ค้นหา

ค้นหา

บทความที่ได้รับความนิยม

Wikipedia

ผลการค้นหา

วันอาทิตย์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2552

หนอนตายอยาก ว่านยามากสรรพคุณ

หนอนตายอยาก รักษาโรคลำไส้
หนอนตายอยาก ว่านยามากสรรพคุณ
เรื่องหนอนตายอยากผมทราบสรรพคุณมานาน และเคยใช้ประกอบยาในผู้ป่วยโรคเอดส์และมะเร็งมาแล้ว ได้ผลเป็นที่น่าพึงพอใจอยู่เหมือนกัน เพราะหนอนตายอยากนี้ได้รับการวิจัยจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์มาแล้วว่ามีฤทธิ์ต้านเอดส์และมะเร็งได้ดี และการใช้สมุนไพรเดี่ยวนั้นเคยแนะนำผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่ต้นคอเอาไปต้มกินและตำพอก ได้ข่าวจากคนที่นำมาพบบอกว่าหายดีแล้ว
หนอนตายอยาก ว่านยามากสรรพคุณ


เมื่อต้นเดือน พฤษภาคม  ผู้เขียนท่องเที่ยวอยู่โคราช ได้ไปกราบหลวงปู่สุคนธ์ วัดป่าอิสสริการาม ขามทะเลสอ เมื่อสนทนากันเรื่องสมุนไพรซึ่งท่านสนใจเป็นพิเศษ ท่านบอกกับผู้เขียนว่ามีคนป่วยมะเร็งลำไส้อาการโคม่ารายหนึ่งเอาหนอนตายอยากมาต้มกินประจำก็หายจากมะเร็งลำไส้ แต่ถึงแม้ผู้เขียนจะรู้สรรพคุณมานานแล้วก็ไม่มีเวลาที่จะหาต้นยานี้อย่างจริงจังสักที ไปซื้อจากร้านขายสมุนไพรก็ได้สมุนไพรเป็นหัวแห้ง ๆ เต็มไปด้วยหินดินทราย จะนำมาล้างตากอีกทีก็ค่อนข้างยาก จึงทำให้การประกอบยาเป็นไปด้วยอุปสรรค เพราะสมุนไพรหลายตัวที่ซื้อมาล้วนมีปัญหาดินทรายปะปนมา การทำความสะอาดตอนแห้งไม่ง่ายเหมือนสมุนไพรสด ยาบางขนานจึงขาดตลาดไปนาน ไม่กล้าที่จะทำขึ้นมาอีก จนไปอยู่เชียงรายจึงพบดงหนอนตายอยากทั้งชนิดหัวและชนิดที่เรียกว่าขอบชะนางแดงและขาวซึ่งเขาก็เรียกหนอนตายอยากเหมือนกัน

มีสรรพคุณเป็นยารสเบื่อเมา แก้น้ำเลือดน้ำเหลืองและฆ่าเชื้อเช่นเดียวกัน ไปพบคนรู้จักกัน เขาว่าหมอพื้นบ้านที่เพชรบูรณ์คนหนึ่งใช้หนอนตายอยาก(ขอบชะนาง)ผสมยารักษาโรคเอดส์และมะเร็ง รักษาหายมาก และเขาพยายามปกปิดเป็นความลับอย่างที่สุด พี่คนนี้ไปหามาปลูกไว้ หมอมาพบเข้าบอกว่าปลูกไว้ในบ้านเป็นเสนียดจัญไรไม่ดีเลย ให้ถอนทิ้งเสีย คนไม่รู้นี่ พอฟังดังนั้นก็กลัวตามหมอว่าจึงถอนทิ้งเสียหมด แถมไปเห็นคนอื่นปลูกไว้ก็ไปบอกคนอื่นถอนทิ้งอีกเหมือนกัน กว่าจะรู้ว่าถูกหมอหลอกเพราะกลัวเอาไปทำยาแข่งก็ผ่านมานาน และมาบ่นเสียใจอยู่ นี่เป็นเรื่องของมงคลตื่นข่าว เขาว่าอย่างไรก็ว่าตามกันไปโดยลืมนึกถึงเหตุผลที่แท้จริง

เมื่อสงกรานต์ ไปท่องแดนธรรมที่อีสานก็ไปแวะดูตลาดสมุนไพรลาวที่ท่าอุเทน นครพนม ก็พบเห็นสมุนไพรหลากหลายชนิด ราคาก็ไม่แพง จึงได้แหล่งสมุนไพรแห่งใหม่ ต่อไปคิดจะหาสมุนไพรสดทำยาก็หาได้ที่นี่ ท่านผู้อ่านไปเที่ยวแถวนครพนมก็ลองแวะไปดูทุกวันจันทร์และพฤหัส ตั้งแต่เช้ายันเที่ยง มีของทั้งฝั่งลาวและไทยขายกันเยอะ ใครรู้จักสมุนไพร หรือแสวงหาสมุนไพรแปลก ๆ ที่นั่นน่าจะพอหาได้ หรือสั่งให้เขาหาให้ได้ เพราะราคาย่อมเยาจริง ๆ ไปพบคนไทยคนหนึ่งแถวศรีสงคราม แกพูดถึงเปลือกไม้หายากชนิดหนึ่งว่านำมารักษาโรคมะเร็งหายทุกคนในเวลาไม่เกิน 2 เดือน แม้อาการจะหนักอย่างไรก็ตาม

เมื่อไต่ถามลักษณะเขาก็บอกให้ทราบ แต่บอกว่าหายากมาก ต้องไปหาในป่าลึกแถวเพชรบูรณ์ ถามราคาเขาบอกว่าเขาตั้งราคาไว้กิโลละ 1 ล้านบาท ผมฟังแทบช็อก เขาบอกว่ามีคนเคยมาขอซื้อกิโลละ 3 แสน ผมก็มานึกว่าทำไมคนเราบางคนนี่มันแสนจะเว่อร์สุดกู่ ต่อมาผมท่องไปท่องมาไปพบเขาขายเปือกไม้ชนิดนี้ราคามัดละไม่กี่บาทเอง ก็ยังไม่ทราบจะมีสรรพคุณอย่างเขาว่าจริงหรือไม่ ถ้าใช้ได้จริงก็จะมีส่วนช่วยผู้ป่วยโรคมะเร็งได้อีก หาไปเรื่อยแหละครับจนกว่าจะได้ของดีมาช่วยผู้คน

เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ไปเที่ยวงานแพทย์แผนไทยที่กระทรวงสารธารณสุข เห็นเขาเอาหนอนตายอยากมาวางขายกันเยอะ ทั้งชนิดหัวเล็ก ที่ภาษาสมุนไพรเรียกว่า "กะเพียดหนู" และชนิดหัวใหญ่ ภาษาสมุนไพรเรียก "กะเพียดช้าง"ถามราคาหัวดิบ ขายกันที่กิโลกรัมละ 70-80 บาท ก็ไม่ถือว่าแพง เพราะเป็นของมีคุณภาพสูงและหายาก มันมีในป่าบางพื้นที่เท่านั้น ผู้เขียนเที่ยวป่าไหนก็สอดตาหาดูต้นไม้ทุกประเภทเผ่าพันธุ์ ไม่ค่อยพบหนอนตายอยากหรอกครับ หายากยิ่งกว่ากวาวเครือขาวเสียอีก อย่างที่ตลาดท่าอุเทนก็ไม่มี ยิ่งกวาวเครือขาวทางโน้นหายาก คนฝั่งลาวไปเอาหัวว่านกิมเจ็งมาวางขาย บอกว่าหัวกวาวเครือขาว ถามราคาดูเขาว่ากิโลกรัมละ 30 บาท (หัวดิบ) คนไม่รู้เอาไปทำยากินก็จะไม่พบสรรพคุณของกวาวเครือขาวเลย เรื่องของคนขายสมุนไพรนี่ก็เชื่อไม่ค่อยได้หรอกครับ เราต้องรู้จักสมุนไพรจริง ๆ จึงจะได้ของจริงของแท้ ไปซื้อตามคนขายบอกไม่ได้หรอก เพราะทำตาม ๆ กัน ถ้าผิดก็ผิดตาม ๆ กัน เพราะชาวบ้านเขาไม่รู้จริงนั่นเอง อย่างเช่นว่านขันหมาก เคยได้ข่าวว่าคนขายสมุนไพรที่เชียงใหม่นำไปขายกรุงเทพ ฯ ต้นละ 20 บาท จึงตามไปดูที่เชียงใหม่ ไปถามแกว่าต้นไหนคือว่านขันหมากที่คุณส่งไปขายกรุงเทพ ฯ เขาก็พาไปชี้ดูว่านค้างคาว หรืออีกชื่อเรียกว่า “เนระพูสีไทย” เห็นไหมครับ ไม่ใช่ว่าคนขายสมุนไพรจะรู้ต้นไม้ทุกต้น บางครั้งเขาก็ทำไปตามกระแส ผมเขียนเรื่องกวาวเครือ พอกวาวเครือดังคนก็พากันขายกวาวเครือ ตอนนี้มาเขียนเรื่องว่านขันหมาก คนก็พากันหาว่านขันหมากมาขาย แต่จะเป็นขันหมากจริงหรือไม่เป็นอีกเรื่องหนึ่ง แม้ตัวผมเองก็ใช่ว่าจะรู้ทุกอย่าง พวกว่านตระกูลเง่าเช่น ว่านนางคำ ว่านเอ็นเหลือง ว่านมหาเมฆ และอีกมากมายก่ายกอง ผมไม่มีความชำนาญเช่นพวกขายต้นว่าน ใบและต้นมันคล้ายกัน หัวก็คล้ายกัน เขาแยกออก แต่ผมแยกไม่ออก ก็ต้องไปซื้อของเขามาปลูกแล้วศึกษา แล้วปักป้ายแยกไว้เป็นชนิด ๆ ตอนนี้ปลูกไว้หลายชนิด ค่อย ๆ ซื้อที่ดินเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จะสร้างสวนสมุนไพรในฝันเอาไว้ให้คนได้ศึกษาเรียนรู้กัน อีกหน่อยคนแพร่ต้องมาเรียนรู้สมุนไพรที่สวนสมุนไพรหมอเมือง

ทีนี้มากล่าวถึงหนอนตายอยากทางวิชาการกันเสียที ในหนังสือไม้เทศเมืองไทยของหมอเสงี่ยม พงษ์บุญรอด ว่ากะเพียด หรือหนอนตายอยาก Stemona Callinsae

เป็นไม้เลื้อยตามพื้นดิน หรือพาดพันตามต้นไม้อื่น ใบโต ปลายใบเรียวแหลมคล้ายใบพลู เส้นลายในใบถี่ละเอียด ต้นเป็นเถาคล้ายพลูมาก มีฝักเล็ก ปลายฝักแหลม กว้างราว 1 ซม. มีดอกเล็ก ๆ เป็นกลีบ ๆ คล้ายดอกจำปา ดอกสีแดงชนิดหนึ่ง สีขาวชนิดหนึ่ง เป็นไม้ล้มลุก เจริญในฤดูฝน สิ้นฤดูฝนก็เหี่ยวแห้งไป ถึงฤดูฝนก็งอกงามขึ้นมาอีก (เพราะมีหัวอยู่ใต้ดิน) ชอบขึ้นตามป่าบนเชิงเขา มีมากบนเขาเขียว จังหวัดชลบุรี(สมัยก่อน) และในภาคตะวันออกทั้งหมด ภาคเหนือและภาคกลางก็พอหาได้

ประโยชน์ทางยา รากกะเพียดหรือหนอนตายอยากนี้มีอัลกาลอยด์ชื่อ Stemonine ใช้รากทุบให้ละเอียดผสมน้ำฟอกล้างผมฆ่าทำลายเหาหิด โขลกพอกปิดปากแผลสัตว์เลี้ยงที่เลียไม่ถึงฆ่าหนอนในแผลให้ตายสิ้น ใช้ผสมน้ำฉีดทำลายหนอนที่มารบกวนพืชให้ตายสิ้นเช่นเดียวกับรากโล่ติ้นของจีน

แพทย์พื้นบ้านต้มรากรับประทาน และต้มกับยารมหัวริดสีดวงทวาร ทำให้หัวริดสีดวงแห้งฝ่อหายได้ ทุบรากสดใส่ไหปลาร้าทำให้หนอนตายสิ้น ชื่อที่เรียกกัน หนอนตายอยาก กะเพียดหนู โป่งมดง่าม และอีกชนิดหนึ่งคือ กะเพียดช้าง มีลักษณะเหมือนกะเพียดหนูทุกอย่าง ที่ผิดกันคือใบใหญ่และเส้นใบหยาบกว่า เถาโตกว่า หัว ดอก ฝัก ใหญ่ยาวกว่าทุกส่วน ชนิดนี้มีมากทางสระบุรี ภาคตะวันออกมีบ้างประปราย ทางลพบุรีและสระบุรีเอามาขายในงานพระพุทธบาทกับพวกว่านต่าง ๆ รากใช้แช่น้ำปูนขาวหรือขยำน้ำเกลือแล้วเชื่อมเป็นแช่อิ่มรับประทานได้ นอกจากนั้นใช้ในการบำบัดโรคผิวหนังและริดสีดวงเช่นเดียวกับกะเพียดหนู ชื่อที่เรียกกัน หนอนตายอยากใหญ่ กะเพียดช้าง”

