่อนจะมีสีเข้มม่วงอมแดง และจะค่อยๆ สีจางไปเป็นสีเขียวเข้ม เส้นขอบใบจะมีสีแดงระเรื่อ หรืออมชมพูคล้ายรอยไหม้ กาบใบจะยาวเป็นร่อง แทงขึ้นมาจากหัวที่อยู่ในดิน ใบมีกลิ่นหอมเฉพาะขนาดของใบกว ้างประมาณ 7-20 ซม. ยาวประมาณ 30-40 ซม.ขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของ ธาตุอาหารในดิน หรือการดูแลรักษา

ดอก สีของดอกกระชายดำจะมีสีขาวอมชมพู หรือบางพื้นที่พบว่าสีดอกจะออกเข้มเป็นสีม่วงอมแดง ออกดอกเป็นช่อ โดยจะแทงช่อออกมาระหว่างก้านใบยาวประมาณ 4-5 ซม.ช่อละ 1 ดอก

ผล กระชายดำมีผลขนาดเล็ก มีเมล็ดค่อนข้างใหญ่ เมื่อเทียบกับผล เมื่อแก่จัดผลจะแตกออกเป็น 3 แฉก เมล็ดสามารถนำไปเพาะขยายพันธุ์ได้ แต่อัตราการงอกค่อนข้างต่ำเหง้าหรือหัว ลักษณะของหัวกระชายดำจะมีลักษณะเฉพาะ เป็นข้อๆ รวมกันประกอบเป็นหัว ลักษณะข้อจะเป็นรูปวงกลมและวงรี แต่ละข้อเล็กกว่าข้อของหัวข่า

การวัดคุณภาพของกระชายดำ วัดได้จากหัวที่มีข้อเป็นวงกลมใหญ่จำนวนมากรวมอยู่ในหัวหรือเหง้าเดียวกันจะมีเกรดดีกว่า หัวที่มีข้อเป็นวงรีเล็กยาวรวมกัน เนื้อในและสีของกระชายดำจะต้องเป็นสีม่วง ถึงม่วงเข้ม หรือสีดำ เนื้อค่อนข้างละเอียด เส้นใยน้อย มีกลิ่นเฉพาะตัว และหัวสดจะมียางสีขาวขุ่นด้วย

ราก กระชายดำมีรากช่วยหาอาหาร ลักษณะเล็ก เป็นเส้นยาวคดเคี้ยว ถ้าปลูกในพื้นที่อุดมสมบูรณ์เพียงพอ รากจะสร้างปมเป็นที่เก็บสะสมอาหารเพื่อนำไปเลี้ยงหัว ลักษณะปมจะเป็นรูปวงรีสีขาวนวล เนื้อในอวบน้ำ เนื้อในละเอียดเรียกส่วนนี้ว่า รากน้ำนม

การขยายพันธุ์กระชายดำ
การขายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด โดยนำเมล็ดที่แก่จัดจากผลกระชายดำมาเพาะกับแปลงเพาะ แต่ไม่ค่อยได้ผล อัตราการงอกต่ำ
การขยายพันธุ์ด้วยเหง้าหรือหัว เป็นวิธีที่ใช้กันมาก เพราะขึ้นง่ายได้ผลเร็ว
การขยายพันธุ์ด้วยการแยกหน่อ จะต้องใช้เทคโนโลยีค่อนข้างสูงและผู้ปฏิบัติการจะต้องมีความรู้เฉพาะทางในส่วนของกระชายดำ

FW From: http://variety.teenee.com/science/8798.html

รายการบล็อกของฉัน

chat love manman

chat love manman1

chat love manman 2

chat love manman 3

chat love manman 4

chat love manman 5

chat love manman6