ตามประสบการณ์ของผู้เขียนพบว่ากะเพียดเล็กมี 2 ชนิดคือชนิดรากสั้นอวบ และรากเล็กยาว ส่วนใบและเถาเหมือนกัน สรรพคุณก็คงเหมือนกัน ในป่าบางพื้นที่พบชนิดรากเล็กยาวแห้ง คล้ายรากมะพร้าวซอนไซไปไกลพอสมควร ดูแล้วแห้งจนไม่น่าเอามาทำยา คือไม่สวยเอาเสียเลย ดูท่าจะล้างทำความสะอาดลำบาก ชนิดสั้นอวบนั้นน่าขุดน่าปลูกเหมือนกะเพียดช้าง แต่ข้อแตกต่างระหว่างกะเพียดหนูและช้างนั้น กะเพียดช้างได้ผลผลิตมากกว่า น่าปลูกเป็นไม้ประดับด้วย เพราะให้เถาและใบที่สวยงามมีเสน่ห์น่าชมไม่น้อยทีเดียว ถ้าปลูกลงกระถางต้องใช้กระถางใบโตจึงให้หัวที่สวยงาม ชนิดเล็กหาได้ง่ายกว่าชนิดใหญ่ เดี๋ยวนี้หมอเมืองพบแหล่งหัวหนอนตายอยากเป็นดงขนาดใหญ่ในเมืองแพร่ ปลูกไว้ก็มี นำมาหั่นตากแห้งบดผงบรรจุแคปซูลก็มี เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ป่วยนั่นแหละครับ ส่วนสรรพคุณที่ทดลองได้ผลดีคือ รักษามะเร็งลำไส้ แผลเรื้อรังในลำไส้ ริดสีดวงทวาร พอกรักษามะเร็งต่อมน้ำเหลือง

การใช้รักษามะเร็งและเอดส์นั้นใช้เป็นสมุนไพรเดี่ยวค่อนข้างจะสะดวก เพราะเขามีฤทธิ์เดชในตัวเอง คนเคยใช้ได้ผลก็มีหลายคน จึงไม่จำเป็นต้องเข้าประกอบกับสมุนไพรอื่นอีก วิธีใช้กิน 3 เวลา ก่อนอาหาร ครั้งละ 3 แคปซูลก็เพียงพอแล้ว ใครสนใจอยากได้ก็ติดต่อได้ครับ

นักวิจัยบีอาร์ทีพบพืชสกุล “ปาหนัน” ชนิดใหม่ของโลก

นักวิจัยบีอาร์ทีพบพืชสกุล “ปาหนัน” ชนิดใหม่ของโลก 3 ชนิด จากที่สำรวจพบในประเทศไทย 20 ชนิด เผยบางชนิดมีฤทธิ์ทางยา เช่น เป็นยาลดไข้ ใช้กันอย่างแพร่หลายในชนพื้นเมืองคาบสมุทรมลายู ล่าสุดมีรายงานพบสารต้านเนื้องอกและเซลล์มะเร็ง ระบุปาหนันชนิดที่พบสารดังกล่าวเป็นชนิดที่พบในเมืองไทย
นักวิจัย BRT พบ “ปาหนัน” ชนิดใหม่ของโลก คุณค่าที่เหนือกว่าไม้ประดับ
ดร. ยุธยา อยู่เย็น คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ร่วมกับ รศ. ดร.วิไลวรรณ อนุสารสุนทร ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ ดร. ปิยะ เฉลิมกลิ่น ฝ่ายเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ศึกษาความหลากหลายของพืชสกุลปาหนัน ซึ่งเป็นพืชในวงศ์เดียวกับกระดังงา ซึ่งเป็นที่รู้จักแพร่หลายของคนไทยในฐานะไม้ดอกโบราณที่มีกลิ่นหอมเย็น ภายใต้การสนับสนุนของ “โครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก” และ “โครงการพัฒนาองค์ความรู้และศึกษานโยบายการจัดการทรัพยากรชีวภาพในประเทศไทย (โครงการBRT)” โดยจากการสำรวจพืชสกุลดังกล่าว พบว่าในประเทศไทยพบประมาณ 20 ชนิด จากประมาณ 120 ชนิดทั่วโลก

“พืชสกุลปาหนันมีศูนย์กลางการกระจายพันธุ์ในแถบภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งแต่ประเทศไทยลงไปถึงคาบสมุทรมลายู โดยเกาะบอร์เนียวมีความหลากหลายมากที่สุด ประมาณ 30 ชนิด บริเวณคาบสมุทรมาลายูจำนวน 21 ชนิด และเกาะสุมาตราจำนวน 15 ชนิด ในประเทศไทยพบในทุกภาคแต่มีความหลากหลายมากในทางภาคใต้ตอนล่าง โดยทั่วไปมักพบขึ้นอยู่ตามบริเวณพื้นล่างของป่าดิบชื้น หรือป่าดิบเขา ซึ่งจากจำนวนชนิดที่พบ 20 ชนิดถือได้ว่าประเทศไทยมีความหลายหลายของพืชในสกุลปาหนันค่อนข้างสูงเช่นเดียวกัน” ดร.ยุธยา กล่าว
ลักษณะโดยทั่วไปของพืชสกุลปาหนันเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กหรือไม้พุ่ม ออกดอกเป็นกระจุกตามลำต้น กิ่งหรือซอกใบ มีทั้งดอกขนาดเล็กเพียง 1 เซนติเมตร เช่น ดอกปาหนันจิ๋ว จนถึงดอกขนาดใหญ่ 6-12 เซนติเมตร เช่น ปาหนันช้าง ดอกมีสีเขียว ครีม เหลือง ชมพู หรือ ส้ม แล้วแต่ชนิด โดยมากมีกลิ่นหอมอ่อนๆ บางชนิดออกดอกตลอดทั้งปี แต่ส่วนมากออกดอกในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม
จากผลการสำรวจพบพืชสกุลปาหนันชนิดใหม่ของโลก 3 ชนิด ได้แก่ Goniothalamus aurantiacus, Goniothalamus maewongensis และ Goniothalamus rongklanus ซึ่งรายงานโดยดร. Richard M. K. Suanders และ ดร. ปิยะ เฉลิมกลิ่น และได้ตีพิมพ์แล้วในวารสาร Botanical Journal of the Linnean Society นอกจากนี้ยังได้ค้นพบพืชสกุลปาหนันชนิดที่ยังไม่เคยมีรายงานว่าเคยพบในประเทศไทย 5 ชนิด คือ
 ปาหนันจิ๋ว (G. elegans) ปาหนันยักษ์ (G. cheliensis) แสดสยาม (G. repevensis) บุหงาหยิก (G. sawtehii) และ ปาหนันผอม (G. umbrosus)

ในแง่ของการใช้ประโยชน์ ดร.ยุธยา กล่าวว่า ชาวพื้นเมืองในท้องที่ต่างๆ แถบคาบสมุทรมลายูมีภูมิปัญญาพื้นบ้านในการนำปาหนันมาใช้เป็นยารักษาโรคในกลุ่มของคนพื้นเมืองในท้องที่ต่างๆ เช่น เป็นยาสำหรับผู้หญิงคลอดบุตร โดยใช้ต้นกิ่งเดียวดอกเดียว ปาหนันผอม และ บุหงาลำเจียก นอกจากนี้ชาวชวายังมีการนำเอารากต้นกิ่งเดียวดอกเดียวมาใช้ในการเป็นยาลดไข้ได้อีกด้วย สำหรับชาวไทยนั้นยังไม่ค่อยมีการใช้ประโยชน์ในด้านอื่นๆ นอกจากเป็นไม้ดอกไม้ประดับ เนื่องจากเป็นพรรณไม้ที่มีกลิ่นหอมเย็น ดอกดก มีสีสันสวยงาม ลำต้นมีขนาดไม่ใหญ่จนเกินไป และมีใบเขียวตลอดทั้งปี เหมาะสำหรับผู้ที่ชื่นชอบสวนแบบไทยๆ ที่มีความร่มเย็นของพรรณไม้ รวมทั้งกลิ่นหอมของดอกในยามค่ำคืน

ตัวอย่างของชนิดที่เหมาะสมนำมาใช้เป็นไม้ประดับได้แก่ สบันงาป่า ข้าวหลามดง แสดสยาม บุหงาหยิก บุหงาลำเจียก ปาหนันมรกต ปาหนันผอม และส่าเหล้าต้น เป็นต้น
นอกจากจะมีประโยชน์ในการนำมาใช้รักษาโรคตามภูมิปัญญาพื้นบ้านแล้ว ปัจจุบันยังมีรายงานการศึกษาในต่างประเทศพบสารออกฤทธิ์ต้านเนื้องอกและเซลล์มะเร็งจากพืชสกุลปาหนันอีกด้วย โดยพืชในสกุลปาหนันที่เคยมีรายงานการศึกษาสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพแล้วได้แก่ ปาหนันช้าง (G. giganteus), ปาหนันผอม (G. umbrosus), ปาหนันพรุ (G. malayanus), ปาหนันยักษ์ (G. cheliensis), ปาหนันจิ๋ว (G. elegans) และสบันงาป่า (G. griffithii) ทุกชนิดเป็นชนิดที่พบในเมืองไทย ซึ่งในขณะนี้ ดร.ยุธยา ได้ทำการศึกษาการออกฤทธิ์ในปาหนันหลายชนิด และพบว่าปาหนันบางชนิดมีฤทธิ์ต้านมะเร็งดีมาก ซึ่งจะทำการศึกษาในระดับลึกต่อไป
จึงนับได้ว่านอกจากจะมีศักยภาพในด้านการนำมาใช้เป็นไม้ประดับเพื่อความสวยงามแล้ว พืชสกุลปาหนันยังมีศักยภาพในด้านการนำมาใช้รักษาโรคมะเร็งที่ยังรอการค้นคว้าต่อไป พืชสกุลปาหนันจึงเป็นพืชกลุ่มใหม่ที่ควรได้รับความสนใจในการนำมาพัฒนาเชิงเศรษฐกิจของประเทศไทยในอนาคตเป็นอย่างยิ่ง

สมุนไพรจีนยาวิเศษ

สมุนไพรจีน

สมุนไพรจีน ยาวิเศษที่ใครไม่เคยรู้

หนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ - เปิด 14 สมุนไพรจีน “ขจัดพิษ”รักษาโรคร้อนในยันมะเร็ง “ดอกเก็กฮวย-หล่อฮั้งก้วย-ซัวเซียม-เหง็กเต็ก-ชะเอม”ยอดฮิตกินดับร้อนใน ‘กาฝากต้นหม่อน’ เพิ่มปริมาณเม็ดเลือดขาว ขณะที่ ‘แปะฮวยจั่วจิเช่า- พั้วกีไน้-โสม-เห็ดหลินจือ-เห็ดหอม’ป้องกันมะเร็ง เตือน “สมุนไพรจีน”ต้องกินตามหมอจีนสั่ง หรือร้านขายยาสมุนไพรจีนโบราณแนะนำ
กระแสการรักสุขภาพมาแรงมากในช่วงนี้ด้วย โดยเฉพาะชาวจีนให้การยอมรับเรื่องการบริโภค “สมุนไพรจีน”เพื่อขจัดพิษ หรือล้างพิษที่เกิดขึ้นในร่างกาย วันนี้โรงพยาบาลหลายแห่งในประเทศไทยได้เปิดแผนกแพทย์แผนจีน ซึ่งมีการจ่ายยาสมุนไพรจีนในการรักษาโรค รวมไปถึงมีร้านขายยาสมุนไพรจีนอยู่จำนวนมาก แต่การจะบริโภคสมุนไพรจีนได้อย่างเหมาะสมและถูกต้องนั้นควรอย่างยิ่งต้องรู้จักสมุนไพรจีนตัวใดมีสรรพคุณอย่างไรด้วย

เปิด 13 สมุนไพรจีนฮิตรักษาโรค
วิสุทธิ์ บริณายตานนท์ เถ้าแก่รุ่น 2 ร้านโอสถ ย่ง ซิว ตึ๊ง ไท้เชียง ร้านขายยาจีนโบราณย่านเยาวราช ที่เปิดขายมาประมาณ 80 ปี เปิดเผยว่า สมุนไพรที่มีฤทธิ์เป็นยาของจีนนั้นมีจำนวนมากมาย ตั้งแต่สมุนไพรจีนที่นิยมใช้มาประกอบอาหารไปจนสมุนไพรจีนหายากที่มีฤทธิ์เป็นยา ซึ่งในการนำสมุนไพรจีนมาใช้นั้น จำเป็นจะต้องได้รับคำแนะนำจากแพทย์แผนจีน หรือร้านขายยาสมุนไพรจีนที่มีความชำนาญ เพราะสมุนไพรจีนเพื่อรักษาโรค มักจะต้องใช้ส่วนผสมเป็นสมุนไพรหลายตัว จำนวนมากน้อยก็ขึ้นอยู่กับน้ำหนักตัวของแต่ละคนด้วย

สำหรับสมุนไพรจีนขจัดพิษหรือล้างพิษของจีนนั้น ก็มีสรรพคุณรักษาตั้งแต่พิษน้อยๆ อย่างพิษร้อน พิษเย็น ไปจนถึงสมุนไพรที่ช่วยป้องกันมะเร็ง รักษาโรคความดันโลหิต หัวใจ เบาหวาน ฯลฯ
สำหรับพิษร้อนเช่น ร้อนใน เป็นไข้ ไอ มีเสมหะ มีสมุนไพรที่รู้จักกันดีหลายตัว ที่นิยมใช้กันได้แก่ ดอกเก็กฮวย,หล่อฮั้งก้วย,ซัวเซียม,เหง็กเต็ก และชะเอม(กำเช่า)

‘ดอกเก็กฮวย’นั้น ทั้งคนจีนและคนไทยเชื้อสายจีนมักนิยมนำมาทำชา มีสรรพคุณเป็นยาช่วยขับลม รักษาอาการปากแห้ง ร้อนใน นัยน์ตาแห้ง ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อโรคหลายชนิดรวมทั้ง สามารถปรับสมดุลและลดความดันโลหิตในร่างกาย

‘หล่อฮั้งก้วย’ มีลักษณะเป็นลูกกลม ชนิดผลใหญ่ ผลกลม เนื้อแน่น เขย่าไม่มีเสียง เปลือกสีเหลืองปนน้ำตาล จะถือว่ามีคุณภาพดี มีรสหวานเป็นพิเศษ มีฤทธิ์เย็น สรรพคุณทางยาแก้ร้อนใน กระหายน้ำ ขับเสมหะ อีกทั้งยังรักษาโรคไอกรน ท้องผูก โรคหลอดลมอักเสบ หืด หอบ ได้อีกด้วย

‘ซัวเซียม’ หรือ ปักซัวเซียม มีรสหวานอมขมเล็กน้อย มีฤทธิ์เย็นเล็กน้อย สรรพคุณรักษาอาการไอ ไอเป็นเลือด เจ็บคอ กระหายน้ำ บำรุงกระเพาะอาหาร (ห้ามผู้มีอาการไอเพราะความเย็นรับประทาน)

‘เหง็กเต็ก’ หรือไผ่หยก มีลักษณะเป็นไม้ล้มลุก มีใบคล้ายใบไผ่ ปลูกมากที่เหอหนาน เจียงซู เหลียวหนิง และซินซาว มณฑลเจ้อเจียงที่ถือว่ามีคุณภาพดีที่สุด สรรพคุณลดความดันโลหิต กระตุ้นหัวใจ ดับร้อนใน และขับปัสสาวะ

‘ชะเอม’ หรือ กำเช่า ใช้ส่วนราก มีรสหวานมีฤทธิ์ปานกลาง สรรพคุณ แก้ร้อนใน แก้โรคกระเพาะอาหาร แก้ไอ รักษาใจสั่น โรคลมชัก แก้อาหารเป็นพิษ มีสาร Glycyrrhizin สามารถดูดซับสารพิษ และจับสารพิษเพื่อขับออกทางตับ อีกทั้งสามารถถอนพิษจากยาฆ่าแมลงได้ด้วย

‘สมุนไพรร้อน’ขจัดเย็น
ขณะที่ร่างกายหากมีความเย็นมากเกินไป (หยาง) ก็สามารถใช้ยาสมุนไพรที่มีฤทธิ์ร้อนขจัดได้ ที่นิยมและมีชื่อเสียงมากได้แก่ ตังกุย และโสมเกาหลี

‘ตังกุย’ มีรสหวานเผ็ด มีฤทธิ์ร้อนเล็กน้อย มักใช้เป็นยาบำรุงเลือด ปรับการไหลเวียนของเลือดให้เป็นปกติ แก้อาการปวดประจำเดือน ประจำเดือนมามาก อาการท้องผูก อีกทั้งมีฤทธิ์กระตุ้นและระงับการทำงานของมดลูกด้วย

‘โสมเกาหลี’ มีชื่อเสียงมากในหมู่คนนิยมรับประทานโสม และในหมู่การแพทย์แผนจีนโดยเฉพาะโสมแดง สรรพคุณเป็นยาบำรุงกำลัง บำรุงเลือด เสริมสมรรถภาพทางเพศ ลดน้ำตาลในเลือด รักษาความดันโลหิตสูง เส้นเลือดหัวใจตีบ ตัน (หากมีไข้และท้องผูกไม่ควรรับประทาน)

‘กาฝากต้นหม่อน’ เพิ่มเม็ดเลือดขาว
สำหรับโรคต่างๆ นั้น หากเป็นโรคความดันจากไขมัน สมุนไพรที่รักษาได้ดีคือ ‘ซัวจา’ เป็นผลไม้ชนิดหนึ่งกินได้ทั้งสดและแห้ง มีรสเปรี้ยวหวาน ฤทธิ์อ่อน มีฤทธิ์ช่วยย่อยอาหาร ขับพยาธิ ท้องร่วง กระตุ้นให้มดลูกเข้าอู่หลังคลอดบุตร ลดความดันโลหิต และลดคลอเรสเตอรอลในเลือด

นอกจากนี้ยังมี ‘กาฝากต้นหม่อน’ หรือ เช่าเก็ง เป็นยาบำรุงเลือด รักษาโรคหัวใจ ความดัน ไขข้อรูมาติค ที่มีคุณภาพดีมาจากมณฑลกวางสี มีรสขมหวาน ฤทธิ์ปานกลาง เป็นยาบำรุงไต มีฤทธิขับปัสสาวะ ต้านแบคทีเรีย และสามารถเพิ่มจำนวนเม็ดเลือดขาวซึ่งมีหน้าที่ขจัดสารพิษออกจากร่างกายได้ด้วย

5 สมุนไพรจีนป้องกันมะเร็ง
ส่วนสมุนไพรจีนใช้รักษาโรคมะเร็งเด่นๆ คือ แปะฮวยจั่วจิเช่า หรือ หมากดิบน้ำค้าง พั้วกีไน้ โสม และเห็ดหอม

‘แปะฮวยจั่วจิเช่า’ เป็นพืชจำพวกหญ้า มีรสเผ็ดขมนิดๆ ฤทธิ์เย็นไม่มีพิษ สรรพคุณดับร้อนใน ดับพิษ ทำให้เลือดและลำไส้เย็น ลำไส้อักเสป ไทฟอยด์ ไอเพราะปอดร้อน ปวดฟัน และป้องกันมะเร็งได้ (ผู้ที่ธาตุไฟอ่อนห้ามรับประทาน)

‘พั๊วกีไน้’ เป็นยาขับถ่าย ถอนพิษ แก้มะเร็ง โดยคนเป็นมะเร็งสามารถนำมาต้มกินแทนน้ำ กระหายน้ำได้

‘โสม’ มีอีกสรรพคุณคือมีสารบางอย่างที่สามารถกำจัดและทำลายพืช รวมไปถึงสิ่งแปลกปลอมที่จะทำให้เซลล์เจริญเติบโตผิดปกติได้ มีฤทธิ์ป้องกันโรคมะเร็ง และยืดอายุผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย ส่วนมากมักนำโสมมาใช้ในผู้ป่วยที่เข้ารักษาด้วยวิธีการเคมีบำบัด อีกทั้งเป็นยาอายุวัฒนะอีกด้วย (ควรรับประทานขณะท้องว่าง)

‘เห็ดหลินจือ’ หรือ เหล่งจูโกว มีรสหวาน ฤทธิ์ปานกลาง บำรุงแก้อาการอ่อนเพลีย ขับเสมหะ หอบหืด นอนไม่หลับ รักษาโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง ป้องกันโรคตับอักเสบจากการขับสารพิษออกจากร่างกาย และป้องกันมะเร็ง

‘เห็ดหอม’ มีงานวิจัยจากมหาวิทยาลัยแพทย์แห่งรัฐเซาท์แคโรไรนา ประเทศสหรัฐอเมริกาและสถาบันมะเร็งแห่งชาติประเทศญี่ปุ่น รายงานว่า เห็ดหอมจะช่วยลดคลอเรสเตอรอลได้ดีเยี่ยม และเห็ดหอมยังมีสารเลนติแนน และสารริทาดินีน ต้านเซลล์มะเร็งได้ด้วย โดยเฉพาะมะเร็งในลำไส้และมะเร็งในกระเพาะอาหาร

อย่างไรก็ดีในการรับประทานยาจีนที่ถูกต้อง ควรมีการต้มตั้งแต่ครึ่งชั่วโมงขึ้นไป(อยู่ที่ตัวยามากหรือน้อย) และควรรับประทานก่อนอาหาร โดยการต้มด้วยหม้อดินและภาชนะเคลือบจะให้ผลดีมากกว่าภาชนะแสตนเลส ทั้งนี้การรับประทานสมุนไพรจีนเพื่อรักษาโรค จำเป็นต้องให้แพทย์แผนจีนเป็นคนวินิจฉัยตามสภาพร่างกายที่ไม่เหมือนกันในแต่ละคน หรือต้องได้รับคำแนะนำจากร้านยาสมุนไพรจีนโดยเฉพาะ

นอกจากนี้ สามารถหาอ่านข้อมูลสมุนไพรจีนเพิ่มเติมได้จาก ยาจีนและอาหารบำรุงสุขภาพ เรียบเรียงโดยมิ่งมิตร นวรัตน์2542 ,ยาสมุนไพรจีน 100 ชนิด รวบรวมโดย บุญชัย ฉัตตะวานิช,ยาจีน โดย วีระชัย มาศฉมาดล ทัศนีย์ เมฆอริยะ2531 ,มหัศจรรย์แห่งโสม เรียบเรียงโดยนวลปราง ฉ่องใจ2537 ,และจิบชา เพิ่มพลัง ต้นโรค หยุดมะเร็ง เรียบเรียงโดยภานุทรรศน์ 2544

ทำไม??พืชจึงมีอายุเป็น...พันปี


ทำไมพืชจึงมีอายุเป็นพันปี
 พืชแตกต่างจากสัตว์  อวัยวะต่าง ๆ ก็จะทำหน้าที่ของมันจนเสื่อมและตาย  แต่พืชไม่ว่าส่วนใดก็มีองค์ประกอบที่สมบูรณ์ เห็นได้จากการปักชำเป็นพืชต้นใหม่ได้  สภาพแวดล้อมก็เป็นส่วนประกอบสำคัญ  

ถ้าสังเกตให้ดีจะพบว่า บริเวณที่มีพืชอายุนับพันปีอาศัยอยู่  ส่วนใหญ่จะเป็นป่าบริสุทธิ์ หรือไม่ก็บนเขาสูงลิบ  ในสภาพแวดล้อมดังกล่าว อุณหภูมิในการเติบโตของพืชจะต่ำ  แม้บางครั้งจะขาดอาหารบำรุง 


แต่พืชก็มีสัญชาตญาณอย่างหนึ่งคือ ถ้าสภาพแวดล้อมไม่อำนวย มันจะหยุดการเจริญเติบโตหรือเจริญเติบโตช้า  เพื่อความอยู่รอด  เราจึงมีโอกาสได้เห็นพืชที่มีอายุยืนเป็นพันเป็นหมื่นปี




วันอังคารที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2552

สมุนไพรกำจัดแมลง ใช้แบบพื้นบ้านไม่เข้าข่ายวัตถุอันตรายหรอกนะ


นับตั้งแต่เกิดกรณีการประกาศให้พืชสมุนไพร 13 ชนิดเป็นวัตถุอันตรายในบัญชี ข ก็ได้นำเสนอสมุนไพร
แต่ละตัวที่ใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันอย่างกว้างขวาง เพื่อเสนอมุมมองของการใช้สอยที่แตกต่างจากอาหารและยา แต่ก็ไม่ได้สร้างผลกระทบและอันตรายต่อสุขภาพของประชาชนแต่อย่างใด

สัปดาห์นี้นำเสนอสมุนไพร 5 ชนิดที่ไม่ได้ใช้เป็นอาหาร แต่ในตำรายาไทยก็มีการนำไปเข้าตำรับยา และเป็นที่นิยมนำไปใช้กำจัดแมลงศัตรูพืช ได้แก่ ดาวเรือง, ตะไคร้หอม, หนอนตายหยาก, กากเมล็ดชา และหญ้าสาบเสือ

ดาวเรือง นิยมปลูกเป็นไม้ประดับตามที่สาธารณะ ชื่อดาวเรืองถือเป็นนามมงคลจึงนิยมนำไปร้อยมาลัยไหว้พระ หรือใช้เป็นมาลัยต้อนรับผู้มีชื่อเสียงทางการเมือง และตอนหาเสียงเลือกตั้งทุกสนามต้องเห็นคนใช้มาลัยดอกดาวเรืองคล้องคอกันทั้งขบวน เป็นเคล็ดส่งเสริมความรุ่งเรืองและข่มนามฝ่ายตรงข้ามไปในตัว

ดอกดาวเรืองมีสรรพคุณ เป็นยาบำรุงสายตา เป็นยาฟอกเลือด ละลายเสมหะ ขับลม แก้เวียนหัว ไอหวัด ไอกรน เต้านมอักเสบ คางทูม หลอดลมอักเสบ ใบ ถ้านำมาคั้นน้ำจะแก้หูเจ็บ ถ้านำมาทาจะแก้แผลเปื่อยเน่าได้ แก้ฝีต่างๆ ใช้ทั้งต้นนำมาทาเป็นยารักษาโรคไส้ติ่งอักเสบ หรือมีอาการปวดท้องขนาดหนักคล้ายกับไส้ติ่ง และเป็นยารักษาแก้ฝีลมด้วย น้ำคั้นจากดอกจะได้สีเหลือง นำมาใช้แต่งอาหารเป็นสีธรรมชาติ แต่ปัจจุบันไม่นิยมใช้ สารสกัดจากดอกมีฤทธิ์ต้านการอักเสบ ต้านการเจริญของเชื้อแบคทีเรียและไวรัส จึงนำมาใช้ในวงการเครื่องสำอาง สำหรับรักษาอาการอักเสบของผิวหนัง แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก และช่วยชะลอความเหี่ยวย่นของผิวพรรณ เกษตรกรมักปลูกแซมตามแปลงผักเพื่อใช้กลิ่นไล่แมลงไม่ให้รบกวนแปลงผัก

ตะไคร้หอม มีน้ำมันหอมระเหย มีฤทธิ์ขับลม สารสกัดนิยมใช้ทำสเปรย์ไล่ยุงและแมลง บางบ้านปลูกตะไคร้หอมริมรั้ว หรือใส่กระถางตั้งเรียงรายริมระเบียงเพื่อช่วยไล่ยุง หรือเอาใบตัดเป็นท่อนๆ ขนาดพอเหมาะไปวางไว้ตามมุมอับหรือที่ยุงชอบเข้าไปอยู่ก็ช่วยไล่ยุงได้ เกษตรกรใช้ใบหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ หรือไม่ก็โขลกให้แหลก นำไปแช่น้ำทิ้งไว้สักคืน จากนั้นกรองเอาน้ำไปใช้ฉีดพ่น ช่วยกำจัดพวกแมลง หนอนกระทู้ หนอนใยผัก ก่อนหน้านี้ ตะไคร้หอมจัดอยู่ในบัญชีวัตถุอันตรายชนิดที่ 2 ซึ่งเป็นกลุ่มสารสกัด

ตะไคร้หอมทั้งต้นมีสรรพคุณแก้ริดสีดวงในปาก ใช้เป็นยาแก้ปากแตกระแหง ขับโลหิตระดู ผู้ที่ตั้งครรภ์ทานเข้าไปจะแท้งได้ ต้น แก้ลมพานไส้ แก้ธาตุ แก้ลมไม่ปกติ รากแก้ลมจิตรวาต หัวใจกระวนกระวายฟุ้งซ่าน ใบใช้เป็นยาคุมกำเนิด ชำระล้างลำไส้มิให้เกิดซาง น้ำมันหอมระเหยนำไปใช้ทาขนสุนัขและแมวป้องกันพวกหมัดได้

หนอนตายหยาก เป็นสมุนไพรที่มีรสเบื่อเมา หนอนตายหยากมี 2 ชนิด คือ หนอนตายหยากตัวผู้ (กะเพียดหนู) และหนอนตายหยากตัวเมีย (กะเพียดช้าง) ซึ่งมีรสหวานขม รสชาติไม่แรงเท่าตัวผู้ ใช้ได้ดีที่สุดในการรักษาโรคภายนอก และใช้ในการประกอบยาใช้ภายนอกมากกว่ายาใช้ภายใน ทั้งสองชนิดสามารถใช้แทนกันได้ในการรักษาโรคผื่นคัน รักษาโรคเกาต์ โรคปวดข้อ เป็นยาเบื่อขับพยาธิเส้นด้าย แก้ปวด เจ็บคอเรื้อรัง รักษาโรคมะเร็งคุดทะเรื้อน และใช้ตัวผู้รมหัวริดสีดวงให้ยุบ

สรรพคุณทางยาจากส่วนต่างๆ ราก ฆ่าเหา หิด รักษาโรคผิวหนัง รักษาริดสีดวง ทำให้หัวริดสีดวงฝ่อ ฆ่าแมลงและหนอน แก้แมงกินฟัน แก้ปวดฟันหัว แก้พยาธิต่างๆ ใบ แก้ปวดฟัน ฆ่าแมลง หนอนและเหา ทั้งต้น ฆ่าพยาธิตัวกลม ไม่ระบุส่วนที่ใช้ รักษาโรคผิวหนัง แก้พยาธิต่างๆ ขับประจำเดือน ทำให้หัวริดสีดวงทวารหนักฝ่อ แก้พิษน้ำเหลือง เกษตรกรใช้หนอนตายหยากตำให้ละเอียดผสมกับน้ำมันมะพร้าว กรองเอาน้ำไปใช้ฉีดพ่นกำจัดแมลง หนอนผีเสื้อ หนอนกระทู้ หนอนหลอดหอม และแมลงวันทอง ภูมิปัญญาไทยเขาใช้หนอนตายหยากวางบนปากไหหมักปลาร้าหมักน้ำปลา เพื่อป้องกันไข่หนอนแมลงวันลงไห

กากเมล็ดชา หรือ tea seed cake เป็นส่วนเหลือจากการหีบน้ำมันจากเมล็ดชา มีลักษณะเป็นก้อนแข็ง มีการนำเข้าก้อนกากเมล็ดชาจากประเทศจีนเพื่อใช้กำจัดปลาต่างๆ ในนากุ้ง เป็นเวลานานกว่า 20 ปีแล้ว ในเมล็ดชานี้มีสารซาโปนิน (saponin) อยู่ประมาณ 10-13% ซึ่งมีความเป็นพิษรุนแรงเฉพาะสัตว์เลือดเย็นหรือสัตว์ชั้นต่ำ เช่น ปลา กุ้ง และหอยเท่านั้น ซาโปนินจะมีผลต่อศูนย์ประสาทที่ควบคุมการหายใจของสัตว์ชั้นต่ำ ทำให้ขาดออกซิเจนและทำให้เกิดการสลายตัวของเม็ดเลือดแดง พิษของเมล็ดชาสลายตัวได้ง่าย จะหมดไปหลังการใช้สารละลายเป็นเวลา 7-14 วัน

มีการนำกากเมล็ดชามาใช้กำจัดหอยเชอร์รี่ในนาข้าว เนื่องจากที่ผ่านมามีการระบาดในนาข้าวสูง และเกษตรกรใช้สารเคมีซึ่งส่งผลให้ปลาปูและสัตว์อื่นๆ ตายจำนวนมาก และยังมีสารตกค้างในสิ่งแวดล้อมและข้าวอีกด้วย กากเมล็ดชาจึงเป็นทางเลือกในการกำจัดหอยเชอร์รี่ที่มีประสิทธิภาพ และสลายตัวได้เร็วจึงไม่มีพิษตกค้าง ไม่เป็นอันตรายต่อคนและสิ่งแวดล้อม

สาบเสือ หรือชาวบ้านนิยมเรียกว่าหญ้าสาบเสือ พบได้ทั่วไปตามที่รกชัฏ สมัยก่อนตอนเป็นเด็ก ไปวิ่งเล่นจนได้แผลหรือใครได้แผลมา ผู้ใหญ่จะเด็ดใบสาบเสือขนาดไม่แก่ไม่อ่อนขยี้ให้แหลกแล้วโปะปากแผลห้ามเลือดและฆ่าเชื้อได้ ต้องทนแสบหน่อยแต่ใช้ได้ผลดี วิธีใช้กำจัดศัตรูพืชจะใช้ใบสดหรือแห้งก็ได้ เอาไปโขลกให้ละเอียดหมักกับน้ำทิ้งไว้สักหนึ่งคืน แล้วกรองเอาแต่น้ำไว้ใช้ฉีดพ่น สามารถฆ่าแมลงและไล่หนอน เช่น เพลี้ยกระโดด เพลี้ยจักจั่น เพลี้ยหอย เพลี้ยไฟ หนอนกระทู้ควาย หนอนใยผัก

สมุนไพรดังกล่าวไม่มีรายงานว่าเป็นพิษต่อคน อาจมีการระคายเคืองบ้างในคนที่อาจแพ้สารเหล่านั้น แต่จะสลายไปในเวลาไม่นาน ซึ่งเหมาะสำหรับการส่งเสริมทางการเกษตรในระบบเกษตรพอเพียงและเกษตรอินทรีย์เป็นอย่างยิ่ง.

สารพัดวิธีไล่ยุง...ด้วยสมุนไพรธรรมชาติ

ยุง เป็นปัญหากวนใจทุกคน ถึงแม้การไล่ยุงให้สิ้นซากจะไม่อาจทำได้ เนื่องจากคนเราดึงดูดยุงจากคาร์บอนไดออกไซด์ที่ถูกปล่อยออกมาในลมหายใจของเรา เช่นเดียวกับกลิ่นเหงื่อ กลิ่นกาย และความร้อนจากร่างกาย คนบางคนยังอาจเป็นเสมือนแม่เหล็กที่ดึงดูดยุงเข้ามาหา ในขณะที่คนอื่นอาจไม่มียุงตอมเลยก็ได้ นี่อาจเกี่ยวกับสารเคมีในร่างกายของแต่ละคน ดังนั้น สูตรที่ใช้ได้ผลกับคนหนึ่ง อาจไม่ได้ผลกับอีกคนหนึ่งก็ได้ ฉะนั้น คุณอาจต้องลองหลายๆ สูตรเพื่อดูว่าอะไรที่ใช้ได้ผลสำหรับคุณ     
วานิลลา มีหลายวิธีในการใช้วานิลลา เช่น บางคนบอกให้ทาวานิลลาที่จุดชีพจร บางคนบอกให้ทาทั่วผิวหนังและแต้มลงบนเสื้อผ้า บางคนบอกให้เลือกใช้แบบเข้มข้น บางคนก็บอกให้ผสมน้ำก่อนแล้วฉีดบนผิว ลองใช้หลายๆ แบบเพื่อดูว่าแบบไหนใช้ได้ผลดีสำหรับคุณ    
กระเทียม นี่อาจไม่เหมาะนักสำหรับใช้ทุกวัน แต่เวลาไปแค้มป์ปิ้ง หรือในที่ซึ่งมียุงชุม ลองใช้กระเทียมผง (หาซื้อได้ตามซุปเปอร์มาร์เก็ต) ผสมกับน้ำ ทาลงที่จุดชีพจร บนใบหน้า แต่ระวังอย่าให้เข้าตา    
น้ำมันหอมระเหย ผสมน้ำมันหอมระเหยกับแอลกอฮอล์เช็ดแผลหรือน้ำกลั่น และฉีดลงบนร่างกายหรือบนผ้า แล้วใช้เข็ดตามผิวกาย หรือเติมน้ำมันหอมระเหยสองามหยดลงในเบบี้ออยล์ หรือน้ำมันมะกอกแล้วทาบนผิว ระวังอย่าให้เข้าตาและปาก น้ำมันหอมระเหยที่แนะนำก็คือ ลาเวนเดอร์ ยูคาลิปตัส มะนาว ตะไคร้ ทีทรี ไธม์ เปปเปอร์มินต์ และเบซิล
     
สำหรับบ้าน ฉีดกระทียมผงผสมน้ำตามสนามหญ้าและพุ่มไม้ เพื่อไล่ยุง ควรทำสองสัปดาห์ครั้ง หรือหลังจากฝนตกหนัก

        วิธีเยียวยาอาการคันจากยุงกัด
อาการคันจากยุงกัดเกิดจากน้ำลายของยุงที่พ่นออกมาในขณะที่มันกินเลือดเรา ซึ่งแต่ละคนอาจมีปฏิกิริยาต่อการถูกยุงกัดต่างกันไป หากคุณรู้สึกคันอย่างมากเวลาถูกยุงกัด ลองใช้ "ตัวช่วย" ต่อไปนี้ เพื่อบรรเทาอาการคัน
        + ใช้น้ำร้อนหรือน้ำเย็นประคบที่รอยยุงกัด
        + ใช้สิ่งต่อไปนี้ทาบริเวณที่ยุงกัด ยาสีฟัน น้ำยาบ้วนปาก น้ำส้มสายชู แอลกอฮอล์เช็ดแผล แอมโมเนีย ชา (ถุงชา หรือใช้สำลีชุบน้ำชาร้อนๆ แต้มลงบนรอยกัด) เบกกิ้งโซดากับน้ำ แอสไพรินบดผสมน้ำหรือแอลกอฮอล์เช็ดแผลสองสามหยด
        + น้ำมะนาว หรือแผ่นมะนาวฝาน

กระชาย

กระชาย 
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Boesenbergia rotunda  (L.) Mansf.
วงศ์ :   Zingiberaceae
ชื่ออื่น : กะแอน  จี๊ปู ซีฟู  เปาซอเร๊าะ  เป๊าสี่ระแอน ว่านพระอาทิตย์

ลักษณะ : เป็นไม้ล้มลุกไม่มีลำต้นบนดิน มีเหง้าใต้ดินซึ่งแตกรากออกไปเป็นกระจุกจำนวนมาก อวบน้ำ ตรงกลาลพองกว้างกว่าส่วนหัวและท้าย ใบ เดี่ยว เรียงสลับเป็นระนาบเดียวกัน รูปขอบขนานแกมรูปไข่ กว้าง 4.5-10 เซนติเมตร ยาว 13-15 เซนติเมตร ตรงกลางด้านในของก้านใบมีร่องลึก ดอก ช่อ ออกแทรกอยู่ระหว่างกาบใบที่โคนต้น กลีบดอกสีขาวหรือชมพูอ่อน ใบประดับรูปใบหอกสีม่วงแดง ดอกย่อยบานครั้งละ 1 ดอก
ประโยชน์ทางสมุนไพร : ตำรายาไทยใช้เหง้าแก้โรคในปากเช่นปากเปื่อย ปากเป็นแผล ปากแห้ง ขับระดูขาว ขับปัสสาวะ รักษาโรคบิด แก้ปวดมวนท้อง จากการทดลองในสารสกัดแอลกอฮอล์และคลอโรฟอร์ม พบว่ามีฤทธิ์ต้านเชื้อราที่ทำให้เกิดโรคผิวหนังและในปากได้ดีพอควร

วันอังคารที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ไพลพืชลดการอักเสบ

ข้อมูลทางพฤกษศาสตร์
ชื่อวิทยาศาสตร์ Zingiber cassumunar Roxb.
ชื่อวงศ์ Zingiberaceae
ชื่อพ้อง Zingiber cassumunar Roxb. Zingiber purpureum Roscoe
- ชื่อท้องถิ่นปูลอย, ปูเลย, มิ้นสะล่าง, ว่านไฟ
หลักฐานทางวิทยาศาสตร์
1. ฤทธิ์ลดการอักเสบ
การศึกษาทางด้านเภสัชวิทยาของน้ำมันไพลทางด้านลดอาการอักเสบ พบว่าเฉพาะน้ำมันสกัดดิบเท่านั้นที่ให้ผลลดอาการบวมอุ้งเท้าหนู ส่วนสกัดย่อยอื่นๆ ไม่ได้ผล การศึกษาเบื้องต้นทางคลินิกพบว่าให้ผลในการรักษาอาการปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อและเคล็ดต่างๆเช่นกัน (1) มีรายงานฤทธิ์ลดการอักเสบของสารสกัดไพลด้วยเฮกเซน (2) รวมถึงสารที่สกัดได้จากไพลหลายชนิด เช่น เคอร์คิวมิน ซึ่งเป็นสารสีเหลือง (3-9), น้ำมันหอมระเหย (10-11),และสารอื่นๆ เช่น สาร (E)-4 (3',4'-dimethylphenyl) but-3-en-l-ol ออกฤทธิ์ยับยั้ง prostaglandin (12) นอกจากนี้สาร (E)-1-(3,4-dimethoxyphenyl) but-3-en-2-ol ขนาด 2.5 มล./กก เมื่อป้อนเข้าสู่กระเพาะของหนูขาว พบว่าสามารถยับยั้งการอักเสบของอุ้งเท้าหนู ที่เหนี่ยวนำด้วย carrageenin ได้ โดยออกฤทธิ์ยับยั้งการมารวมกันของเม็ดเลือดขาว และ การสร้าง prostaglandin (13)

สาร (E)-1-(3,4-dimethoxyphenyl) butadiene (DMPBD) มีฤทธิ์ยับยั้งอาการบวมของหูหนูขาวที่เกิดจาก dethyl phenylpropiolate และ arachidonic acid (AA) ได้ดีกว่ายา diclofenac (14-15) DMPBD ยับยั้งการบวมที่เกิดจาก ethyl phenylpropiolate และ 12-o-tetradecanoylphorbol 13-acetate ได้ดีกว่ายา oxyphenbutazone และ phenidone นอกจากนี้พบว่า DMPBD และ diclofenac มีประสิทธิภาพใกล้เคียงกันในการยับยั้งการอักเสบของเท้าหนูขาวที่เกิดจาก carrageenan (16) แต่ที่เกิดจาก platelet activating factor (PAF) ไม่สามารถยับยั้งได้ (16) เมื่อนำ DMPBD มาทดสอบการยับยั้ง platelet aggregation ที่เกิดจาก collagen, adenosine diphosphate, AA และ PAF พบว่าสาร DMPBD สามารถต้านทานฤทธิ์ของ PAF ได้ดีที่สุด

สาร cassumunarins ที่พบในไพลมีฤทธิ์ต้านการอักเสบที่เกิดจาก 12-o-tetradecanoylphorbol 13-acetate ที่หูของหนูถีบจักร สารดังกล่าวมีฤทธิ์ดีกว่า curcumin (17) และทดสอบสารชนิดหนึ่งที่แยกได้จากสารสกัดด้วยเมทานอลของไพล พบว่ามีฤทธิ์ลดการหลั่งสารที่ทำให้เกิดอาการแพ้และอักเสบจากเซลล์ fibroblast ของผิวหนังมนุษย์ (18)

เมื่อพัฒนาน้ำมันไพลให้อยู่ในรูปของเจล (ไพลเจล) แล้วนำมาทดสอบ พบว่าไพลเจลสามารถลดการอักเสบของอุ้งเท้าหนูได้ ในการศึกษาทางคลินิกพบว่าไพลเจลสามารถลดการบวมได้เทียบเท่ากับ piroxicam gel ทั้งยังลดความแดงและบรรเทาอาการปวดได้ผล (19) เมื่อทดลองนำครีมไพล (ไพลจีซาล) ที่มีส่วนผสมของน้ำมันไพล 14 เปอร์เซ็นต์ ไปใช้ในผู้ป่วยข้อเท้าแพลง โดยให้ทาวันละสองครั้ง พบว่าสามารถลดการปวดบวมได้มากกว่ากลุ่มควบคุมเมื่อใช้ไปได้ 4 วัน โดยมีการกินยาแก้ปวด (paracetamol) ในสองวันแรกน้อยกว่ากลุ่มควบคุมด้วย ผู้ป่วยที่ได้รับไพลจีซาล สามารถงอข้อเท้าได้มากกว่ากลุ่มควบคุมแต่การงอของฝ่าเท้าไม่มีความแตกต่างกัน (20)

จากการทดลองฤทธิ์ของ DMPBD ต่อการยับยั้งการอักเสบพบว่า DMPBD มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ โดยมีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ cyclooxygenase และ lipoxygenase ของกระบวนการเมทาบอลิสมของ arachidonic acid ที่ทำให้เกิดการอักเสบ (16) และการทดสอบสาร phenylbutenoids ในไพลจำนวน 7 ชนิด ต่อการยับยั้งเอนไซม์ในกระบวนการอักเสบ (cyclooxygenase-2) พบว่ามีสาร 4 ชนิดที่มีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ ได้แก่สาร phenylbutenoid dimer 2 ชนิด มีค่าความเข้มข้นที่ยับยั้งเอนไซม์ได้ 50 เปอร์เซ็นต์ (IC50) เท่ากับ 2.71 และ 3.64 ไมโครโมลาร์ สาร phenylbutenoid monomer 2 ชนิด มีค่า IC50 เท่ากับ 14.97 และ 20.68 ไมโครโมลาร์ ตามลำดับ (21)

2. ฤทธิ์เป็นยาชาเฉพาะที่
น้ำคั้นหัวไพลมีฤทธิ์เป็นยาชาเฉพาะที่ ช่วยลดอาการปวด (22) โดยน้ำคั้นของไพลความเข้มข้น 300 มก./มล. สามารถลดการนำไฟฟ้าในเส้นประสาท sciatic ของคางคกได้ 84.46 เปอร์เซ็นต์ในขณะที่ยา lidocaine ความเข้มข้น 0.2 มก./มล. ลดการนำไฟฟ้าได้ 93.09 เปอร์เซ็นต์หรือมีประสิทธิภาพในการออกฤทธิ์มากกว่าน้ำคั้นของไพล 1500 เท่า (23)

3. ฤทธิ์ต้านฮิสตามีน
สารที่แยกได้จากส่วนสกัดเฮกเซนของไพล เมื่อนำมาทดสอบฤทธิ์ต้านฮิสตามีนในกล้ามเนื้อเรียบของลำไส้เล็กส่วนปลายของหนูตะเภา พบว่าสามารถยับยั้งฤทธิ์ของฮิสตามีนได้ 100 เปอร์เซ็นต์ที่ความเข้มข้น 0.533 มก./มล. สารดังกล่าวสามารถยับยั้งฤทธิ์ของฮิสตามีนที่กระตุ้นกล้ามเนื้อเรียบหลอดลม ในตัวหนูตะเภาได้ด้วย (24) นอกจากนี้ยังมีการทดสอบฤทธิ์ต้านฮิสตามีนของไพลในผู้ป่วยเด็กโรคหืด โดยฉีดฮิสตามีนที่แขนซ้ายก่อนได้รับยา และฉีดที่แขนขวาหลังการให้กินไพลแห้งบดในขนาด 11-25 มก./กก. 1 ชม.ครึ่ง วัดรอยนูนแดงหลังฉีดฮีสตามีน 15 นาที พบว่าไพลมีฤทธิ์ต้านฮิสตามีน โดยสามารถลดขนาดของตุ่มนูนที่เกิดจากการฉีดด้วยฮิสตามีน ได้อย่างมีนัยสำคัญ แต่ยังมีประสิทธิภาพน้อยกว่ายาคลอเฟนิลามีน (25)

4. ฤทธิ์แก้ปวด
สาร (E)-4 (3',4'-dimethylphenyl) but-3-en-l-ol จากไพลมีฤทธิ์แก้ปวดเมื่อทดสอบในหนูขาว (12) และไพลเจลมีฤทธิ์แก้ปวดเมื่อใช้เป็นยาทาภายนอก (19, 20)

5. การศึกษาเภสัชจลนศาสตร์
การศึกษาทางเภสัชจลนศาสตร์มีรายงานว่า การป้อนสาร B ที่แยกจากสารสกัดจากไพลด้วยเอทิลแอลกอฮอล์ขนาด 25 มก./กก. (26) และ สารสกัดจากไพลด้วยเอทิลแอลกอฮอล์ขนาด 2 ก./กก. (เทียบเท่าสาร D 15 มก./กก.) (27) ให้หนูขาวครั้งเดียว พบว่า ค่าความเข้มข้นสูงสุดในเลือดของสาร B และสาร D เท่ากับ 1.92 มคก./มล. (26) และ 0.75 มคก./มล. (26) ที่เวลา 1.12 ชม. (26) และ 1.04 ชม. (27) หลังได้รับสาร ตามลำดับ และเมื่อเปรียบเทียบการดูดซึมและการขับออกของสาร D และ Diol ซึ่งเป็นอนุพันธ์ของสาร D ที่สังเคราะห์ขึ้น พบว่าสาร D ดูดซึมเร็วกว่า แต่กำจัดออกจากร่างกายช้ากว่า (28, 29)

6. ฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย
สารสกัดจากไพลด้วยไดคลอโรมีเทนแสดงฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย Bacillus substilis (แบคทีเรียแกรมบวก) และ Pseudomonas aeruginosa (แบคทีเรียแกรมลบ) โดยมีค่าความเข็มข้นต่ำสุดที่มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อ (MIC) เท่ากับ 250 และ 125 มคก./แผ่น แต่สารสกัดจากไพลด้วยเมทานอลไม่แสดงฤทธิ์ยับยั้งเชื้อทั้งสอง และสารสกัดทั้งสองชนิดไม่สามารถยับยั้งเชื้อ Staphylococcus aureus ที่ดื้อต่อ methicillin และ Escherichia coli (30) สารสกัดจากไพลด้วยเอทิลแอลกอฮอล์ แสดงฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคของระบบทางเดินหายใจคือ b-streptococcus group A แต่ไม่สามารถยับยั้งเชื้อ Pseudomonas aeruginosa, Staphylococcus aureus และ Klebsiella pneumoniae ได้ (31) ส่วนสารสกัดจากไพลด้วย ไดเอทิลอีเทอร์ น้ำ และ ปิโตรเลียมอีเทอร์ ไม่แสดงฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย B. subtilis, E. coli, P. aeruginosa และ S. aureus (32) Terpinene-4-ol มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรียทั้งหมด (9 ชนิด) โดยมีค่า MIC อยู่ในช่วง 2 –5 มก./มล. แต่ sabinene ที่ความเข้มข้นแสดงฤทธิ์ยับยั้งเพียง 5 ชนิด โดยไม่สามารถยับยั้งเชื้อ E. coli, Salmonella typhimurium, Bacteroides fragilis และ Peptococcus sp. (33)

7. ฤทธิ์ต้านเชื้อรา
มีรายงานว่าสารสกัดจากไพลด้วยไดคลอโรมีเทนและเมทานอลไม่มีผลยับยั้ง Candida albicans (30) ขณะที่บางรายงานพบว่าสารสกัดไพลมีผลยับยั้งเชื้อราดังนี้ สารสกัดไพลสดด้วยเอทานอล ความเข้มข้น 2 มก./แผ่น เมื่อนำมาทดสอบด้วยวิธี paper disc diffusion สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อราโรคพืชหลายชนิด ได้แก่ Candida albicans, Cryptococcus neoformans, Wangiella dermatitidis, Alternaria alternata, Aspergillus fumigatus, Fusarium oxysporum, Microsporum gypseum, Pseudallescheria boydii, Rhizopus sp. และ Trichophyton mentagrophytes (34) เมื่อนำเชื้อรามาทดสอบกับสารสกัดจากน้ำ, เมทานอล, ไดคลอโรมีเทนและเฮกเซน พบว่าสารสกัดจาก เมทานอล, ไดคลอโรมีเทนและเฮกเซนเท่านั้นที่มีฤทธิ์ต้านยับยั้งการเจริญของรา Epidermophyton floccousm, Microsporum gypseum, Trichophyton mentagrophytes และ Trichophyton rubrum ซึ่งเป็นเชื้อราโรคผิวหนัง (35)

น้ำมันหอมระเหยจากไพลมีฤทธิ์ต่อต้านเชื้อรา Aspergillus flavus ซึ่งเป็นเชื้อราที่สร้างความเสียหายให้กับอาหาร (36) นอกจากนี้สาร zerumbone ซึ่งเป็นสารพวก sesquiterpene ที่สกัดได้จากไพล มีฤทธิ์ต้านเชื้อรา Rhizoctonia solani ซึ่งเป็นเชื้อราที่ทำให้เกิดโรคเน่าในพืช โดยมีค่าความเข็มข้นต่ำสุดที่มีผลฆ่าเชื้อราได้เท่ากับ 1000 มก./ลิตร ซึ่งได้ผลดีกว่ายาฆ่าเชื้อราบางชนิด ข้อดีของสารดังกล่าวคือเป็นพิษกับเชื้อราได้น้อยชนิดและไม่มีพิษต่อพืช โดยการทดลองใช้ป้องกันการเน่าของเมล็ดพืชที่เกิดเชื้อรา R. solani พบว่าสามารถป้องกันได้ถึง 85.7 เปอร์เซ็นต์ (37)

เมื่อให้ครีมยาที่ผสมสารสกัดจากไพลด้วยแอลกอฮอล์กับผู้ป่วยที่เป็นโรคกลากที่ขาหนีบจำนวน 89 ราย แต่กลับมารับการตรวจประเมินเพียง 21 ราย พบว่าจำนวนผู้ป่วยที่กลับมาตรวจภายหลัง 6 ราย มี 2 รายที่รักษาได้ผล แต่ในผู้ป่วยที่ได้รับยา canesten กลับมาตรวจ 7 ราย มีเพียงรายเดียวที่รักษาไม่หาย และผู้ป่วยที่ได้รับยาหลอกกลับมาตรวจ 8 ราย มี 2 รายที่หายจากโรค (38)

8. ฤทธิ์ต้านการหดเกร็งของกล้ามเนื้อเรียบ
สาร D ที่แยกจากสารสกัดจากไพลด้วยเฮกเซน เมื่อนำมาทดสอบกับกล้ามเนื้อเรียบลำไส้เล็กส่วนปลายของหนูตะเภา พบว่าสาร D สามารถยับยั้งฤทธิ์ของฮิสตามีน อะเซททิลโคลีน นิโคทีน และเซโรโทนิน ได้อย่างสมบูรณ์ที่ความเข้มข้น 0.533, 0.533, 0.133 และ 0.533 มก./มล. ตามลำดับ และสารดังกล่าวสามารถยับยั้งการหดตัวของกล้ามเนื้อเรียบหลอดลมที่ถูกกระตุ้นด้วยฮิสตามีนและกล้ามเนื้อกระบังลมที่ถูกระตุ้นด้วยไฟฟ้าได้ ด้วยความเข้มข้น 0.133 มก./กก. และ 1.23 มก./กก. ตามลำดับ การทดลองในหนูตะเภา พบว่าสารดังกล่าวขนาด 8 มก./กก. สามารถยับยั้งฤทธิ์ของฮิสตามีนที่กระตุ้นให้หลอดลมหดตัวได้ (24) เมื่อนำสารสกัดจากไพลด้วยน้ำมาทดสอบผลต่อกล้ามเนื้อเรียบของหนูขาว พบว่าสามารถยับยั้งการบีบตัวของมดลูก ลำไส้และกระเพาะอาหาร ได้ 100 เปอร์เซ็นต์ ที่ความเข้มข้น 0.09 0.28 และ 0.64 ก./มล. ตามลำดับ แต่ฤทธิ์ดังกล่าวของน้ำสกัดไพลต่อมดลูกและลำไส้สามารถยับยั้งได้โดย syntocinon และ acetylcholine ตามลำดับ เมื่อทดสอบกับกล้ามเนื้อเรียบของหลอดเลือดแดงจากสายสะดือเด็กทารกไม่พบการออกฤทธิ์ของน้ำสกัดไพลที่ชัดเจน (39) การศึกษาเพื่อหากลไกการออกฤทธิ์ของน้ำสกัดไพล ในมดลูกและลำไส้ของหนูขาว พบว่าเมื่อให้ยากลุ่ม a และ b - adrenergic blocking agents ไม่สามารถยับยั้งฤทธิ์ของน้ำสกัดไพลได้ แต่ยาหรือสารที่มีผลโดยตรงต่อกล้ามเนื้อเรียบ เช่น calcium, syntocinon และ acetylcholine สามารถยับยั้งผลของสารสกัดได้ แสดงว่าน้ำสกัดไพลอาจจะไม่ได้ออกฤทธิ์กับ a - หรือ b - adrenergic receptor แต่ออกฤทธิ์โดยตรงกับกล้ามเนื้อเรียบโดยลดระดับหรือยับยั้ง calcium หรืออาจจะลดอัตราการเกิด spontaneous action potential ของเซลล์กล้ามเนื้อเรียบโดยตรง (40)

9. หลักฐานความเป็นพิษและการทดสอบความเป็นพิษ
9.1การทดสอบความเป็นพิษ
การทดสอบความเป็นพิษเฉียบพลัน ไม่พบอาการเป็นพิษ แม้จะให้สารสกัดไพลด้วยแอลกอฮอล์ 50% ในขนาดเท่ากับไพล 10 ก./กก.ทั้งกรอกทางปาก และฉีดเข้าใต้ผิวหนังหนูถีบจักร และเมื่อให้สารสกัด D (แขวนตะกอนใน 2% tween 80) ในขนาดสูงเทียบเท่าไพล 30 ก./กก.ทั้งกรอกปาก และฉีดเข้าทางช่องท้อง แต่เมื่อให้เกลือโซเดียมของสาร D ที่ละลายในน้ำฉีดเข้าช่องท้องในขนาด 450 มก./กก. จะทำให้หนูมีอาการหายใจลึกและถี่ เคลื่อนไหวน้อย และขาหลังมีอาการอ่อนเปลี้ยกว่าปกติ แต่หนูทั้งหมดยังมีชีวิตอยู่รอดภายหลังการทดลอง การทดสอบความเป็นพิษเรื้อรัง ไม่พบอาการผิดปกติใดๆ ทั้งจากการตรวจสอบลักษณะทั่วไป (gross examination) และจากการตรวจสอบทางชีวพยาธิวิทยา (24) มีผู้ทดสอบความเป็นพิษในหนูขาว พบว่าขนาดที่ทำให้หนูขาวตายครึ่งหนึ่งมีค่าเท่ากับ 4.00 ก./กก. เมื่อให้ทางหลอดเลือด อาการที่พบคือ ตัวเย็นซีด ชัก หายใจขัด หยุดหายใจและตายในที่สุด การใช้ quinidine 5.6 มก./กก. ร่วมกับ propanolol 2 มก./กก. จะช่วยลดอัตราการตายลง ทำให้ขนาดที่ทำให้หนูตายครึ่งหนึ่งของจำนวนที่ทดลองเปลี่ยนเป็น 6.00 ก./กก. (41) การศึกษาพิษเฉียบพลันของตำรับยาแก้หืดไพลในหนูขาว พบว่าขนาดของสารสกัดด้วย 50% แอลกอฮอล์ และเฮกเซน ที่ทำให้สัตว์ทดลองตายครึ่งหนึ่ง คือ 20 และ 80 ก./กก.ตามลำดับ การศึกษาพิษกึ่งเรื้อรัง โดยผสมไพล ขนาด 0.5, 3 และ 18% ในอาหารหนู ให้หนูกินเป็นเวลา 6 เดือน พบว่าในขนาด 18% เท่านั้นที่ทำให้หนูโตช้า แต่ไม่พบความผิดปกติ ในค่าเคมีปัสสาวะและเลือด และการเปลี่ยนแปลงของเนื้อเยื่ออวัยวะ (42, 43) ส่วนขนาดของผงไพลที่ทำให้สัตว์ทดลองตายครึ่งหนึ่งในหนูถีบจักร มีค่าสูงกว่า 10 ก./กก.และพบว่ามีพิษต่อตับเมื่อให้ไป 1 ปี และเมื่อให้ในลิง ในขนาด 50 เท่าของขนาดรักษาเป็นเวลา 6 เดือน ไม่พบพิษ (44)

เมื่อกรอกสารสกัดไพลด้วยแอลกอฮอล์ 50% ในหนูถีบจักร 10 ก./กก. ซึ่งเป็นขนาด 250 เท่าของขนาดที่ใช้ในคน และโดยฉีดเข้าใต้ผิวหนัง 10 ก./กก. ยังไม่แสดงอาการพิษ (45) เมื่อทดสอบความเป็นพิษของน้ำมันไพลต่อสัตว์ทดลอง 3 ชนิด ได้แก่ หนูถีบจักร หนูขาว และกระต่าย โดยให้ทางปาก พบว่ามีค่าที่ทำให้สัตว์ทดลองตายครึ่งหนึ่งเท่ากับ 2.15 ก./กก., 0.86 ก./กก. และ 0.825 ก./กก. ตามลำดับ จึงจัดว่าน้ำมันไพลเป็นสารที่มีความเป็นพิษเล็กน้อย (19) มีการทดสอบความเป็นพิษของ terpinen-4-ol จากน้ำมันไพล กับกระต่ายในเวลา 1-24 ชั่วโมง พบว่าไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงกับกระต่าย นอกจากนี้ทดสอบการระคายเคืองของ terpinen-4-ol กับกระต่าย โดยสอดครีมความเข้มข้น 3, 5 และ 7% ปริมาณ 1 มล./วัน เป็นเวลา 10 วัน พบว่าไม่มีผลต่อน้ำหนักกระต่าย แต่มีความผิดปกติกับช่องคลอด, กระเพาะปัสสาวะ, มดลูก, รังไข่, ไตและ ตับ ขนาดของ terpinen-4-ol ที่ทำให้สัตว์ทดลองตายครึ่งหนึ่งในหนูตัวผู้คือ 3.55 ก./กก.และในหนูตัวเมียคือ 2.5 ก./กก. (46) นอกจากนี้ terpinen-4-ol ที่ความเข้มข้น 0.016% ยังมีฤทธิ์ฆ่าเชื้ออสุจิของวัวเทียบเท่ากับยาสังเคราะห์ Nonyl phenoxy polyethoxy ethanol 0.025 เปอร์เซ็นต์ (1) และ terpinen-4-ol ที่ความเข้มข้น 2.5% ยังมีฤทธิ์ฆ่าเชื้ออสุจิของวัวใกล้เคียงกับยาสังเคราะห์ Delfen (46) ประสะไพลและน้ำสกัดจากประสะไพลที่ให้กับหนูขาว ในปริมาณ 2.5 ก/กก. และ 20 ก./กก. ตามลำดับ เมื่อสังเกตอาการใน 24 ชม.แรกไปจนถึง 14 วันถัดไป ไม่พบอาการพิษปกติและการตายในหนู (47)

9.2 ฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์
เมื่อใช้สารสกัดเหง้าไพลด้วยน้ำร้อนในขนาด 0.5 c.c./Disc ไม่มีผลต่อ Bacillus subtillis H-17 (Rec+) และ M-45 (Rec-) (48) น้ำมันหอมระเหย และ terpinen-4-ol ไม่มีฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์กับ Sallmonella typhimuriumสายพันธุ์ TA98, TA100 (10, 46)

การดูแลผิวพรรณด้วยสมุนไพร


การดูแลผิวพรรณด้วยสมุนไพร
ผิวหนังเกิดการเหี่ยวย่นตามปกติเมื่อมีอายุมากขึ้น หรือมีรอยตีนกา เป็นต้น เพราะกล้ามเนื้อและผิวหนังส่วนต่างๆหย่อนยาน เช่น สะโพก อก คาง แก้ม เป็นต้น
การแก้ไข
๑. หลีกเลี่ยงภาวะความเครียด
๒. ไม่ห่อเหี่ยวและสิ้นหวัง
๓. ปล่อยวาง พักผ่อน เป็นกำนัลแก่ชีวิต
๔. ออกกำลังกายพอเหมาะสม่ำเสมอ
๕. อบสมุนไพรที่มีตัวยาบำรุง สมาน และทำให้ผิวเต่งตึง สัปดาห์ละครั้ง จะช่วยให้เกิดการเปลี่ยนเซลล์ผิวที่เสื่อม และทำให้ผิวพรรณเต่งตึงสดใส
๖. ใช้ผงสมุนไพรรักษาผิว ที่มีตัวยาบำรุง สมาน และทำให้ผิวเต่งตึง ผสมน้ำหรือ น้ำผึ่ง น้ำมะนาว และนมสด ทาผิวบางๆ ก่อนนอนแล้วทิ้งไว้ทั้งคืน มีตัวยา ข้าวกล้อง รากขิงชี่ รากย่านาง รากคนทา รากเท้ายายหม่อม รากมะเดื่อชุมพร ดอกมะลิ ดอกบุนนาค ดอกพิกุล ดอกสาระภี เกสรดอกบัวหลวง ชะเอมเทศ ขมิ้นชัน ขมิ้นอ้อย ลูกเบญจกานี พิมเสน หนักสิ่งละ ๑๕ กรัม
นำมาบดเป็นผงละเอียด อบแห้ง เก็บไว้ใช้
๗. ใช้วุ่นจากว่านหางจระเข้ ทาผิวบางๆ ก่อนนอน
๘. ใช้ ผงขมิ้นอ้อย ขมิ้นชัน กระแจะดินสอพอง สิ่งละเท่าๆกันบดเข้าด้วยกัน ผสมน้ำผึ้ง และน้ำมะนาวเล็กน้อย ผสมให้เหลวทาบางๆ ทิ้งไว้ทั้งคืน
๙. รับประทานยาอายุวัฒนะมีตัวยา เถาบอระเพ็ดเมล็ดข่อยเปลือกต้นทิ้งถ่อนเปลือกต้นตะโกนา หัวหญ้าแห้วหมู เมล็ดพริกไทย และเหง้ากระชาย หนักสิ่งละเท่าๆกันบดเป็นผงผสมน้ำผึ้งปั้นเม็ดขนาดเท่าปลายนิ้วก้อย รับประทานวันละ ๒-๓ เม็ด ก่อนนอนทุกวัน เป็นยาอายุวัฒนะ ป้องกันโรคภัยได้มากมายหลายชนิด ทำให้ผิวพรรณดี รอยย่นบนใบหน้าจะลดลงอย่างน่าประหลาด กำลังแข็งแรง แก้ปวดเมื่อย แก้ข่ออ่อนแรง
๑๐. กายบริหาร ท่านอนยกสะโพกถีบจักรยาน
๑๑. รับประทานยาสมุนไพรที่มีสรรพคุณกระชับกล้ามเนื่อ
๑๒. ใช้ผงข้าวกล่อง (เอาข้าวกล่องมาบดให้ละเอียด)ผสมน้ำสุก หรือน้ำผึ้ง และนมสดทาผิวบางๆ ทิ้งไว้ประมาณ ๒-๓ ชั่วโมง
๑๓. ใช้น้ำผึ้ง ผสมน้ำสุก ทาผิวก่อนนอน
๑๔. ใช้น้ำแตงกวาสดปั่น ทาผิว ทิ้งไว้ ๒-๓ ชั่วโมง
๑๕. ใช้น้ำมะเขือเทศปั่น ทาผิว ทิ้งไว้ ๒-๓ ชั่วโมง
๑๖. ถ้าผิวแห้งหรือมีรอยแตกร้าวระแหง ใช้เปลือกกล้วยหอม นำมาขูดเอาเนื้อในเปลือกปั่นให้ละเอียด ทาก่อนนอนวันละครั้ง
๑๗. ถ้าผิวเหี่ยวย่นมาก ต้องการบำรุงผิวทั้งตัวให้ใช้ผงยาตามส่วนผสมในข้อ ๖ ผสมแช่ตัว โดยมีส่วนผสมดังนี้ ผงยาตามข้อ ๖ ๑๕ กรัม นมสด ๑ ลิตร น้ำสะอาด ๑ ลิตร น้ำผึ้งแท้ ๑๐ ซีซี ถ้าต้องการกัดผิว ใส่น้ำมะนาว ๑๐ ซีซี
ถ้าใช้มากเพิ่มตัวยาตามส่วน ผสมตัวยาและส่วนทั้งหมดให้เข้ากัน ในอ่างที่สามารถนอนแช่ได้ ลงนอนแช่น้ำยาทั้งตัว ๑๕ นาที แล้วขึ้นมาพัก ๑๐ นาที ทำ ๓ ครั้ง ครั้งสุดท้ายพักจนกว่าน้ำยาจะแห้ง อาบน้ำชำระกาย แล้วใช้ผงสมุนไพรตามข้อ ๖ หนึ่งส่วน ผสมน้ำสะอาด ๑ ส่วน น้ำผึ่ง ครึ่งส่วน นมสด ครึ่งส่วน น้ำมะนาว ครึ่งส่วน คนให้เข้ากัน ทาผิวให้ทั่วเพียงบางๆทิ้งไว้ประมาณ ๒-๓ ชั่วโมง จึงอาบน้ำ ในระหว่างพักการแช่น้ำยา อาจจะนวดผิว ช่วยกระตุ้นการทำงานของเซลล์ผิวหนัง และให้การดูดซึมของตัวยาดีขึ้น โดยใช้อุ้งมือคลึง ลักษณะหมุนไปตามผิวแต่เพียงเบาๆ ให้ทั่วส่วนที่ต้องการ ห้ามนวดเค้น หรือลงน้ำหนักแรง หรือใช้นิ้วมือนวด
๑๘. ในผู้สูงอายุการใช้ยาทั่วๆไปอาจได้ผลไม่ดีพอใช้ผงกวาวเครือ (ใช้เฉพาะกวาวเครือขาว มาบดเป็นผง) ผสมลงในตัวยาตาม ข้อ ๖ อีกหนึ่งส่วน ผสมน้ำสุก น้ำผึ้ง ทาผิวโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ส่วนเต้านม จะสามารถใช้ได้ดี ทำให้อกเต่งตึงขึ้นมาได้อีก และช่วยกระชับสะโพกได้ดี

แหล่งอ้างอิง : http//www.geocities.com/herbalsth
เรียบเรียงข้อมูลเพิ่มเติมดดย manman

วันอาทิตย์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2552

เครื่องเทศสมุนไพร


เครื่องเทศสมุนไพร
เครื่องเทศและสมุนไพรไทยที่ใช้ในอาหารไทย ทำให้อาหารแต่ละจานมีเอกลักษณ์ของตัวเองในเรื่องกลิ่น รส เช่น แกงฉู่ฉี่จะมีกลิ่นของผิวมะกรูด พะแนงจะหอมลูกผักชีคั่ว ทำให้อาหารนั้นมีกลิ่นหอม ชูรสชาติ ดับกลิ่นคาวของเนื้อสัตว์ และที่สำคัญไม่เพียงแต่ให้คุณค่าทางโภชนาการยังมีสรรพคุณทางยา เช่น ตะไคร้ในต้มยำกุ้ง ไม่เพียงแต่ดับกลิ่นคาวกุ้ง ชูรสต้มยำให้มีรสชาติ เมื่อเคี้ยวตะไคร้ทำให้รสชาติของน้ำต้มยำกุ้งเกิดความสมดุล สรรพคุณทางยา คือช่วยทำให้ท้องไม่อืด คุณค่าทางโภชนาการในตะไคร้มีแคลเซียม

การใช้สมุนไพรในอาหารต้องมีสัดส่วนในการใช้ ถ้าใช้มากเกินไปจะทำให้อาหารจานนั้นมีรสชาติเป็นยา เช่น แกงเผ็ด แกงเขียวหวาน (ในสัดส่วนของพริกแห้ง 5 เม็ด หรือพริกขี้หนูสด 20 เม็ด) จะใช้หอมแดง 3 ช้อนโต๊ะ รากผักชีซอย 1 ช้อนชา พริกไทย 5 เม็ด ลูกผักชีคั่ว 1 ช้อนโต๊ะ ผิวมะกรูด 1/2 ช้อนชา ยี่หร่าคั่ว 1 ช้อนชา ข่าซอย 1 ช้อนชา ตะไคร้ซอย 1 ช้อนโต๊ะ สมุนไพรที่ใช้ในเครื่องแกงใช้มากเกินไปจะมีรสชาติ กลิ่นเป็นยา เช่น ใส่ข่า ตะไคร้ ในน้ำพริกแกงมากเกินไปรสจะปร่า

1. ใบกะเพรา ผัดกะเพรา ถ้าไม่ใส่กะเพราก็ไม่เรียกว่า ผัดกะเพรา
วิธีใช้ที่1 ใส่หลังสุดเมื่อทุกอย่างสุก แต่ต้องสุกจึงจะหอม มีรส(ใช้แบบสดๆ)
วิธีใช้ที่ 2 ทอดกรอบ

2. ขิง ไก่ผัดขิง ไม่ใส่ขิงก็ไม่เรียกว่า ไก่ผัดขิง
วิธีใช้ หั่นฝอย ใส่หลังจากไก่สุก ขิงจึงจะหอม ดับกลิ่นคาวไก่ ขิงจะไม่เผ็ดจัด เมื่อขิงสุก
ต้มส้มปลาทู ถ้าไม่มีขิงซอยก็จะไม่ใช่ต้มส้มปลาทู ขิงในต้มส้มปลาทู ดับกลิ่นคาวปลา เพิ่มรสชาติ ทำให้มีกลิ่นหอม น้ำต้มส้มจะออกหวาน เมื่อมากินขิงความหวานจะหายไป ทำให้รสชาติของต้มส้มสมดุลกันในเรื่องรสชาติ วิธีใส่ขิง ใส่ปลาก่อน แล้วจึงใส่ขิง น้ำแกงต้องเดือดเมื่อใส่ขิง ขิงจึงจะหอม ดับกลิ่นคาวปลาได้

3. ตะไคร้ เป็นส่วนสำคัญของเครื่องปรุงต้มยำ ดับกลิ่นคาวกุ้ง ปลา ทำให้ต้มยำมีกลิ่นหอม ชูรส
วิธีใช้ ให้น้ำแกงเดือดก่อนจึงใส่ตะไคร้ ถ้าใส่ในขณะที่น้ำไม่เดือดกลิ่นรสจะปร่า กลายเป็นเหมือนน้ำตะไคร้ และน้ำแกงจะมีสีเขียวอ่อน ข้อควรระวัง ต้องน้ำแกงเดือดก่อนจึงใส่ ถ้าหั่นไว้นานๆจะเปลี่ยนสี วิธีแก้ไข เมื่อหั่นแล้วแช่ด้วยน้ำมะนาว สีจะไม่ดำ สีจะเป็นชมพูอมม่วง การหั่นควรหั่นชิ้นขนาดคำ เพื่อให้สะดวกในการรับประทาน

4. ข่าอ่อน เป็นส่วนสำคัญในเครื่องปรุงต้มข่าไก่ ดับกลิ่นคาว ทำให้กลิ่นหอม ชูรสอาหารให้หายเลี่ยน เพิ่มความอร่อย วิธีใช้ ขูดหรือปอกเปลือกออกบางๆ หั่นบางๆ แช่ในน้ำผสมน้ำมะนาว เพื่อไม่ให้เปลี่ยนสีเป็นสีดำ ข่าแช่ในน้ำที่ผสมน้ำมะนาว สีของข่าไม่เพียงแต่ไม่ดำ สีจะเป็นสีขาวอมชมพู คือสีธรรมชาติของข่าอ่อน ในการใช้ต้องใส่เมื่อน้ำแกงเดือด น้ำแกงจึงจะหอม ชูรส เพิ่มรสอร่อยเมื่อเคี้ยวข่าอ่อน

5. ข่าแก่ เป็นส่วนสำคัญในการใส่ในต้มยำเนื้อ ต้มยำไก่ ดับกลิ่นคาว ทำให้กลิ่นหอม ชูรสอาหาร
วิธีใช้ หั่นบางๆใส่ขณะน้ำแกงเดือด น้ำแกงจึงจะหอม ใส่ก่อนอาหารเนื้อหรือไก่ จะช่วยดับกลิ่นคาว

6. พริกขี้หนูสวน วิธีใช้ ใช้บุบพอแตก ใส่ในต้มยำ ต้มข่า ใส่เมื่อทุกอย่างสุกแล้วจึงใส่จะได้รสชาติ ชูรสอาหาร ทำให้อาหารมีรสชาติ มีกลิ่นหอม

7. ผักชีใบ วิธีใช้ ใส่ในต้มยำ ต้มข่า แกงจืด ใส่เมื่อทุกอย่างสุกแล้ว ทำให้อาหารมีกลิ่นหอม สวยงามน่ากิน

8. รากผักชี เป็นส่วนของเครื่องปรุงในเครื่องแกง โดยเฉพาะแกงจืด และต้มพร้อมกับกระดูกไก่ในน้ำแกงจืด (น้ำสต๊อกทำให้กลิ่นหอม ดับกลิ่นคาว) วิธีใช้ ใส่เมื่อน้ำเดือด กลิ่นจึงจะหอม

9. น้ำมะขามเปียก ใช้แทนน้ำมะนาว ที่สำคัญใช้ใส่ในแกงคั่ว ต้มโคล้ง น้ำยำบางชนิด ชูรสอาหาร มีความเปรี้ยวอมหวาน ช่วยทำให้สีของน้ำแกงน่ากิน เช่น ต้มโคล้ง วิธีใช้ ใส่เมื่อใส่ทุกอย่างแล้ว จึงใส่ขณะน้ำเดือด

10. ใบโหระพา ใส่ในแกงเผ็ดทุกชนิด และใส่ในผัดบางอย่าง เช่น มะเขือยาว ทำให้อาหารมีกลิ่นหอม ชูกลิ่นและรสอาหาร เป็นเครื่องปรุงสำคัญของแกงเผ็ด แกงเขียวหวาน วิธีใช้ ใส่เมื่อแกงสุกแล้วจึงใส่

11. ใบมะกรูด เป็นเครื่องปรุงสำคัญของต้มยำ ต้มข่า แกงเผ็ดทุกชนิด แกงคั่ว ช่วยชูกลิ่นอาหาร วิธีใช้ ต้องฉีกก่อนจึงใส่ กลิ่นจึงจะหอม นิยมใช้เมื่อทุกอย่างสุกจึงใส่

12. ใบแมงลัก เป็นส่วนสำคัญของแกงเลียง โดยเฉพาะแกงเลียงภาคกลาง ขาดใบแมงลักไม่ใช่แกงเลียง เป็นเหมือนขนมจีนน้ำยา วิธีใช้ เด็ดเป็นใบๆ ใส่ในขณะที่ทุกอย่างในหม้อสุก ใส่แล้วยกลงทันที ใบแมงลักเมื่อถูกความร้อน กลิ่นจะหอมชวนรับประทาน

สารอนุมูลอิสระคืออะไร?


สารอนุมูลอิสระ (Free radical)
หมายถึง สารซึ่งมีอิเล็กตรอนซึ่งไม่มีคู่อยู่ในวงรอบของอะตอม หรือโมเลกุล เราให้ความสำคัญกับสารซึ่งมีออกซิเจนเป็นศูนย์กลาง คือ hydroxyl radical, superoxide, peroxyl, alkoxyl และ oxides ของ nitrogen โดยปกติสารเหล่านี้เกิดขึ้นโดยปฏิกิริยาในร่างกายอยู่แล้ว โดยเฉพาะเวลามีธาตุเหล็ก ทองแดง แมงกานีส โคบอลต์ โครเมียม นิเกิล อยู่เป็นจำนวนน้อยๆ มักเกิดเป็นปฏิกิริยาลูกโซ่และร่างกายก็จะมีระบบของสารต้านอนุมูลอิสระขจัดออกไป แต่ถ้าร่างกายได้รับสารอนุมูลอิสระจากภายนอกมากเกินไป ตัวอย่างเช่น ได้รับจากอาหารบางชนิด จากขบวนการประกอบอาหาร เช่น การย่างเนื้อสัตว์ที่มีส่วนประกอบของไขมันสูง การนำน้ำมันที่ใช้ทอดอาหารที่อุณหภูมิสูงๆ มาใช้อีก หรือจากสิ่งแวดล้อม เช่น แสงอาทิตย์ซึ่งมีรังสี ultraviolet การแผ่รังสี (radiation) รังสี x-ray หรือจากมลพิษ เช่น ควันบุหรี่ ก๊าซจากท่อไอเสียรถยนต์ ถ้าสารเหล่านี้มีมากกว่าความสามารถของสารต้านอนุมูลอิสระในร่างกายจะขจัดหมด หรือในภาวะที่จำนวนของสารต้านอนุมูลอิสระในร่างกายลดลง เช่น ผู้สูงอายุ ก็จะทำให้มีสารอนุมูลอิสระและสารที่ไม่ใช่อนุมูลอิสระเช่น ไฮโดเจนเพอออกไซด์ ซึ่งมีออกซิเจนเป็นศูนย์กลางเช่นกัน โดยรวมเรียกว่า reactive oxygen species (ROS) มากเกินไปก่อให้เกิดอันตรายได้

สารอนุมูลอิสระที่มากเกินไปจะเป็นอันตรายต่อไขมัน (โดยเฉพาะ low density lipoprotein) โปรตีน หน่วยสารพันธุกรรม DNA และคาร์โบไฮเดรต ทำให้เพิ่มอัตราการเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลายชนิด โรคที่สำคัญและมีการศึกษากันมาก ได้แก่ โรคหลอดเลือดตีบและแข็งตัว โรคมะเร็งบางชนิด โรคอัลไซเมอร์ หรือโรคความจำเสื่อม โรคไขข้ออักเสบ โรคความแก่ เป็นต้น

เราจึงควรหลีกเลี่ยงการที่จะรับสารอนุมูลอิสระเข้าไปในร่างกาย เช่น มลพิษในสิ่งแวดล้อม ก๊าซจากท่อไอเสียรถยนต์ ควันบุหรี่ เป็นต้น

ข้อมูลจาก th.wikipedia.org/wiki/อนุมูลอิสระ

อนุมูลอิสระเกิดจากอะไร?
ออกซิเจนถือเป็นสิ่งจำเป็นที่ทำให้สิ่งมีชีวิตดำเนินอยู่ได้ แต่ในทางกลับกันออกซิเจนก็เป็นตัวเร่งให้เกิดความชรา

ออกซิเจนเป็นโมเลกุลซึ่งอยู่ในโครงสร้างเสถียร สาเหตุบางประการทำให้โครงสร้างเปลี่ยนไปกลายเป็นอนุมูลอิสระ และทำปฏิกิริยากับสิ่งใกล้ตัวทำให้เกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่นได้

อนุมูลอิสระเกิดได้ง่ายจากสาเหตุต่างๆเช่น รังสียูวี มลพิษในอากาศ การดื่มสุรา สูบบุหรี่ หรือความเครียดต่างๆ อนุมูลอิสระเมื่อทำปฏิกิริยากับส่วนหนึ่งของไขมันจะก่อให้เกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่นขึ้นและจะทำลายโมเลกุลชีวภาพต่างๆ

ปกติในร่างกายของคนเรามีสารช่วยทำลายหรือยับยั้งการเกิดอนุมูลอิสระอยู่แล้ว แต่ประสิทธิภาพจะลดลงตามอายุที่เพิ่มขึ้น ซึ่งความสามารถในการสร้างคอลลาเจน และอิลาสติน ซึ่งเป็นโครงสร้างหลักที่ทำหน้าที่ให้ผิวเต่งตึงยืดหยุ่นในชั้นผิว เมื่อปริมาณคอลลาเจนและอิลาสตินไม่เพียงพอจึงทำให้ผิวเกิดริ้วรอยเหี่ยวย่น

สมุนไพรคืออะไร?


ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสมุนไพร
สมุนไพรคืออะไร?
คำว่า "สมุนไพร (herbs)" มีคำจำกัดความได้หลายอย่าง ขึ้นกับว่าใช้กับเนื้อหาอย่างไร ทางด้านพฤกษศาสตร์ HERBS หมายถึงพืชมีเมล็ดที่ไม่มีแก่นไม้ (nonwoody) และตายเมื่อสิ้นสุดฤดูกาลเพาะปลูก ทางด้านอาหาร HERBS หมายถึงเครื่องเทศหรือผักที่ใช้แต่งรสหรือกลิ่นอาหาร แต่ทางด้านยา HERBS มีความหมายที่เฉพาะเจาะจง คำจำกัดความที่ถูกต้องที่สุดของ HERBS คือ ยาที่มาจากพืช ใช้รักษาโรคซึ่งมักเป็นโรคเรื้อรังหรือเพื่อทำให้/บำรุงรักษาสุขภาพให้แข็งแรง

อีกนัยหนึ่ง สมุนไพร หมายถึง พืชที่ใช้ทำเป็นเครื่องยา ส่วนยาสมุนไพร หมายถึง ยาที่ได้จากส่วนของพืช สัตว์ และแร่ ซึ่งยังมิได้ผสมปรุง หรือแปรสภาพ ส่วนการนำมาใช้ อาจดัดแปลงรูปลักษณะของสมุนไพรให้ใช้ได้สะดวกขึ้น เช่น นำมาหั่นให้มีขนาดเล็กลง หรือนำมาบดเป็นผง เป็นต้น สมุนไพรนอกจากจะนำมาใช้ประโยชน์เป็นยารักษาโรคแล้ว ยังสามารถนำมาใช้ประโยชน์ทางด้านอื่นๆ อีก เช่น
นำมาบริโภคเป็นอาหาร อาหารเสริมสุขภาพ เครื่องดื่ม สีผสมอาหาร และสีย้อม ตลอดจนใช้ทำเครื่องสำอางอีกด้วย

ด้านกฎหมายสมุนไพรยังจัดเป็นกลุ่มพิเศษ คือ กลุ่มอาหาร และกลุ่มผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร หากสมุนไพรใช้เพื่อการรักษาหรือบรรเทาอาการโรค หรือใช้เสริมสุขภาพ (เกี่ยวข้องกับการวินิจฉัยหรือป้องกันโรค) จะจัดเป็นยา อย่างไรก็ดีมีผลิตภัณฑ์สมุนไพรจำนวนหนึ่งที่เป็นยาหรืออาหารหรือเป็นทั้งยาและอาหาร ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ของผู้ใช้ ตัวอย่างเช่น กระเทียม หากใช้เพื่อแต่งกลิ่นและรสอาหาร กรณีนี้ชัดเจนว่า กระเทียมเป็นอาหาร เมื่อใช้ผลิตภัณฑ์กระเทียมควบคุมความดันโลหิตหรือระดับคลอเลสเตอรอลที่สูง กรณีนี้กระเทียมจัดเป็นยา (ในประเทศเยอรมนี) และจัดเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร (ในสหรัฐอเมริกา) จึงเป็นไปได้ที่ผู้บริโภคบางรายใช้กระเทียมเป็นทั้งอาหารและยาในเวลาเดียวกัน ชาวอเมริกันดื่มน้ำพรุนเป็นเครื่องดื่มยามเช้า และเป็นยาระบาย

ข้อมูลจาก http://www.tigerdragon.in.th/thai%20herb-def.htm

รายการบล็อกของฉัน

chat love manman

chat love manman1

chat love manman 2

chat love manman 3

chat love manman 4

chat love manman 5

chat love manman6